รู้จัก ดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ไฉนสำคัญกับประเทศและวัดกันอย่างไร
ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) เป็นค่าดัชนีสำคัญวัดความโปร่งใสของประเทศ คนทั่วไปมักจะสับสนกับคำว่าดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI)
ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) เป็นดัชนีการประเมินที่ถูกจัดอันดับการประเมินโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) ซึ่งเริ่มดำเนินการมาต้ังแต่ปี พ.ศ.2538 โดยมีการประกาศค่าดัชนีของประเทศต่างทั่วโลกทุกปี ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) มีการประกาศทุกเดือน แต่มีการเก็บข้อมูลและความซับซ้อนต่างกันมาก
ไทยอยู่ในอันดับ 110 ดัชนีการรับรู้ทุจริต ชี้ยังแก้คอร์รัปชันไม่ได้
ป.ป.ช.รับไต่สวน เจ้าหน้าที่รัฐรับสินบน แลกใบอนุญาตเหมืองทอง (คลิป)
ป.ป.ช. แจ้ง "ปารีณา" ขาดจริยธรรม ยื่นบัญชีทรัพย์สินเท็จ
ดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) มีวัตถุประสงค์ในการต่อสู้กับการทุจริตในทุกรูปแบบ ด้วยการแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงผลเสียของการทุจริต และเป็นภาพลักษณ์ความโปร่งใสของประเทศต่าง ๆ
TI ได้ประกาศ คะแนนดัชนี CPI เป็นประจำทุกปีนับตั้งแต่ปี 2538 โดยล่าสุดมีจำนวน 180 ประเทศทั่วโลก
สำหรับประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับตั้งแต่เริ่มต้นในปี 2538 ซึ่งการจัดทำดัชนีมีการเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และค่าคะแนนชี้วัดในปี 2555 โดยค่าคะแนนเต็มเป็น 0-100 คะแนน จากเดิมที่ก่อนหน้านั้น ค่าคะแนน 0-10 คะแนน
การจัดทำค่าคะแนนของประเทศไทย มีการใช้ 9 แหล่งข้อมูล นำมาใช้คำนวณดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ดังนี้
Varieties of Democracy Institute (V-DEM): วัดเกี่ยวกับความหลากหลายของประชาธิปไตย การถ่วงดุลของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ ตลอดจนการทุจริตของเจ้าหน้าที่ในฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ
Bertelsmann Stiftung Transformation Index (BF (TI)): ใช้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์และประเมินกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย และระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี และดูความเปลี่ยนแปลง 3 ด้าน คือ 1) ด้านการเมือง 2) ด้านเศรษฐกิจ และ 3) ด้านการจัดการของรัฐบาล
Economist Intelligence Unit Country Risk Ratings (EIU): วิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศต้องเผชิญ อาทิ ความโปร่งใสในการจัดสรรและการใช้จ่ายงบประมาณ การแต่งตั้งข้าราชการจากรัฐบาลโดยตรง การมีหน่วยงานอิสระในการตรวจสอบการจัดการงบประมาณและด้านยุติธรรม เป็นต้น
Global Insight Country Risk Ratings (GI): ความเสี่ยงของการที่บุคคลหรือบริษัทจะต้องเผชิญกับการติดสินบนหรือการคอร์รัปชันในรูปแบบอื่น เพื่อที่จะทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น
Political Risk Services International Country Risk Guide (ICRG): การประเมินการคอร์รัปชันในระบบการเมือง ที่นักธุรกิจมักพบได้โดยตรงและบ่อยครั้ง อาทิ การเรียกรับเงินหรือการจ่ายสินบนเพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาต
