พรหมลิขิตสร้างได้ ด้วยการใช้บริการ “ธุรกิจจัดหาคู่”
พรหมลิขิตสร้างได้ ด้วยการใช้บริการ “ธุรกิจจัดหาคู่” ทุ่ม 500,000 บาท หาสเปคที่ใช่จนเจอ
ในยุคที่มีคนเหงามากกว่าเสาไฟฟ้า หลายคนที่กำลังครองสถานะ โสด คิดว่าคนจำนวนไม่น้อยอาจจะอยากเลื่อนสถานะเป็นมีคู่กับเขาบาง บางคนอาจจะพึ่งแอปพลิเคชั่นหาคู่แต่อาจจะยังไม่สมหวัง หรือ ครั้นจะพาตัวเองออกไปเจอสังคมใหม่ๆ ทำกิจกรรมใหม่ๆ หวังให้พรหมลิขิตทำงาน แต่ก็กล้าๆกลัวๆไม่รู้จะผิดหวังซ้ำรอยเดิมไหม
บุก True Digital Park โมเดลของการจัดการสิ่งแวดล้อม
ผ่าธุรกิจ "สวนสนุก" หลังโควิด-19 ฟื้น?
จะดีไหมถ้ามีธุรกิจที่มาตอบโจทย์ปัญหาการหาคู่ในทุกๆความกังวล ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าในประเทศไทยมีคนไทยทำธุรกิจจัดหาคู่แบบจริงจังมาตั้งแต่เมื่อ 16 ปีที่แล้ว
คุณบี กุลชุลี ทรัพย์สินอุดม ไนแลนเดอร์ กรรมการผู้จัดการบริษัทจัดหาคู่ Bangkok Matching มองเห็นโอกาสนี้มาตั้งแต่ 10 กว่าปีก่อน จากวันนั้นถึงวันนี้ เธอได้สะสมความเชี่ยวชาญในการจับคู่ สร้างผลงานจับคู่หญิงชายได้ตรงกับสเปคลูกค้า
อัตราการประสบความสำเร็จสูงถึง 90 % สร้างคู่รักมากกว่า 6,000 คู่ ขึ้นชื่อเรื่องตรงปก เนื่องจากตรวจสอบผู้สมัครให้ตั้งแต่ประวัติการงาน การเงิน การศึกษา สถานะสมรส ไปจนถึงประวัติสุขภาพ
กลุ่มลูกค้าของ Bangkok Matching คือ คนที่ต้องการหาคู่เพื่อแต่งงาน อยากสร้างครอบครัวจริงจัง ก่อนโควิดระบาด ลูกค้าหลัก คือ ชาวต่างชาติ พนักงานออฟฟิศ และผู้หญิงไทยทั่วไป แต่พอโควิดระบาดกลุ่มพนักงานออฟฟิศหายไป แต่กลุ่มที่ติดต่อเข้ามาเป็นลูกค้ามากขึ้น คือ เจ้าของธุรกิจที่มีเวลามากขึ้น และ หมอ
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่ม LGBT โดยเฉพาะชายรักชาย หันมาเป็นลูกค้ามากขึ้น และกลุ่มนี้จะหน้าตาดีกว่าชายแท้ รูปร่างดี ชอบออกกำลังกาย และแต่งตัวเก่ง สำหรับรายได้ลูกค้าเฉลี่ยอยู่ที่ราว 200,000 ต่อเดือน จำนวนลูกค้าที่เข้ามาสมัครอยู่ที่หลักร้อยคนต่อเดือน
โควิดไม่ได้ทำให้คนกลุ่มนี้ รวยขึ้น หรือ จนลง เจ้าของธุรกิจ และ คุณหมอ เขามีเวลาเขามีมากขึ้น เลยทำให้เขามีเวลาหาคู่ : บี กุลชุลี ทรัพย์สินอุดม ไนแลนเดอร์ กรรมการผู้จัดการบริษัทจัดหาคู่ Bangkok Matching
ทุกคนสามารถสร้างทางเลือกให้ตัวเองได้
คุณบี บอกอีกว่า ลูกค้าเรามีตั้งแต่พนักงานออฟฟิศ ผู้บริหาร ไปจนถึงคนที่มีฐานะโปรไฟล์ดีมาก บางคนมีบริษัทอยู่ตลาดหลักทรัพย์ หรือแม้กระทั่งคนรวยระดับโลก ซึ่งคนที่ประสบความสำเร็จมากๆ หลายคนอาจจะคิดว่ามีคนกลุ่มนี้ คนน่าจะเข้าหาเยอะ แต่จริงๆแล้ว พวกเขาอาจจะไม่มีเวลา หรือ ว่าเจอคนใหม่ๆเยอะ แต่ว่าอาจจะไม่เจอคนที่ใช่ หรือ อาจจะเป็นเจ้าของธุรกิจแต่ไม่อยากจีบคนในออฟฟิศ หรือ แม้แต่ปัจจัยทางสังคม เช่น ครอบครัวอยากให้แต่งงานกับคนที่มีสถานะสังคมใกล้เคียงกัน หรือ คนบางคนเคยใช้แอปพลิเคชั่นหาคู่ออนไลน์ แล้วอาจจะโดนหลอกมา ลูกค้าแต่ละคนมีปัญหาไม่เหมือนกัน หรือ บางคนมีฐานมากและอยู่ในจุดที่สามารถเลือกคู่เองได้ โดยไม่ต้องสนใจสถานะทางสังคม เขาก็จะมาเป็นลูกค้า เราเพื่อหาคู่ชีวิตที่ตรงกับสเปค
