ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ลดความเหลื่อมล้ำ-หลุดพ้นความยากจน ตลาดแรงงาน?
1 ต.ค.65 เป็นต้นไป ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นการรปรับขึ้นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี ส่งผลต่อตลาดแรงงาน และจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับรายได้ของลูกจ้าง จริงหรือไม่
การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นการลดสัดส่วนแรงงานที่มีฐานะยากจน และอาจช่วยหนุนการปรับโครงสร้างในตลาดแรงงาน รวมถึงนำมาซึ่งการลดความเหลื่อมล้ำ ระหว่างกลุ่มแรงงานที่ขาดทักษะกับกลุ่มแรงงานมีฝีมือและแรงงานวิชาชีพในระยะยาว รวมถึงสนับสนุนให้แต่ละภาคส่วนได้รับผลพวงจากการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
บังคับใช้ 1 ต.ค.นี้ ! ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ เช็กจังหวัดไหนได้สูงสุด
ผู้ประกันตนเฮ! ลดเงินสมทบ ประกันสังคม ม.33 – ม.39 เวลา 3 เดือน
คาดว่าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในช่วงประมาณ 4.5-6.6% จะส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิตจะปรับตัวขึ้นประมาณ 0.69-1.01% ขณะที่เงินเฟ้ออาจสูงขึ้น 0.13-0.20% ในปี 2023 โดย Krungthai COMPASS
ถือเป็นการปรับขึ้นสูงสุดในช่วงเกือบสิบปีนับตั้งแต่การปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันเมื่อปี 2012
ช่วยลดสัดส่วนแรงงานที่มีฐานะยากจน ยกระดับรายได้แรงงาน
ย้อนกลับไปในปี 2012 การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนั้น ส่งผลทำให้สัดส่วนผู้มีงานทำที่ยากจน ซึ่งเป็นแรงงานที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าเส้นความยากจนลดลงอย่างมีนัยสำคัญและลดลงต่อเนื่องเมื่อมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำช่วงปี 2017-2018 และแม้เส้นความยากจนจะขยับขึ้นมาบ้างช่วงที่ โควิด-19 แพร่ระบาด แต่การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำก็ยังส่งผลในเชิงบวกต่อแรงงานยากจน
เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจไทยหลังสถานการณ์แพร่ระบาดคลี่คลายยังคงไม่ทั่วถึง การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจึงอาจเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับรายได้ของแรงงาน ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการปรับตัวของเศรษฐกิจให้กระจายตัวได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
แต่...อาจกระทบภาคการผลิตที่พึ่งพาแรงงานค่าจ้างต่ำ
เช่น ในภาคเกษตรกรรม ก่อสร้าง โรงแรม สันทนาการ และค้าปลีก เนื่องจาก ภาคเกษตรเป็นกลุ่มเปราะบางและเป็นแรงงานไร้ฝีมือ ขณะที่สาขาโรงแรมและสันทนาการ เป็นกลุ่มซึ่งได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์และเพิ่งจะได้รับสัญญาณบวกจากการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัว ส่วนสาขาก่อสร้างนั้นเคยเผชิญการระบาดในไซต์งานและกำลังประสบปัญหาต้นทุนวัสดุแพงขึ้น
รวมถึงธุรกิจค้าปลีกซึ่งส่วนใหญ่เป็น SME ที่มีทุนหมุนเวียนจำกัด กิจกรรมการผลิตเหล่านี้จะต้องแบกต้นทุนค่าจ้างที่สูงขึ้น ซึ่งจะซ้ำเติมการฟื้นตัวให้มีความยากลำบากท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อและดอกเบี้ยขาขึ้น
ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ กระทบกำไร 5-15% กลุ่มธุรกิจที่พึ่งพาแรงงานสูง
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะกลายเป็นสัดส่วนต้นทุนที่สูงขึ้น
อุตสาหกรรมซึ่งมีหลายสาขาที่เน้นการใช้ปัจจัยแรงงานอย่างเข้มข้น (Labour-intensive industry) และมีภาระรายจ่ายค่าจ้างต่อต้นทุนในสัดส่วนที่สูง การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะเพิ่มค่าใช้จ่ายให้สูงขึ้นและอาจส่งผลให้ธุรกิจสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ท่ามกลางสภาวะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับกำไรต่อหน่วยที่ลดลง ขณะที่ยังต้องแบกรับภาระต้นทุนหลายด้านที่แพงขึ้น เช่น ราคาวัตถุดิบ ราคาสินค้าขั้นกลาง ค่าขนส่ง รวมถึงการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า บางแห่งอาจได้รับผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย
หลายสาขาอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานในการผลิต ซึ่งมีภาระค่าตอบแทนแรงงานเทียบจากต้นทุนทั้งหมดสูงกว่า 10-20% เช่น ยาสูบ เฟอร์นิเจอร์ รองเท้า เซรามิก และการพิมพ์ เป็นต้น สาขาอุตสาหกรรมเหล่านี้จะแบกรับต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ
ขณะที่ หลายอุตสาหกรรมเป็นกลุ่มดั้งเดิมที่ต้องเผชิญกับคู่แข่งจำนวนมาก กำไรต่อหน่วยลดน้อยถอยลง ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่มุ่งจำหน่ายสินค้าเพื่อการส่งออกเป็นหลักยังอาจสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับผู้ผลิตจากประเทศอื่นที่มีค่าแรงต่ำกว่า การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้จึงอาจเพิ่มอุปสรรคให้แก่ผู้ประกอบการเหล่านี้มากยิ่งขึ้น
ข้อมูลจาก : Krungthai COMPASS