ครม.ไฟเขียว กฟผ.ร่วมทุน PTT 1.6 หมื่นล้าน ลุยธุรกิจก๊าซฯเหลวระยอง
ครม.เห็นชอบ กฟผ. ร่วมลงทุนมูลค่า 1.6 หมื่นล้าน ในบริษัทธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว LNG Receiving Terminal แห่งที่ 2 ใน จ.ระยอง ถือหุ้นสัดส่วน 50% พร้อมยกเว้นภาษี-ค่าธรรมเนียมทั้งหมด ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลวในภูมิภาคอาเซียน
น้ำมันโลกขาลง โอเปกพลัสไม่ลดกำลังผลิต – กลุ่ม G7 หั่นราคาน้ำมันรัสเซีย
PTT ไตรมาส 3 กำไรลด 62.4% จากธุรกิจปิโตรฯ-ขาดทุนสต๊อกน้ำมัน
เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2565 ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) มติเห็นชอบ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าร่วมทุนในบริษัท LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) บ้านหนองแฟบ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. (PTT) ถือหุ้นในสัดส่วน 50% มูลค่าการลงทุนตามสัดส่วนไม่เกิน 16,350 ล้านบาท ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอเข้ามา
โดยการที่ กฟผ.เข้าไปร่วมทุนในโครงการ LMPT2 ถือเป็นการขยายทางธุรกิจในแนวดิ่ง ทำให้จเข้าไปอยู่ในส่วนของชั้นกลางน้ำในธุรกิจพลังงาน ซึ่งทำให้ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการเชื่อเพลิงของ กฟผ. ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เนื่องจากบริษัทมีภารกิจหลักในการดำเนินธุรกิจสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Receiving Terminal) รวมถึงการแปลงสภาพก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ให้มีสถานะกลายเป็นก๊าซ เพื่อจัดส่งก๊าซธรรมชาติเข้าสู่โครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และส่งต่อให้กับลูกค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมถึงโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ดังนั้น การร่วมทุนในบริษัทครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มความยึดหยุ่นในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงของ กฟผ. ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกัน ครม.ยังเห็นชอบยกเว้นภาษี เบี้ยปรับเงินเพิ่ม และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้าง และที่อาจจะเกิดขึ้นจากการจัดตั้งบริษัท รวมถึงการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการร่วมทุน เนื่องจากการทำธุรกรรมดังกล่าวอาจทำให้เกิดภาระด้านถาษี เบี้ยปรับเงินเพิ่ม และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนของโครงการ และต้นทุนพลังงานของประเทศ เพิ่มสูงขึ้น ครม.จึงเห็นชอบยกเว้นส่วนนี้
ทั้งนี้โครงการ LNG Receiving Terminal แห่งที่ 2 มีลักษณะโครงการมีท่าเรือ 1 ท่า ถังเก็บ LNG 2 ถัง สามารถรองรับ LNG ได้ปริมาณ 7.5 ล้านตันต่อปี โดยมีภารกิจหลัก ในการดำเนินธุรกิจสถานีรับ - จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Receiving Terminal) รวมถึงการแปลงสภาพก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ให้มีสถานะกลายเป็นก๊าซ เพื่อจัดส่งก๊าซธรรมชาติเข้าสู่โครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซ และส่งต่อให้กับลูกค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมถึงโรงไฟฟ้าของ กฟผ. โดยเปิดให้บริการเดือนธันวาคม 2565
โครงสร้างการร่วมลงทุนบริษัท LNG Receiving Terminal แห่งที่ 2 จดทะเบียนจัดตั้งในไทย มีผู้ถือหุ้น 2 ราย คือ กฟผ. (สัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 50) และบริษัท PTTLNG (สัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 50) มีมูลค่ากิจการอยู่ที่ประมาณ 46,900 -52,200 ล้านบาท ส่วนผลตอบแทนการลงทุนกรณีได้รับการยกเว้นภาษี มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 6,012 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนทางการเงินของโครงการ (Project IRR) ร้อยละ 8.5 อัตราผลตอบแทนของส่วนทุน (Equity IRR) ร้อยละ 9.5 ระยะเวลาคืนทุน ของโครงการ 10 ปี 9 เดือน
ทั้งนี้ประโยชน์ที่ กฟผ. จะได้รับ คือ ผลตอบแทนจากการลทุนในรูปแบบเงินปันผล รวมถึงโอกาสที่จะทำให้ กฝผ ได้เริ่มดำเนินธุรกิจให้บริการ LNG Receiving Terminal ซึ่งมีผู้ร่วมทุนเป็นผู้นำในธุรกิจ
รวมถึงบุคลากรจะได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ และประสบการดำเนินธุรกิจในเรื่องของก๊าซธรรมชาติมากขึ้น และในระยะยาวเป็นการสนับสนุนในการเปิดเสรีธุรกิจก๊าซธรรมชาติโดยมีผู้ให้บริการสถานี และผู้นำเข้า LNG รายใหม่ ๆ เกิดขึ้น และเป็นการเสริมความมั่นคงพลังงานไฟฟ้าในประเทศ และเป็นศูนย์กลางซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลวในภูมิภาคอาเชียในอนาคต