แนวโน้มน้ำมันโลก "ขยับลง" แต่ยังไม่แน่นอนสูงจากสงครามยูเครน
ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง จาก 2 ปัจจัยหลัก คือ โควิด-19 ระบาดหนักในจีน ในขณะที่ชาติตะวันตกคว้ำบาตรน้ำมันจากรัสเซีย
เจ้าหน้าที่กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน หรือ โอเปก คาดว่าอุปทานและอุปสงค์ของตลาดน้ำมันโลก ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่มีความไม่แน่นอนสูง จากโควิด-19 ในจีน ซึ่งอาจมีการประกาศล็อกดาวน์ ทำให้อุปสงค์น้ำมันลดลง แต่การคว่ำบาตรของตะวันตกต่อน้ำมันรัสเซีย อาจทำให้อุปทานตึงตัว
ในปลายเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันทะยานขึ้นสูงสุดในรอบปีจากรัสเซียบุกบูเครน แต่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันร่วงลง 3.47% เคลื่อนไหวที่ 85 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งลดลงถึง 31% จากจุดสูงสุดในเดือนมี.ค. แต่ในปีนี้ราคาน้ำมันก็ยังขยับขึ้น 14%
พรุ่งนี้น้ำมันลง "โออาร์" ลดราคาเบนซิน 30-50 สต. ต้อนรับวันที่ 11 เดือน 11
น้ำมันขาขึ้นรอบใหม่ ตลาดคาดจีนผ่อนคลายโควิด- เฟด ขึ้นดอกเบี้ยน้อยลง
การเคลื่อนไหวราคาน้ำมันในตลาดโลกย้อนหลัง 15 วัน
หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ระบุว่าราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ล่าสุดลดลง เนื่องจากปริมาณสำรองน้ำมันดิบในสหรัฐฯ และปริมาณการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามช่วงปลายสัปดาห์ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจีนผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 อาทิ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน (National Health Commission: NHC) ประกาศลดเวลากักตัวลง 2 วัน สำหรับผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย เหลือ 5 วัน ที่ศูนย์กักกัน (จากเดิม 7 วัน) กักตัวที่บ้านต่ออีก 3 วัน คงเดิม และไม่ระบุผู้ใกล้ชิดระดับรองอีกต่อไป, สำหรับผู้เดินทางที่ใกล้ชิดผู้ป่วย ลดการกักตัว เหลือ 8 วัน (จากเดิม 10 วัน), ลดการทดสอบ COVID-19 ภายใน 48 ชั่วโมง ก่อนเดินทาง เหลือครั้งเดียว (จากเดิม 2 ครั้ง) และยกเลิกบทลงโทษสายการบินที่มีผู้โดยสารติดเชื้อ, ปรับการจัดประเภทพื้นที่เสี่ยง เป็น "สูง" และ "ต่ำ" (จากเดิม "สูง" "ปานกลาง" และ "ต่ำ") และหากไม่พบผู้ป่วยใหม่ในพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงสูงเป็นเวลา 5 วัน จะปรับเป็นพื้นที่ความเสี่ยงต่ำ เป็นต้น
เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าต่อเนื่อง โดยดัชนีดอลลาร์ (DXY Index) ซึ่งเทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักของโลก วันที่ 10 พ.ย. 65 ลดลงกว่า 2% อยู่ที่ 108.10 จุด และวันที่ 11 พ.ย. 65 ลดลง 1.6% อยู่ที่ 106.42 จุด เป็นการลดลงสองวันติดต่อกันมากที่สุดตั้งแต่ มี.ค. 52
รมว.กระทรวงการคลังของสหรัฐฯ นาง Janet Yellen กล่าวถึงมาตรการจำกัดราคาน้ำมัน (Price Cap) ว่าอินเดียจะซื้อน้ำมันดิบจากรัสเซีย ที่ราคาเท่าไร่ก็ได้ หากจะไม่ใช้เรือ ประกันภัย และการบริการทางการเงิน จากชาติพันธมิตรตะวันตก ซึ่งราคาน้ำมันดิบ Urals ของรัสเซียไม่ควรอยู่ที่ระดับเกิน 63-64 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- COVID-19 กลับมาระบาดในจีน ทางการประกาศ Lockdown บางส่วนที่เมือง Guangzhou มณฑล Guangdong ทางตอนใต้ กระทบประชาชนกว่า 19 ล้านคน และโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งต้องระงับการผลิต อาทิ Xpeng Inc. ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของจีน ทั้งนี้ Guangzhou เป็นศูนย์กลางโรงงานผลิตสินค้าอุตสาหกรรม
- EIA ของสหรัฐฯ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ สัปดาห์สิ้นสุด 4 พ.ย. 65 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 3.9 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 440.8 ล้านบาร์เรล สูงสุดตั้งแต่ ก.ค. 64 ขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 200,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 12.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน
- Reuters รายงานคาซัคสถานผลิตน้ำมันดิบในเดือน ต.ค. 65 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 7% อยู่ที่ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากแหล่งนอกชายฝั่ง Kashagan (กำลังการผลิต 400,000 บาร์เรลต่อวัน) กลับมาผลิตได้บางส่วน ประมาณ 317,000 บาร์เรลต่อวัน หลังเหตุก๊าซฯ รั่วไหลเมื่อ 3 ส.ค. 65
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
- Reuters รายงานอินเดียนำเข้าน้ำมันดิบ ในเดือน ต.ค. 65 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 14.6% อยู่ที่ 4.48 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากโรงกลั่นกลับมาดำเนินการหลังปิดซ่อมบำรุง ขณะที่นำเข้าเฉลี่ยช่วง ม.ค.- ต.ค. 65 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 13.6% อยู่ที่ 4.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน
- Bloomberg รายงาน Kuwait Integrated Petroleum Industries Co. (KIPIC) ของคูเวตเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ โรงกลั่นน้ำมัน Al-Zour และมีแผนดำเนินการจนเต็มกำลัง ที่ 615,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน ม.ค. 66 ซึ่งจะทำให้คูเวตมีกำลังการกลั่นรวมอยู่ที่ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ Al-Zour ถือเป็นโรงกลั่นสร้างใหม่ซึ่งใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง