โควิด-19 ส่งผลต่อความยากจนไปอีกอย่างน้อย 2 ปี และยากที่จะหลุดพ้น
โควิด-19 ทำให้เอเชียและแปซิฟิกกลับมาเผชิญความยากจนอีกอย่างน้อย 2 ปี และพบว่าการหลุดพ้นจากความยากจนนั้นมีแนวโน้มว่าจะเป็นเรื่องยากกว่าที่เคย
การเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในปีนี้ คาดว่าจะช่วยลดความยากจนขั้นรุนแรง ในระดับที่เคยตั้งเป้าไว้ในปี 2563 หากโรคระบาดอย่างโควิด-19 ไม่เกิดขึ้น ขณะที่ผู้คนในภูมิภาคนี้ที่มีสถานภาพทางสังคมในระดับต่ำกว่าก่อนเกิดโรคระบาด ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาในการหลุดพ้นความยากจนยาวนานมากกว่า
“รายได้โตไม่ทันรายจ่าย” ผู้บริโภคเผชิญปัญหารอบด้าน
ตลาด "บ้านเดี่ยว บ้านแฝด" แนวโน้มปริมณฑลโตกว่า กทม.
โดยสรุปได้ว่า วิกฤตการณ์โควิด-19 เป็นอุปสรรคต่อแนวโน้มการลดความยากจนในเอเชียและแปซิฟิกที่มีมาช้านาน แม้ว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว
แต่เป็นการฟื้นตัวที่ไม่เท่ากัน เนื่องจากโรคระบาดอาจทำให้รูปแบบต่างๆ ของความยากจนมีมากกว่าเรื่องของรายได้ เช่น ความไม่มั่นคงทางด้านอาหาร และการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและการศึกษาที่ไม่เพียงพอ ซึ่งคนจนและคนที่เปราะบางได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากที่สุด
ขณะเดียวกัน ท่ามกลางเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว หลายคนอาจพบว่าการหลุดพ้นจากความยากจนนั้นยากยิ่งกว่าเดิม
ภายในปี 2573 ความยากจนขั้นรุนแรงที่กระจายตัวในภูมิภาคนี้ คาดว่าจะลดลงต่ำกว่า 1% ขณะเดียวกัน คาดว่าประชากรอย่างน้อย 25% จะประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงสู่สถานะชนชั้นกลาง แต่อาจมีปัจจัยลบ คือ การเปลี่ยนสถานภาพทางสังคม ความขัดแย้งจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และประเทศที่มีบทบาทสำคัญระดับโลก อย่าง จีน ไต้หวัน สหรัฐ ไปจนถึงความไม่มั่นคงด้านอาหารที่เพิ่มขึ้น และผลกระทบจากราคาพลังงาน
อย่างดังกล่าวมาจาก เครื่องชี้วัดทางสถิติสำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก(Key Indicators for Asia and the Pacific 2022) ประจำปี 2565 ซึ่งชี้วัดทางเศรษฐกิจ การเงิน สังคม และข้อมูลสถิติทางสิ่งแวดล้อมของประเทศสมาชิกเอดีบีในภูมิภาคต่างๆ รวม 49 ประเทศ