เหตุผลที่คนไทย “แก่ก่อนรวย” ความท้าทายสังคมผู้สูงอายุ
ความท้าทายจากสังคมผู้สูงอายุ หนึ่งในปัญหาที่ต่อเนื่องกันมาคือคนไทย “แก่ก่อนรวย” ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ โดยมีจำนวนหนึ่งที่ยังไงรายได้ก็ไม่พอรายจ่ายที่จำเป็นทำให้ไม่มีเงินออมสำหรับวัยชรา แต่ก็มีอีกจำนวนหนึ่งเช่นกัน ที่จริง ๆ แล้วสามารถออมได้แต่ไม่ออม
สถาบันวิจัย ทีดีอาร์ไอ ให้ เหตุผลที่สามารถหยิบยกขึ้นมาใช้อธิบายได้คือ “อคติเชิงพฤติกรรม” หรือการคิดการตัดสินใจที่ไม่สมเหตุสมผลตามหลักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งส่งผลให้เกิดการกระทำที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์จริง ที่ทำให้การออมเพื่อการเกษียณไม่เพียงพอ
สำรวจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินหลังเกษียณคนไทย มีไม่ถึง 3 ล้านบาท
กู้เงินประกอบอาชีพ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ไร้ดอกเบี้ย รายละ 3 หมื่น - รายกลุ่ม 1 แสน
- อคติชอบปัจจุบัน (present bias) คือ ผู้คนให้น้ำหนักความสำคัญกับความสุข ผลตอบแทนที่ได้รับในปัจจุบันมากกว่าในอนาคต เช่น การผัดวันประกันพรุ่งในการออม
นำเงินที่ได้ไปซื้อสินค้าเพื่อบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน เนื่องจากมีปัญหาในการควบคุมตนเอง (self-control problem) แม้จะรู้ว่าการออมจะทำให้ได้รับผลตอบแทนในรูปเงินใช้ยามเกษียณก็ตาม
ปรับเกณฑ์จ่ายเบี้ยผู้สูงอายุใหม่ จ่ายเร็วกรณี"ย้ายที่อยู่-เลื่อนขั้น"
- อคติยึดติดสภาวะเดิม (status quo bias) คือ ความพึงพอใจกับสภาวะปัจจุบันมากกว่าจะเปลี่ยนไปลองทำสิ่งใหม่ที่จะแม้จะให้ผลประโยชน์มากกว่า เช่น เลือกที่จะออมในรูปแบบที่คุ้นเคย เช่น ฝากธนาคาร มากกว่าที่จะลองออมในหุ้นหรือพันธบัตรที่มีคุณภาพดี ความเสี่ยงไม่สูง แต่ให้ผลตอบแทนกว่าเงินฝากธนาคารมาก
- อคติโลกแคบ (narrow framing) คือ มองทางเลือกที่ต้องพิจารณาในชีวิตเป็นกลุ่มย่อยๆ แยกออกจากกัน หรือเฉพาะในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ทำให้ผู้คนตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ด้อยกว่าเมื่อพิจารณาทุกทางเลือกหรือช่วงเวลาพร้อมกัน เช่น มองว่า การออมในปัจจุบันเป็นไปเพื่อบริหารรายรับ-รายจ่ายระยะสั้น หรือเก็บเงินซื้อของราคาแพง แต่มองว่าการออมเพื่อการเกษียณเป็นเรื่องของอนาคตที่ยังไม่ต้องรีบคิดพร้อมกันตอนนี้
- อคติกลัวสูญเสียเกินเหตุ (loss aversion) คือ ความสูญเสียจากสถานะปัจจุบันมีผลกระทบต่อจิตใจทางลบมากกว่าที่จะมีความสุขจากการได้รับผลตอบแทนที่มีขนาดเท่ากัน เช่น การมองว่าการออมเป็นการสูญเสียรายได้ที่จะนำมาบริโภค จึงเลือกที่จะออมน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
