รีดภาษีขายหุ้นโกยเงินเข้ารัฐ ส่อกระทบตลาดฯ แนะ 5 ข้อนักลงทุนรับมือ
รัฐบาลเตรียมรีดภาษีขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในไตรมาส 2/65 เริ่มอัตรา 0.055% หลังยกเว้นมานานกว่า 30 ปี หวังสร้างรายได้เพิ่มหลักหมื่นล้าน โบรกฯเผยอาจกระทบตลาดฯ ทำวอลุ่มหาย แนะ 5 ข้อสิ่งที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้นักลงทุนต้องเตรียมรับมือ
รบ.ชี้ภาษีขายหุ้นไทยเก็บต่ำกว่าหลายชาติในเอเชีย ยันไม่เว้นให้รายใหญ่
กระทบแน่! หุ้น 3 กลุ่ม เมื่อเก็บภาษีขายหุ้น
กรณี คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง เสนอให้จัดเก็บภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คาดว่าจะเริ่มในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ด้วยอัตรา 0.055% จากนั้นจะเพิ่มเป็นอัตราปกติ 0.11% ในปี 2567 ซึ่งภาษีดังกล่าวได้รับการยกเว้นมาตั้งแต่ปี 2534 หรือยกเว้นมานานกว่า 30 ปี เพื่อส่งเสริมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และหากกลับมาจัดเก็บ กระทรวงการคลังคาดว่าจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นหลักหมื่นล้านบาท
ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส (ASPS) เผยผ่านบทวิเคราะห์ระบุว่า ประเด็นดังกล่าว เป็นปัจจัยที่สร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นไทย (SET Index) ทั้งในมุมของปริมาณการซื้อขายที่น่าจะลดลง เนื่องจากต้นทุนการทำรายการซื้อขายสูงขึ้น
โดยส่วนที่ต้องให้ความสนใจคือกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งปัจจุบันพบว่ามี Turnover (Turnover) สูงกว่ากลุ่มนักลงทุนในประเทศ และหาก Turnoverลดลง ก็จะมีผลกระทบต่อการขับเคลื่อน SET Index ในอีกทางหนึ่งด้วย
ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยฯ ได้ทำการประเมินสิ่งที่นักลงทุนต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลง หากรัฐบาลมีการเรียกเก็บภาษีขายหุ้นในปี 2566 จะส่งผลต่อนักลงทุนและตลาดหุ้นดังนี้
1. ภาระค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นสูงขึ้นถึง 64% ของค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม โดยปัจจุบันธุรกิจโบรกเกอร์มีค่า Comm. เฉลี่ย 0.086% หากมีการเก็บภาษีขายหุ้น 0.11% (ซึ่งเป็นอัตราการเรียกเก็บภาษีที่กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2534 แต่ก่อนค่า Comm. สูงกว่าปัจจุบันมาก) จะทำให้นักลงทุนมีภาระค่า Comm. ที่สูงขึ้นถึง 64%
2. ช่วงระยะเวลาในการขึ้นภาษีเป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ตามกลไกช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นกดดันระดับ P/E ในการซื้อขายจะถูกลดทอนอยู่แล้ว หากขึ้นภาษีตอกย้ำให้สภาพคล่องในระบบลดลงอีก
3. ช่วงระยะเวลาในการเก็บภาษีปีหน้าเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ช่วงถดถอย (Recession) หากมีการขึ้นภาษีเวลานี้ ทำให้เสน่ห์ตลาดหุ้นไทยมีความน่าสนใจ น้อยลงไป
4. นักลงทุนต่างชาติเป็นผู้รับภาระค่า Comm. สูงกว่านักลงทุนในประเทศ เนื่องจากต่างชาติซื้อขายหุ้นไทย 2022 ต่อปี 8.40 ล้านล้านบาท แต่มีสัดส่วนการถือครองหุ้นไทย + NVDR เพียง 28.2% คิดเป็นมูลค่าตลาด 5.58 ล้านล้านบาท แสดงว่ามี Turnover ในการซื้อขายสูงถึง 150% ต่างกับนักลงทุนไทยทั้งหมดซื้อขายหุ้นไทย 2022 ต่อปีสูงกว่าต่างชาติเล็กน้อย 9.12 ล้านล้านบาท แต่มีสัดส่วนการถือครองหุ้นไทย สูงถึง 71.8% 14.2 ล้านล้านบาท
5. สถิติในปี 2011 – 2022 (12 ปี) ชี้ให้เห็นว่าผลตอบแทนเฉลี่ยตลาดหุ้นไทยมักไม่ดีในช่วงที่สภาพคล่องซื้อขายต่ำ สะท้อนได้จากข้อมูล Histogram Turnover ของ SET 2011 – 2022 เทียบกับผลตอบแทนเฉลี่ยรายวัน พบว่า เวลาที่มูลค่าซื้อ ขายสูงกว่าค่าเฉลี่ย (Turnover 87% ต่อปี) ถึง +1SD (Turnover 114.5% ต่อปี) ตลาดหุ้นมีโอกาสให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 18.3%
แต่ถ้ามูลค่าซื้อขายอยู่ใน ระดับปกติ (ช่วง -1SD ถึง ค่าเฉลี่ย) ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีจะลดหลั่นลงมาเหลือ +5.6% ต่อปี แต่เวลาที่มูลค่าซื้อขายต่ำกว่า -1SD (Turnover 59.7% ต่อปี) ให้ ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ -2.9% ดังนั้นภายใต้มูลค่าซื้อขายมีโอกาสลดลงในอนาคต