ส่งออกข้าวไทยเดือนมิ.ย.พุ่ง 69.4% รวมครึ่งปีแรก 3.5 ล้านตัน
ไทยส่งออกข้าวในเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 69.4% จากค่าเงินบาทอ่อนค่า ขณะที่ครึ่งปีแรก 3.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 56.6% จากค่าเงินบาทอ่อนและสถานการณ์โลก
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย รายงานว่าการส่งออกข้าวในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-มิถุนายน 2565) มีปริมาณ 3,507,020 ตัน มูลค่า 60,932.3 ล้านบาท (1,837.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยปริมาณเพิ่มขึ้น 56.6% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 42.9% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่ส่งออกปริมาณ 2,239,432 ตัน มูลค่า 42,641.8 ล้านบาท (1,407.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
การส่งออกข้าวไทยเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาข้าวไทยปรับลดลงตามค่าเงินบาทอ่อนค่าลง
ผวาผลกระทบสงครามยูเครน ดันส่งออกข้าวไทยเดือนก.พ.พุ่ง 38.3%
ข้าวไทยราคาพุ่งสูงสุดในรอบ 3 ปี
การส่งออกข้าวในเดือนมิถุนายน 2565 มีปริมาณ 764,131 ตัน มูลค่า 13,129.5 ล้านบาท โดยปริมาณและมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้น 69.4% และ 57.1% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2565 ที่มีปริมาณ 450,973 ตัน มูลค่า 8,357 ล้านบาท
เนื่องจากในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา การส่งออกข้าวทุกชนิดมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเนื่องจากราคาข้าวไทยปรับลดลงตามทิศทางของค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ประกอบกับผู้ส่งออกยังมีสัญญาค้างส่งมอบปริมาณมาก จึงทำให้เดือนที่ผ่านมามีการเร่งส่งมอบข้าวมากขึ้น ส่งผลให้ในเดือนมิถุนายน 2565 มีการส่งออกข้าวขาวปริมาณ 405,963 ตัน เพิ่มขึ้นถึง 208% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศอิรัก ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น โมซัมบิก แองโกล่า เป็นต้น
ขณะที่ข้าวนึ่งมีการส่งออกปริมาณ 140,225 ตัน เพิ่มขึ้น 10.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนใหญ่ยังคงส่งไปยังตลาดหลักในแถบแอฟริกาและตะวันออกกลาง เช่น แอฟริกาใต้ เบนิน เลบานอน เป็นต้น ส่วนการส่งออกข้าวหอมมะลิ (ต้นข้าว) มีปริมาณ 103,865 ตัน เพิ่มขึ้น 15.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยส่งไปยังตลาดประจำ เช่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สหราชอาณาจักร แคนาดา เป็นต้น
สมาคมฯคาดว่าในเดือนกรกฎาคม 2565 การส่งออกข้าวจะอยู่ที่ระดับประมาณ 600,000-700,000 ตัน เนื่องจาก ผู้ส่งออกยังคงมีสัญญาที่ค้างส่งมอบจากเดือนก่อน
RCL กำไรครึ่งปีพุ่ง 154% จากค่าระวางเรือ-ประกันเสี่ยง ปันผล 1.75 บาท
เงินเฟ้อเดือนก.ค. พุ่ง 7.61% จากราคา "พลังงาน-อาหาร" แพง
ขณะที่ตลาดสำคัญในตะวันออกกลาง เช่น อิรัก เยเมน ตลาดเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ ตลาดแอฟริกา เช่น แอฟริกาใต้ เบนิน โมซัมบิก แองโกล่า แคเมอรูน รวมทั้งตลาดอเมริกา เช่น สหรัฐฯ แคนาดา ยังคงนำเข้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารในช่วงที่โลกกำลังเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ประกอบกับค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลง ส่งผลให้ราคาข้าวไทยปรับลดลงอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ดีขึ้น
โดยราคาข้าวขาว 5% ของไทย ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 อยู่ที่ 411 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ขณะที่ราคาข้าวขาว 5% ของเวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน อยู่ที่ 413-417, 343-347 และ 368-372 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ตามลำดับ ด้านราคาข้าวนึ่งไทยอยู่ที่ 432 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ขณะที่ข้าวนึ่งของอินเดีย และปากีสถานอยู่ที่ 358-362 และ 408-412 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
วิกฤตราคาพลังงาน "ดันรายได้บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่พุ่ง"
น้ำมันลงอีก “โออาร์” ลดเบนซิน 0.80 บาท/ลิตร หลังตลาดโลกร่วงหลายวันติด