คนไทยเป็นหนี้ครัวเรือน สูงเป็นประวัติการณ์
จากสถานการณ์เงินเฟ้อ สินค้าแพง ทำให้ผู้บริโภคต้องแบกรับค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้กลุ่มบริษัทเอกชน เริ่มออกแคมเปญตบเท้าแจก " เงินช่วยค่าครองชีพ" ให้พนักงาน ตั้งแต่ 4,000-10,000 บาท
เริ่มจาก ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกประกาศจ่ายเงินก้อน 4,000 บาท ให้พนักงานที่ทำงานในองค์กร โดย มีสารจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กฤษณ์ จันทโนทก ที่มีใจความว่า… “จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่มีการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อันส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตโดยรวมของพนักงาน โดยเฉพาะกลุ่มพนักงานระดับปฏิบัติการ
"ผลของเงินเฟ้อ" รายได้น้อยเจอหนักสุด-มีหนี้สูงสุด
"ดอกเบี้ยขาขึ้น" จุดชนวนระเบิด "หนี้ครัวเรือน" และ วัฏจักรเศรษฐกิจขาลงที่ยาวนาน
ทางบริษัทฯจึงมติจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษครั้งเดียว เป็นจำนวนเงิน 4,000 บาท ให้กับพนักงานธนาคารในระกับชั้น Staff และ Officer หรือ เทียบเท่า โดยจะทำการจ่ายเข้าบัญชีของพนักงาน ในวันที่ 1 กันยายน 2565 นี้
ล่าสุด ทิพยประกันชีวิต ก็แจกเงินช่วยเหลือค่าครองชีพพนักงานรวม 10,000 บาทต่อคน โดยส่งสาร ... ถึงพนักงานว่า สถานการณ์เงินเฟ้อในปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตที่ปรับสูงขึ้นของพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัทจึงช่วยเหลือค่าครองชีพชั่วคราว ให้กับพนักงานระดับปฎิบัติการ ในอัตราเดือนละ 2,000 บาท เป็นระยะเวลา 5 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2565
สอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หรือ สนค. กระทรวงพาณิชย์ ที่ประกาศในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีการปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 เพิ่มขึ้นเป็น 6.0% จากกรอบเดิม 4.5% ซึ่งหมายถึง สินค้าอุปโภคและบริโภคต่างๆ มีแนวโน้มที่จะแพงขึ้นกว่าเดิม
ขณะที่ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจ สถานภาพหนี้ครัวเรือนไทย จากกลุ่มตัวอย่าง 1,350 คนทั่วประเทศ พบว่า ปีนี้คนไทยมีหนี้สินถึง 99.6% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการสำรวจมา โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่อยู่ที่ 90.7 %
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 20.5 % มองว่า สาเหตุที่เป็นหนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเป็นเพราะ "ค่าครองชีพที่สูงขึ้น" รองลงมา มองว่ามาจากรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย และคิดว่าเป็นเพราะการผ่อนสินค้ามากเกินไป
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ชี้ว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี เพิ่มจากระดับ 80% มาเป็น 90% สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ สาเหตุหลักมาจากจีดีพีที่หดตัวในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ไม่ถือว่าเป็นระดับที่น่ากังวล
ผลสำรวจปีนี้ยังพบว่าจำนวนหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงถึงประมาณ 501,000 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 483,000 บาทต่อครัวเรือน ส่วนปี 2564 นั้นไม่มีการสำรวจเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19
เพิ่มสลากดิจิทัล 11.4 ล้านใบ งวด 16 ก.ย. 65
โชห่วยจ่อขึ้นราคามาม่า ย้ำ ขึ้นราคาแล้วลงยาก