เหตุเกิดจากความเหงา เศรษฐกิจคนโดดเดี่ยว (Lonely Economy ) ของคนยุคใหม่
รู้จัก เศรษฐกิจคนโดดเดี่ยว (Lonely Economy ) เมื่อรูปแบบครัวเรือนในอนาคตจากครอบครัวใหญ่ กลายเป็นครัวเรือนที่อาศัยอยู่คนเดียวมากขึ้น
เศรษฐกิจคนโดดเดี่ยว (Lonely Economy) เป็นรูปแบบเศรษฐกิจหนึ่งที่เกิดจากทัศนคติและค่านิยมของคนยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดไลฟ์สไตล์ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ
ปลายปีทั้งที่ มองหา กองทุน SSF หรือ RMF เลือกอะไรดี?
ชวนเป็น “กิ๊ก” เพิ่มรายได้ยุคค่าครองชีพพุ่ง
คอนเซปต์ โสด สวย และรวยมาก ทำให้เกิด เศรษฐกิจคนโดดเดี่ยว (Lonely Economy) เมื่อคนส่วนใหญ่ มีการศึกษาที่ดีขึ้น รายได้ที่มั่นคง มีอิสระทางการเงิน และมีความหวงแหนความเป็นส่วนตัว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของรูปแบบครัวเรือนในอนาคตจากครอบครัวใหญ่ กลายเป็นครัวเรือนที่อาศัยอยู่คนเดียวมากขึ้น
เทรนด์นี้เกิดทั่วโลก ข้อมูลจาก Euromonitor ชี้ให้เห็นว่า ผู้คนมองหาความสุขจากการใช้ชีวิตตามลำพังมากขึ้น โดยในช่วงปี 2564 ครัวเรือนคนเดียว (Single person households) มีมากถึง 414 ล้านคน ขยายตัวเฉลี่ยต่อปี ตั้งแต่ 2543-2565 อยู่ที่ 3.29%
การเติบโตของครัวเรือนคนเดียวเป็นผลจากการเลือกรูปแบบการใช้ชีวิต การสูงวัยของประชากร และปัจจัยอื่นๆ ทำให้ครัวเรือนที่อยู่คนเดียวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และขยายตัวมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับครัวเรือนลักษณะอื่นๆ
ส่วนใหญ่ของครัวเรือนคนเดียวจะอยู่ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก คิดเป็นสัดส่วน 41.76% ของจำนวนครัวเรือนคนเดียวทั่วโลก รองลงมา ได้แก่ ยุโรปตะวันตก 17.68% และตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ 11.72%
ไทยอันดับ 4 ของภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก "ชอบอยู่คนเดียว"
ในส่วนของ ไทย พบว่า ปี 2564 จำนวนครัวเรือนคนเดียวมากเป็นอันดับที่ 4 ของภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก รองจากจีน (101.99 ล้านครัวเรือน) ญี่ปุ่น (19.61ล้านครัวเรือน) อินเดีย (14.24 ล้านครัวเรือน)
ไทยมีครัวเรือนคนเดียว 7.07 ล้านครัวเรือน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 3.68% และคาดว่าในอีก 19 ปีข้างหน้า ไทยจะมีจำนวนครัวเรือนคนเดียว 9.12 ล้านครัวเรือน เพิ่มขึ้นเกือบ 30% จากปี 2564
อนาคตคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มคนขนาดใหญ่ซึ่งมีผลต่อสภาพสังคม และเศรษฐกิจ และเป็นฐานลูกค้าสำคัญกับบางธุรกิจให้ได้อานิงสงค์จากคนการขยายตัวของ เศรษฐกิจคนโดดเดี่ยว (Lonely Economy) ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสัตว์เลี้ยง ธุรกิจสินค้าไซส์มินิ ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจที่อยู่อาศัย เป็นต้น
สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานที่เรียกว่า กิ๊ก อีโคโนมี (Gig Economy) ส่วนคนที่ทำงานเรียกว่า กิ๊ก เวิร์คเกอร์ (Gig Worker) เพราะตอบโจทย์คนที่รักการอยู่เดียว คือ งานระยะสั้น ทำแล้วจบเป็นครั้งๆ รับค่าตอบแทนเป็นชิ้นๆมากน้อยตามปริมาณงานและคุณภาพ ความยากง่าย ไม่มีพันธะสัญญากับนายจ้าง ทำงานเสร็จ ส่งงาน จ่ายเงินก็คือจบ
ความอิสระตอบโจทย์เรื่องความสมดุลในชีวิตเพราะเราสามารถจัดสรรเวลาให้กับตัวเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดี คือจุดเด่นของ กิ๊ก อีโคโนมี (Gig Economy)
เพราะทุกอย่างอยู่ในมือเราทั้งการบริหารเวลาทำงาน ใช้ชีวิตส่วนตัว หรือแบ่งเวลาให้ครอบครัว ซึ่งมีทั้งข้อดีข้อเสียขึ้นอยู่กับว่าจะสร้าง “วินัย ความรับผิดชอบและจัดสรรเวลา”อย่างไร