ไทยยังเสี่ยง "ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมไซเบอร์" เหตุการป้องกันไม่เพียงพอ
ไทยเสี่ยงตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางไซเบอร์มากขึ้น ทั้งฉ้อโกง คอร์รัปชัน หรืออาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการเงิน เหตุมีความซับซ้อนใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เจาะระบบและบริษัทในไทยยังไม่มีการลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าวได้เพียงพอ
PwC ประเทศไทย เผยรายงานผลสำรวจอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการทุจริตฉบับล่าสุดปี 2565 นายพันธ์ศักดิ์ เสตเสถียร หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษาด้านความเสี่ยง บริษัท PwC ประเทศไทย ระบุว่า ไม่น่าแปลกใจที่บริษัทไทยตกเป็นเหยื่อการทุจริต ฉ้อโกงต่ำเมื่อเทียบกับบริษัททั่วโลก เพราะ
เปิดขบวนการ “บัญชีม้า” ช่องทางฟอกเงิน หลอกคนโอน แก๊งคอลเซ็นเตอร์
เปิด 3 แนวทาง บริหารทรัพย์สินครอบครัว รับมือยุควิกฤตซ้อนวิกฤต
บริษัทไทยยังคงมีการลงทุนในการบริหารจัดการความเสี่ยงและการกำกับดูแลเป็นอัตราที่ตํ่า (28%) เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัททั่วโลก (53%) และมากกว่า 30% ของบริษัทไทยที่ตอบแบบสำรวจ ไม่มีการบริหารจัดการความเสี่ยง และการกำกับดูแลที่ชัดเจนภายในองค์กร
ทำให้บริษัทไทยเพียง 22% เท่านั้น ที่ตกเป็นเหยื่อการทุจริต ฉ้อโกงในช่วงระยะเวลา 24 เดือนที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับบริษัททั่วโลกที่ 46%
วิธีการโจมตีซับซ้อนขึ้น ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เจาะระบบ
นอกจากนั้น บริษัทไทยยังคงมีความเสี่ยงจากภัยคุกคามโดยอาชญากรหันมาใช้วิธีการโจมตีใหม่ ๆ ที่มีความซับซ้อนขึ้น และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการเจาะระบบต่าง ๆ ซึ่งบริษัทไทยหลายราย ก็ยังไม่ได้ให้ความสำคัญในการลงทุนด้านการบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามที่ดีเพียงพอ ฉะนั้น การที่แนวโน้มการทุจริตทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่เรากลับตรวจจับได้น้อยลง ทำให้บริษัทต้องหันมาพิจารณาถึงการลงทุนที่เหมาะสม เพื่อป้องกันธุรกิจของตนจากภัยคุกคามเหล่านี้
ภัยคุกคามรูปแบบใหม่มาพร้อมโควิด-19 หลังหลายบริษัทไปใช้ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น
ขณะที่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลให้เกิดภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ หลังองค์กรธุรกิจและผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้ช่องทางดิจิตอลเพิ่มมากขึ้น เช่น การฉ้อโกงด้านการรายงานด้านสิ่งแวดล้อม สั งคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance (ESG) reporting fraud) การฉ้อโกงด้านห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain fraud) และการฉ้อโกงด้านการต่อต้านการคว่ำบาตร (Anti-embargo fraud) ในขณะที่รูปแบบการโจมตีของอาชญากร ก็มีความซับซ้อนมากขึ้น จึงยากต่อการตรวจพบ และทำให้มีต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการป้องกันความเสี่ยงจากอาชญากรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
3 อันดับเสี่ยงสูงที่ไทยอาจตกเป็นเหยื่อการทุจริต
ผลสำรวจของ PwC พบว่า รูปแบบการทุจริตที่ส่งผลให้บริษัทไทยมีความเสี่ยงสูงที่จะตกเป็นเหยื่อของการทุจริต 3 อันดับแรก ได้แก่
- อาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ต (24%)
- การฉ้อโกงจากการจัดซื้อจัดจ้าง (24%)
- การยักยอกทรัพย์ (13%)
อาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น หลังบริษัทต่าง ๆ อนุญาตให้พนักงานสามารถทำงานระยะไกล (Working remotely) ได้ ทำให้การใช้เครื่องมือป้องกันและระบบควบคุมภายในแบบเดิม ๆ อาจไม่เพียงพออีกต่อไป
เพราะรูปแบบของอาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ตที่ไร้พรมแดนมากขึ้น จะทำให้บริษัทไทยที่ไม่ได้มีการจัดการความเสี่ยง และการลงทุนในเรื่องดังกล่าวอย่างเพียงพอ ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีได้ง่าย
ปัจจุบันกระแสการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ได้เพิ่มแรงกดดันให้องค์กรธุรกิจและรัฐบาลต้องมีการตั้งเป้าหมายด้าน ESG ที่สูงขึ้น นำไปสู่ข้อกำหนดในการเปิดเผยการรายงานด้านดังกล่าวที่เพิ่มขึ้น และการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้านกฎระเบียบที่ตามมา ซึ่งอาจทำให้เผชิญกับการฉ้อโกงด้านการรายงานด้าน ESG ในช่วง 24 เดือนที่ผ่านมา แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่า บริษัทไทยกลับไม่มีการรายงานถึงความเสี่ยงดังกล่าวแต่อย่างใด ในขณะที่แนวโน้มของการทุจริตด้าน ESG นั้น มีแต่จะเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบิดเบือน หรือตกแต่งรายงาน เป็นต้น
PwC แนะนำว่า ควรต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากการฉ้อโกง (Fraud risk assessment) อย่างสม่ำเสมอ และยังมีข้อควรพิจารณาอีก 3 ข้อ ที่องค์กรจะได้นำไปประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยเสริมความแข็งแกร่งในการจัดการความเสี่ยงจากการทุจริต ดังต่อไปนี้
- เข้าใจวงจรชีวิตและกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กรจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อระบุ และทราบถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น กลยุทธ์การป้องกัน และมาตรการรับมือ
- สร้างสมดุลที่เหมาะสมระหว่างประสบการณ์ของผู้ใช้งาน และการควบคุมการฉ้อโกง เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผู้ใช้งานจะได้รับประสบการณ์ที่ดี และองค์กรจะสามารถตรวจพบและยับยั้งการทุจริตได้ทันท่วงที
- รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ การเตือนภัยความเสี่ยง และการแก้ไขปัญหาในภาพรวม
หมายเหตุ : รายงานผลสำรวจอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการทุจริต ประจำปี 2565 – ฉบับประเทศไทย ซึ่งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการตอบแบบสอบถามจากกลุ่มธุรกิจทั่วโลก จำนวนเกือบ 1,300 บริษัท จาก 53 ประเทศและอาณาเขต โดยมีบริษัทไทยและบริษัทชั้นนำของโลกที่มีการ