ทางออกค่าไฟแพง ติดแผงโซลาร์ Solar rooftop สู้ค่า Ft คือคำตอบจริงหรือ?
ค่าไฟฟ้าของครัวเรือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจากค่า Ft ที่เร่งตัวสูงขึ้นผนวกกับความต้องการใช้ไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้น หลายคนหันมาให้ความสนใจ ติดตั้ง Solar rooftop แต่จะเป็นคำตอบที่ช่วยประหยัดได้หรือไม่
ค่าไฟฟ้าของครัวเรือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจากค่า Ft ที่เร่งตัวสูงขึ้นผนวกกับความต้องการใช้ไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้น โดยค่าไฟฟ้าของครัวเรือนสูงขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2022 และเร่งตัวขึ้นมากในช่วงท้ายปีต่อเนื่องถึงต้นปีนี้ จากทั้ง
“ออมสิน” ปล่อยสินเชื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์ ดอกเบี้ยต่ำสุด 1.99% ช่วง 3 เดือนแรก
ส่วนลดค่าไฟฟ้า 4 เดือน (พ.ค.-ส.ค. 2566) ผู้ใช้ไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน
ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ที่เร่งตัว โดยค่า Ft เร่งตัวตามต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติของโลกเป็นสำคัญ เนื่องจากเป็นพลังงานหลักของการผลิตไฟฟ้าในไทย และไทยมีแนวโน้มพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติในตลาด Spot มากขึ้น ซึ่งมีราคาสูงกว่า 2-3 เท่าของราคาก๊าซธรรมชาติในแหล่งอ่าวไทย
และเมียนมา
ไปจนถึงปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนที่มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะในสภาวะที่อากาศร้อนมากขึ้น ทำให้ต้องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ขณะที่ค่าไฟฟ้าเป็นอัตราก้าวหน้า (ยิ่งใช้ไฟมาก ก็ยิ่งจ่ายแพง) โดยถ้าใช้ไฟฟ้ามากกว่า 150 หน่วยค่าไฟฟ้าต่อหน่วย จะต้องจ่ายค่าไฟหน่วยถัดไปเพิ่มราว 20-30%
ทำให้หลายคนหันมาสนใจการติดตั้ง Solar rooftop ประกอบกับต้นทุนราคาแผงโซลาร์ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของ Solar rooftop มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ทำให้การติดตั้ง Solar rooftop เป็นที่นิยมในครัวเรือนมากขึ้น
SCB EIC คาดว่าราคาแผงโซลาร์จะยังคงลงต่อเนื่องในอีก 3 ปีข้างหน้าเกือบ 20% (เฉลี่ยปีละ 7%) จากที่ลดลงไปแล้วเกือบ 60% ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา แต่รูปแบบการติดตั้งในที่อยู่อาศัยยังคงกระจุกตัวอยู่ในรูปแบบ On Grid System เนื่องจากต้นทุนที่จับต้องได้มากกว่ารูปแบบอื่นๆ ที่มีต้นทุนแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นมา
รูปแบบ On Grid System มีอุปกรณ์หลักเพียงแผงโซลาร์และ Inverter แต่ข้อเสียคือจะยังคงต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายก็ตาม เนื่องจากไม่มีแบตเตอรี่ในการสะสมไฟฟ้าส่วนเกินเพื่อมาใช้ในช่วงเวลาที่ไม่มีแสง แต่ต้นทุนการติดตั้งที่จับต้องได้ ทำให้การคืนทุนของครัวเรือนทำได้ดีกว่า การติดตั้งในระบบอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่
สำหรับที่อยู่อาศัยเพื่อให้ได้มาตรฐานและปลอดภัยมักใช้แบตเตอรี่ Lithium ซึ่งราคายังค่อนสูง โดยราคาติดตั้งอาจสูงขึ้นไปราว 50-60% ของการติดตั้งแบบ On Grid
ยืนยัน ใบปลิวที่แนบติดมากับใบแจ้งค่าไฟฟ้า "เป็นของจริง"
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ Solar rooftop อยู่ในหลักแสนต่อการติดตั้ง
โดยค่าใช้จ่ายหลักจะอยู่ในช่วงแรกของการติดตั้ง โดยมีค่าใช้จ่ายอยู่ในหลักแสนต่อการติดตั้ง มากน้อยตามขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าของแผงโซลาร์ ซึ่งค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อกำลังการผลิตจะยิ่งถูกลงเมื่อติดตั้งในกำลังการผลิตที่สูงขึ้น
นอกจากนี้ ครัวเรือนยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เช่น ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ การล้างแผงโซลาร์ เป็นต้น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในช่วงหลักพันถึงหลักหมื่น ขึ้นอยู่ขนาดกำลังการติดตั้ง (โดยผู้ติดตั้งมักแถมให้ฟรีในช่วง 1-2 ปีแรกของการติดตั้ง)
แต่หากพ้น 10 ปีแรกของการติดตั้งแล้ว ครัวเรือนอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นได้หากเครื่อง Inverter เสียหาย (ปกติผู้ติดตั้งมักจะรับประกัน Inverter เพียง 10 ปี แต่รับประกันแผงโซลาร์ 25 ปี อย่างไรก็ตาม โดยปกติ Inverter ไม่ได้เสียหายได้ง่าย และไม่จำเป็นว่า 10 ปีแล้วต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ทันที
กลุ่มเป้าหมายในการติดตั้ง Solar rooftop สำหรับภาคครัวเรือน ?
ใช่ว่าครัวเรือนทุกหลังจะมีความเหมาะสมที่จะติดตั้ง ต้องพิจารณาในหลายประเด็น เช่น
- ค่าไฟฟ้าตั้งแต่ 3,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป
- ใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันอย่างน้อย 50% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าตลอดวัน เช่น ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุหรือมีผู้ที่ต้องมีคนดูแล/พิการที่ไม่ได้ไปทำงาน และ Home office เป็นต้น
- หลังคามีพื้นที่ติดตั้งอย่างน้อย 14 ตร.ม. ใช้วัสดุที่แข็งแรงรับน้ำหนักได้ และลาดเอียงทางทิศใต้/ตะวันตก/ตะวันตกเฉียงใต้
อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ติดตั้งที่ขนาดกำลังการผลิต 3 kWp หรือค่าไฟฟ้า 3-6 พันบาทต่อเดือน แม้จะมีจุดคุ้มทุนมากกว่า 10 ปี ของการประกัน Inverter ทำให้ความเสี่ยงที่ต้องมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นจากการเปลี่ยนหรือการซ่อมแซม Inverter แต่
SCB EIC มองว่าการติดตั้ง Solar rooftop จะสนับสนุนให้พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเปลี่ยนแปลงไป ทำให้จุดคุ้มทุนขยับลงมาเร็วขึ้น เช่น ครัวเรือนมีแนวโน้มเปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงกลางวันมากขึ้น และครัวเรือนมีการปรับอัตราการจัดเก็บค่าไฟฟ้าจากรูปแบบปกติเป็นรูปแบบอัตราตามช่วงเวลาการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff) ซึ่งจะช่วยให้ครัวเรือนประหยัดค่าไฟฟ้าต่อหน่วยในช่วงกลางคืนลงไปราว 50% เป็นต้น