วิธีเปลี่ยน PIN ผู้ใช้สิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
เปิดวิธี เปลี่ยน PIN ผู้ใช้สิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พร้อมเตือนอย่าลืมยืนยันตัวตน ยื่นอุทธรณ์ ใช้สิทธิ
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 ซึ่งเป็นวันแรกที่มีการเริ่มใช้สิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พบว่า ผู้มีสิทธิฯ บางส่วนที่ยืนยันตัวตนที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทยฯ) ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำเร็จแล้ว แต่เมื่อไปใช้สิทธิที่ร้านธงฟ้าฯ พบว่า ไม่สามารถจำรหัสส่วนบุคคล (Personal Identification Number: PIN) หรือต้องการเปลี่ยนแปลงรหัส PIN ที่เคยกำหนดไว้ในขั้นตอนการยืนยันตัวตน
ในกรณีดังกล่าว ผู้มีสิทธิฯ สามารถดำเนินการได้ ตามขั้นตอน คือ
สิทธิลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ ใช้ ค่าไฟฟ้า-ค่าน้ำประปา
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 ใช้สิทธิวันแรกทะลุ 500 ล้าน แนะร้านค้าอัปเดตแอปฯ“ถุงเงิน”
1. กรณีต้องการเปลี่ยนรหัส PIN ใหม่ สามารถดำเนินการได้ที่สาขาของธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารออมสิน และธ.ก.ส. ได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป โดยจะต้องไม่ซ้ำกับรหัส PIN เดิมที่เคยกำหนด 10 ครั้ง ย้อนหลัง และต้องทำการยืนยันตัวตนทุกครั้งที่เปลี่ยนรหัส PIN ซึ่งจะสามารถใช้สิทธิได้หลังจากกำหนดรหัส PIN ใหม่ ประมาณ 2 ชั่วโมง
2. กรณีกดรหัส PIN ตามที่เคยกำหนดไว้ในขั้นตอนการยืนยันตัวตนไม่ถูกต้อง จำนวน 3 ครั้ง จะถูกระงับการใช้งาน (สำหรับสิทธิสวัสดิการที่ต้องใส่รหัส PIN) ซึ่งผู้มีสิทธิฯ สามารถติดต่อขอทำการยืนยันตัวตนกำหนดรหัส PIN ใหม่ โดยต้องดำเนินการตามข้อ 1
3. กรณีที่ดำเนินการยืนยันตัวตนแล้ว แต่มีการเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน เนื่องจากบัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุ หรือสูญหาย จะต้องอายัดสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐด้วยตนเองผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ กับศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (Call Center) หมายเลขโทรศัพท์ 02 109 2345 ซึ่งเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทยฯ ตามวันและเวลาทำการของสาขาของธนาคารกรุงไทยฯ ในวันจันทร์ - วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 - 17.30 น. โดยผู้มีสิทธิฯ ต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ไปติดต่อขอทำการยืนยันตัวตนเพื่อกำหนดรหัส PIN ใหม่
สำหรับความคืบหน้าของผู้ที่ผ่านเกณฑ์ตามโครงการฯ ที่ดำเนินการยืนยันตัวตนแล้ว โดยข้อมูล ณ วันที่ 5 เมษายน 2566 เวลา 13.00 น. พบว่า มีผู้ผ่านเกณฑ์ที่ยืนยันตัวตนสำเร็จจำนวนทั้งสิ้น 12,978,844 ราย (ร้อยละ 88.91 ของจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์ทั้งหมดจำนวน 14,596,820 ราย)
และจำนวนผู้ยื่นอุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ณ วันที่5 เมษายน 2566 เวลา 13.00 น. มีจำนวนทั้งสิ้น 1,228,976 ราย
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ผ่านเกณฑ์ที่ไม่ได้ดำเนินการยืนยันตัวตน สามารถทำได้ ภายในวันที่ 26 มีนาคม 2566 สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติ ขอให้รีบดำเนินการยื่นขออุทธรณ์ ภายในวันที่ 1 พฤษภาคม 2566