คนรวย คนประสบความสำเร็จทุกคน คุณอย่าคิดว่าเขามีแต่ความสุข ทุกคนมีมุมเศร้าของตัวเอง คนที่มีเงิน แต่ขาดความรักเยอะมากในสังคม เชื่อไหมคะ ? บางทีมาเป็นลูกค้าโปรไฟล์ คือ คนที่ประสบความสำเร็จมาก แต่มานั่งร้องไห้กับ บี บอกว่าเขาผิดหวังกับความรักมามาก เพราะไม่ใช่ทุกคนดูแลเขาดี” : บี กุลชุลี ทรัพย์สินอุดม ไนแลนเดอร์ กรรมการผู้จัดการบริษัทจัดหาคู่ Bangkok Matching
ลูกค้าเคยจ่ายสูงสุดถึง 500,000 กว่าบาท ให้หาคู่ให้ !
ค่าบริการเริ่มต้นเดทที่ 25,000-29,000 ต่อสิทธิ์ในการจับคู่ 2-3 เดท ซึ่งราคาจะแปรผันตาม อายุ รูปร่าง หน้าตา บุคลิกภาพ สถานะ และสเปคของแต่ละคน ถ้ายิ่งสเปคสูงมากก็จะต้องจ่ายเพิ่ม ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าลูกค้าผู้หญิงต้องการฝ่ายชายรายได้ 2 ล้านต่อเดือน ขั้นต่ำก็ต้องจ่ายประมาณ 10 % ของรายได้ฝ่ายชาย หรือราว 200,000 บาทต่อ 1 เดท แต่ถ้าขอเพิ่มคุณสมบัติครอบครัวฝ่ายชายต้องเป็นเจ้าของธุรกิจก็จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นมาอีก แต่ว่าในขณะเดียวกันทางบริษัทก็ต้องประเมินด้วยว่าโปรไฟล์ของผู้หญิงเหมาะสมและตรงตามสเปคของฝ่ายชายไหม
“บี เคยจับคู่ให้ ผู้หญิงซึ่งผู้หญิงคนนี้โปรไฟล์ดีมากเขา เลยต้องหาคู่เป็นผู้ชายที่สเปคสูงมากต้องจ่ายรวมๆ 500,000 กว่าบาท ถึง Matchที่ราคาสูงแบบนี้ เพราะคิดตามสเปค” : บี กุลชุลี ทรัพย์สินอุดม ไนแลนเดอร์ กรรมการผู้จัดการบริษัทจัดหาคู่ Bangkok Matching
มองธุรกิจจับคู่แข่งขันยาก เพราะต้องใช้ประสบการณ์
คุณบี มองว่า แนวโน้มการแข่งขันของธุรกิจจัดหาคู่ในประเทศไทย หากมีผู้เล่นรายใหม่ๆเข้ามาจะแข่งขันค่อนข้างลำบาก เพราะปัจจุบันมีเจ้าตลาดอยู่ 2 ราย คือ Bangkok matching และอีกบริษัทที่เปิดมาพร้อมกันเมื่อ 10 กว่าปีก่อน และแม้ว่าที่ผ่านมาจะเคยมีบริษัทจับคู่ข้ามชาติจากทั้ง ประเทศญี่ปุ่น และสิงคโปร์ สามารถเข้ามาตีตลาดในไทย แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถแข่งขันได้ จนต้องปิดกิจการไปไป เธอมองว่าธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ต้องแข่งขันด้วยการเก็บข้อมูลฐานลูกค้าและประสบการณ์ รวมถึงบริษัทข้ามชาติอาจจะมีจุดอ่อนตรงที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมไทย และบริบทเมืองไทย จึงทำให้บริษัทของคนไทยแท้ๆ ได้เปรียบมากกว่า