ราคาน้ำมันโลก แนวโน้มขยับขึ้น หลังรัสเซียประกาศหยุดส่งก๊าซไปยุโรป
ราคาน้ำมันโลกมีแนวโน้มขยับขึ้นอีกครั้ง ตามความต้องการเพิ่มขึ้น เมื่อรัสเซียประกาศหยุดส่งก๊าซไปประเทศในยุโรป แม้แนวโน้มอุปสงค์ชะลอตัวจากเศรษฐกิจถดถอย
ทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ระบุว่าราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นกว่า 1.4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยในช่วงต้นสัปดาห์ตลาดวิตกว่าจะเกิดวิกฤติอุปทานพลังงาน โดยรัสเซียประกาศหยุดส่งก๊าซธรรมชาติ ผ่านท่อ Nord Stream 1 (กำลังการสูบถ่าย 55 พันลูกบาศก์เมตรต่อปี) ไปยุโรป หลังซ่อมบำรุงประจำปีในช่วง 11- 21 ก.ค. 65
อย่างไรก็ตามช่วงปลายสัปดาห์ราคาปรับตัวลดลง โดยรัสเซียเริ่มกลับมาส่งมอบก๊าซฯ ที่ระดับประมาณ 30%
น้ำมันโลกดิ่งต่อ 4 วันติด รอผลประชุม “เฟด” ปรับขึ้นดอกเบี้ย
ราคาน้ำมันโลก แนวโน้มปรับลง จากภาวะเศรษฐกิจชะลอเหตุเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย
ราคาน้ำมัน WTI ในรอบ 5 วัน
นักลงทุนกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจ อาทิ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจีนที่อาจลุกลาม หลังกลุ่มผู้ซื้อหยุดผ่อนชำระเงินกับธนาคาร อาจทำให้บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่สามารถดำเนินการต่อไป โดย Bloomberg คาดการณ์ผลกระทบ มูลค่าสูงถึง 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) จีนในปี 2564
จับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) วันที่ 26-27 ก.ค. 65 ซึ่งประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) สาขา St. Louis นาย James Bullard คาดการณ์ว่ามีโอกาสมากที่ FOMC จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% จากระดับปัจจุบันที่ 1.5%-1.75% ขณะที่บางกระแสคาดการณ์ว่า FOMC อาจขึ้นดอกเบี้ยถึง 1%
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
- Gazprom ของรัสเซียแจ้งเหตุสุดวิสัย (Force Majeure) ในการส่งมอบก๊าซฯ ต่อลูกค้าในยุโรปหลายราย เนื่องจาก 'สถานการณ์พิเศษ' (Extraordinary Circumstance) เช่น Uniper ผู้นำเข้าก๊าซฯ รัสเซียรายใหญ่ที่สุดของเยอรมนี และ RWE ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของเยอรมนี
- คลื่นความร้อนครอบคลุมสหรัฐฯ อาทิ เมือง New York, New England, Texas, ไปถึง Las Vegas ซึ่งต้องเผชิญอุณหภูมิสูงถึงระดับประมาณ 100 ºF (38 ºC) ทำให้อุปสงค์การใช้ไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศพุ่งสูงขึ้น
- Joint Organizations Data Initiative (JODI) ของ OPEC รายงานปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของซาอุดีอาระเบียเดือน พ.ค. 65 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 332,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 7.05 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตามซาอุฯ ผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 97,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 10.54 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- 21 ก.ค. 65 EU ผ่อนมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย โดยปรับขยายการยกเว้นให้บริษัทการค้าใน EU สามารถทำธุรกรรม ซื้อสินค้าเกษตร และพลังงาน กับรัฐวิสาหกิจรัสเซีย และจัดส่งไปยังประเทศที่สามได้
- 23 ก.ค. 65 ท่อขนส่งน้ำมันดิบ Keystone (590 KBD) จาก Alberta ในแคนาดา สู่โรงกลั่นสหรัฐฯ ใน Midwest กลับมาดำเนินการ หลังบริษัท TC Energy ประกาศเหตุสุดวิสัยในการส่งมอบ (Force Majeure) เนื่องจากระบบไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีสูบถ่ายใน South Dakota เมื่อ 18 ก.ค. 65
- บริษัทน้ำมันแห่งชาติของลิเบีย (National Oil Corp.: NOC) ประกาศจะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบมาอยู่ที่ระดับ 1.2 MMBD ภายในวันที่ 5 ส.ค. 65 จากระดับปัจจุบันที่ 860 KBD หลังยกเลิกประกาศเหตุสุดวิสัยในการส่งมอบ
- 21 ก.ค. 65 ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2554 โดยเพิ่ม 0.5% ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก อยู่ที่ 0 ส่วนอัตราประมูลเงินสด (Cash Auction) รายสัปดาห์ และรายวัน อยู่ที่ 0.50% และ 0.75% ตามลำดับ