- อคติละเลยอัตราทบต้น (exponential growth bias) คือ ไม่เข้าใจพลังของดอกเบี้ยทบต้น ซึ่งแปลงเงินออมให้มีมูลค่ามากขึ้นทวีคูณได้ หากมีการออมอย่างต่อเนื่องยาวนานและไม่ถอนเงินต้นออก เช่น การที่บุคคลไม่รีบออมเพื่อการเกษียณตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะประเมินผลตอบแทนจากการออมต่ำเกินไปโดยมองว่าผลตอบแทนเป็นเส้นตรงไม่ใช่ทวีคูณ ทำให้ไม่เข้าใจว่าออมเร็วขึ้นและต่อเนื่องเพียงไม่กี่ปีก็ทำให้มีเงินให้ถอนใช้ยามเกษียณเพิ่มขึ้นมาก ดอกเบี้ยทบต้นอาจแสดงตัวในรูปอื่นไม่ใช่เงินฝากธนาคารเท่านั้น เช่นการออมในหุ้น ในอสังหาริมทรัพย์เป็นต้น และอาจใช้อธิบายกรณีที่เป็นหนี้ยาวนานจนดอกเบี้ยทบต้นเข้าไปในเงินต้นกลายเป็นดินพอกหางหมู
- แรงกดดันจากผู้คนในกลุ่ม (peer pressure) คือ อิทธิพลทางสังคมจากคนในกลุ่มเดียวกันทั้งเชิงบวกและลบ ทำให้มีพฤติกรรมคล้อยตาม เช่น มีพฤติกรรมการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยตามเพื่อน เพื่อนบ้าน หรือคนในสังคมเพื่อให้เป็นที่ยอมรับ ทำให้ความสามารถในการออมลดลง
- การมองโลกในแง่ดีเกินไป (overoptimism) คือ รูปแบบหนึ่งของการมีความมั่นใจล้นเกิน (overconfidence) ทำให้เกิดความชะล่าใจในการออมเงิน เช่น คิดว่าเมื่อตนเองเกษียณไป อาจไม่โชคร้ายและเผชิญเหตุไม่คาดฝัน เช่น เจ็บป่วยหนักหรือป่วยเรื้อรัง และต้องเสียค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก ทำให้ไม่เห็นความสำคัญกับการเตรียมพร้อมทางการเงินเพื่อการเกษียณ และมีการออมน้อยกว่าที่ควร
สำหรับประเทศไทย 70% มีรายได้มากกว่ารายจ่าย แต่กว่า 37% มีการออมไม่ถึง 10% ของรายได้ต่อเดือน นอกจากนี้ส่วนมากเป็นการออมโดยการฝากธนาคาร และเก็บเป็นเงินสดไว้กับตัว โดยคิดถึงการออมผ่านการลงทุนในหุ้น พันธบัตร และกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าในลำดับรอง
และยังพบว่าคนไทยมีอคติกลัวสูญเสียเกินเหตุมากที่สุดถึง 89% คือ การมองว่าการออมเป็นการสูญเสียรายได้ที่จะนำมาบริโภค จึงเลือกที่จะออมน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
อย่างไรก็ตาม หากนิยามคำว่าความไม่พร้อมหรือเปราะบางทางการเงิน ได้แก่ ใช้จ่ายก่อนออม ไม่ให้ความสำคัญหรือไม่วางแผนการออมเพื่อการเกษียณ ไม่มีเงินเหลือจากการใช้จ่ายรายเดือน ไม่ออมจริงจัง มีหนี้สินจากการบริโภคระยะสั้น หาเงินได้ไม่พอใช้หนี้ และมีรายได้ไม่แน่นอน คนไทย 84% ตกอยู่ในอย่างน้อย 1 หมวดของความเปราะบางนี้
บทความงานวิจัยฉบับเต็ม เหตุผลที่คนไทย “แก่ก่อนรวย” มองจากมุม “อคติเชิงพฤติกรรม”
บทความนี้เป็นหนึ่งในผลงานโครงการวิจัย การศึกษาอคติเชิงพฤติกรรมในประชากรไทย เพื่อเสาะหามาตรการที่ได้ผลในการส่งเสริมการวางแผนทางการเงินของประชากรไทยสำหรับสังคมอายุยืน โดยการสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
บทความ โดย วราวิชญ์ โปตระนันทน์ นักวิจัยนโยบายด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง
ผลการสำรวจแบบสอบถามในการศึกษาอคติเชิงพฤติกรรมในประชากรไทย เพื่อเสาะหามาตรการที่ได้ผลในการส่งเสริมการวางแผนทางการเงินของประชากรไทยสำหรับสังคมอายุยืน โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ด้วยการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งทำการสำรวจอคติเชิงพฤติกรรม 7 รูปแบบข้างต้น กับคนไทยอายุ 20-40 ปี ที่มีรายได้ตั้งแต่ 8,000 บาทขึ้นไป จำนวน 1,043 คน