IMD World Competitiveness Yearbook (IMD): ข้อมูลสถิติทุติยภูมิและผลการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูง ไปประมวลผลจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย และพิจารณาจาก 4 องค์ประกอบ คือ 1) สมรรถนะทางเศรษฐกิจ 2) ประสิทธิภาพของภาครัฐ 3) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ 4) โครงสร้างพื้นฐาน
The Political and Economic Risk Consultancy (PERC): สำรวจข้อมูลจากนักธุรกิจในท้องถิ่นและนักธุรกิจชาวต่างชาติที่เข้าไปทำธุรกิจในประเทศนั้น ๆ ได้แก่ นักธุรกิจจากสมาคมธุรกิจ ผู้หอการค้าประเทศต่าง ๆ เป็นต้น
World Economic Forum (WEF): ได้จัดทำรายงานการวัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทั่วโลก (The Global Competitiveness Report: GCR) โดยรวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ ผ่าน “แบบสำรวจความคิดเห็นผู้บริหาร” (The Executive Opinion Survey: EOS) ซึ่งมีข้อคำถามเกี่ยวกับ “ประเด็นการทุจริตคอร์รัปชัน”
World Justice Project (WJP): เป็นดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรม (Rule of Law) โดยมีเกณฑ์การวัด ประกอบด้วย 8 เกณฑ์ ได้แก่ ขีดจำกัดอำนาจของรัฐบาล (Constraints on Government Powers) ปราศจากการคอร์รัปชัน (Absence of Corruption) การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Government) สิทธิขั้นพื้นฐาน (Fundamental Rights) ความสงบเรียบร้อยของสังคม (Order and Security) การบังคับใช้กฎหมาย (Regulatory Enforcement) กระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง (Civil Justice) และกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Criminal Justice)
ทั้งนี้ ค่าคะแนนของประเทศไทยมีการใช้แหล่งการประเมินทั้งหมด 9 แหล่งการประเมิน ยังสามารถสรุปจัดกลุ่มเป็น 4 ประเภท คือ
- การให้สินบนเพื่อการพิจารณาอนุมัติอนุญาตเพื่ออำนวยความสะดวก มีแหล่งที่เก่ียวข้อง ประกอบด้วย WEF IMD PRS และ GI
- การใช้อำนาจ ตำแหน่งหน้าท่ีโดยมิชอบ มีแหล่งท่ีเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย PRS BF (TI) WJP และ EIU
- การใช้เงินงบประมาณไม่คุ้มค่าเอื้อประโยชน์ มีแหล่งที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย WEF และ EIU
- ประสิทธิภาพการดาเนินการต่อต้านการทุจริต มีแหล่งที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย BF (TI) PERC และ V-DEM
CPI จึงเป็นดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์ปัญหาคอร์รัปชันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีค่าคะแนนตั้งแต่ 0 (คอร์รัปชันมากที่สุด) – 100 (คอร์รัปชันน้อยที่สุด)
- ยิ่งค่า CPI สูง ประเทศมีความโปร่งใสมาก คอร์รัปชันต่ำ ยิ่งที่ค่า CPI ต่ำ ประเทศมีความโปร่งใสน้อย คอร์รัปชันสูง
ดังนั้น ค่าคะแนน CPI จึงสะท้อนภาพลักษณ์การทุจริตของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งค่าคะแนนดัชนี CPI นับว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่บรรดานักลงทุนใช้ในการประเมินความน่าสนใจในการลงทุนของแต่ละประเทศ
หากประเทศใดมีค่าดัชนี CPI ในเกณฑ์สูง โอกาสจะเกิดการลงทุนจากทั่วโลก็มีมาก แต่ในทางตรงกันข้ามหากมีค่าดัชนี CPI ต่ำ ความน่าสนใจในการลงทุนก็ลดลง เนื่องจากนักลงทุนมักจะมองว่าการทุจริตจเป็นหนึ่งในปัจจัยท่ีเป็นต้นทุน หรือ เป็นความเสี่ยงของการประกอบธุรกิจ
หากประเทศใดค่าคะแนนดัชนี CPI ที่สูงย่อมสะท้อนถึงถึงภาพลักษณ์องประเทศท่ีดีและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนจากต่างประเทศ