รัฐ-เอกชน ชี้พรรคการเมืองหาเสียงขึ้นค่าแรงสูงเกิน หวั่นทำเศรษฐกิจไทยพัง
ใกล้ช่วงเลือกตั้งทั่วไป 2566 หลายพรรคการเมือง ประกาศนโยบายหาเสียงเสนอเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ทั้งนี้ภาคเอกชนกังวลหากมีการประกาศใช้ในอัตราที่สูงเกินจริง จะทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น กระทบเศรษฐกิจไทย
เลือกตั้ง 2566 : "อุ๊งอิ๊งค์" อวยพรผู้สมัครคว้าชัยกวาดแลนด์สไลด์
เลือกตั้ง 2566 : "บิ๊กตู่" เผย รอประกาศยุบสภา ประกาศในราชกิจจานุเษกษา เร็วๆนี้
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยในงานสัมมนาสาธารณะในประเด็นค่าแรงขั้นต่ำขายฝันแรงงานไทย ของหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ บสก.รุ่นที่ 11 โดยสถาบันอิศรา ว่า พรรคการเมืองต่างใช้นโยบายประชานิยม อย่างการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในการหาเสียง ส่วนตัวมองว่าเป็นนโยบายชวนเชื่อทางการตลาด แต่เชื่อว่าส่วนหนึ่งทำได้จริง เพราะการขึ้นค่าจ้างเป็นเรื่องของนายจ้าง ไม่ได้ใช้งบประมาณของพรรคการเมือง หรืองบจากภาครัฐ
ทั้งนี้ หากค่าจ้างที่สูงขึ้นเกินจากความเป็นจริง จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่ของการอุปโภคบริโภคทั้งหมด มองว่าการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำของไทยควรจะขึ้นเป็นแบบอัตโนมัติ ตามอัตราเงินเฟ้อ และต้องไม่มีการเมืองเข้ามาแทรกแซง
ด้านนายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ที่ปรึกษาฝ่ายการวิจัยนโยบายทรัพยากรมนุษย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI กล่าวว่า การหาเสียงด้วยการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ อาจทำต้นทุนสูงการผลิตสูงขึ้น ดังนั้นเมื่อพรรคการเมืองนำค่าจ้างมาหาเสียงจะเป็นอันตรายต่อประเทศ ขอฝากไปยังพรรคการเมืองว่า ควรทำให้ค่าจ้างเป็นไปตามกลไกไตรภาคี เพราะถ้ามีการแทรกแซงจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลง
ขณะที่นาย สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ปัจจุบันค่าแรงไม่เพียงต่อการใช้จ่าย ดังนั้นควรไปดูที่โครงสร้างมากกว่าการกำหนดเรื่องของตัวเลขอย่างเดียว ควรมาหารือกันว่าค่าจ้างเท่าไหร่ที่แรงงานอยู่ได้ พรรคการเมืองเมื่อหาเสียงไว้ พูดแล้วต้องทำให้ได้ ซึ่งที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าค่าแรงบางยุคไปไม่ถึงจุดที่หาเสียงไว้
ทั้งนี้นางสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง กรรมการสมาคมเครือข่ายแรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย) ระบุว่า ปี 2565 มีแรงงานนอกระบบ 20.2 ล้านคน ซึ่งค่าจ้างขั้นต่ำไม่คุ้มครอง นั่นหมายถึงอาจจะได้รับค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม จึงขอให้ผู้ที่เกี่ยงข้องพิจารณาให้แรงงานนอกระบบมีหลักประกันในชีวิตก่อน เช่น การคุ้มครองแรงงานนอกระบบที่มีผู้จ้างงาน ให้เท่าเทียมกับแรงงานที่อยู่ในระบบ