เงินเฟ้อ ธ.ค. สูงขึ้น 5.89% ค่าไฟ ก๊าซหุงต้ม น้ำมัน อาหารสด ยังกดดัน ทั้งปี เพิ่มขึ้น 6.08%
พาณิชย์เปิดตัวเลขเงินเฟ้อ ธ.ค. 65 พบว่าสูงขึ้นจากปีก่อนและเดือนก่อนหน้า จากราคาพลังงาน เช่น ค่าไฟ ก๊าซหุงต้ม น้ำมัน และอาหารสด ขณะที่เงินเฟ้อตลอดปี 2565 เพิ่มขึ้น 6.08%
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน ธ.ค.65 (เงินเฟ้อ) ธันวาคม 2565 อยู่ที่ 107.86 และ ธ.ค.64 อยู่ที่ 101.86 สูงขึ้น 5.89% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น จากกลุ่มราคาพลังงาน ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม และน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งกลุ่มอาหารสดที่ยังคงขยายตัว
เศรษฐกิจ ปี 2566 จะเป็นปีที่ยากลำบาก เมื่อมหาอำนาจล้วนอ่อนแอ
"ลดค่าธรรมเนียมโอน-จำนอง" บ้านพร้อมที่ดิน-คอนโด ไม่เกิน 3 ล้านบาท ถึง 31 ธ.ค.66
ขณะที่หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น เช่นกัน (+3.87%) ตามราคมสินค้าในกลุ่มพลังงาน เทียบ ธ.ค. 2564 สูงขึ้น 14.62%
โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม และค่าโดยสารสาธารณะ เพิ่มขึ้น สิ่งที่เกี่ยวกับการทำความสะอาด เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผงซักฟอก แชมพู ยาสีฟัน และบริการค่าแต่งผมชาย-หญิง ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย
ส่วนที่ปรับตัวลดลง เช่น โฟมล้างหน้า ค่าสมาชิกเคเบิลทีวี เครื่องรับโทรทัศน์ ผลิตภัณฑ์ป้องกันบำรุงผิว
ส่วนหมวดอาหารและเครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) เพิ่มขึ้น 8.87% เช่น อาหารจานเดียว ข้าวราดแกง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งราคาปรับเพิ่มขึ้นเป็ฯไปตามราคาวัตถุดิบและต้นทุนการผลิต เช่น เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ และข้าวสาร
แต่เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย. 65 (เดือนก่อนหน้า) เงินเฟ้อลดลง 0.06% ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2565 เพิ่มขึ้น 6.08% ยังอยู่ในกรอบเงินเฟ้อที่รัฐบาลกำหนดไว้ (5.5-6.5%) โดยมาจากราคาพลังงานเป็นหลักที่สูงขึ้นทั้งปี 24%
สำหรับอัตราเงินเฟ้อปี 2566 "อาจจะไม่สูง" เนื่องจากราคาสินค้าที่ปรับขึ้นไปแล้วก่อนหน้ารวมถึงพลังงานมีแนวโน้มชะลอตัวตามอุปสงค์โลกที่ลดลง รวมถึงฐานในปี 2565 อยู่ในระดับค่อนข้างสูง
โดยคาดการณ์เงินเฟ้อปี 66 ไว้ เมื่อ เดือน พ.ย.2565 ในกรอบ 2.0-3.0% ค่ากลาง 2.5%
แต่ก็อาจมีปัจจัยที่กดดันให้เงินเฟ้อทั้งปีนี้สูงขึ้นเช่นกัน คือ การปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (FT) ตั้งแต่ ม.ค.-เม.ย.66 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ ส่งผลให้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้น การทยอยปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานของทั้งระบบ ค่าเงินบาทผันผวน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยภาคท่องเที่ยว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