เปิดชีวิต 10 ปี ชาวนาไทยยัง "จน" แถมหนี้ท่วม
ยิ่งทำนายิ่งจน เป็นหนี้มากขึ้น 10 ปี ชีวิตชาวนาไทย ซ้ำเจอต้นทุนปัจจัยการผลิตพุ่ง
ปัญหาของชาวนาไทย โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี พบชาวไทย ยิ่งทำนายิ่งจน เป็นหนี้มากขึ้น และยังเจอกับปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้น พร้อมกับฝากถึงรัฐบาลใหม่ที่กำลังจะเข้ามาให้แก้ไขปัญหา ให้กับชาวนาให้ตรงจุดทั้งการลดต้นทุนการผลิตและการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้น แทนการอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาด
ขยายสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใช้กับรถเอกชน รถร่วม เรือ บขส.
เปิดตัว “สินเชื่อแทนคุณ” แก้ปัญหาลูกหนี้สูงวัยดึงทายาทร่วมแก้หนี้
โดย รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการเก็บข้อมูลย้อนหลัง10ปีตั้งแต่ ปี2555 ถึง2565 พบว่า
ชาวไทยมีรายได้และเงินคงเหลือของลดลง และยังเจอกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น
เมื่อ ปี 65 ชาวนาไทยมีต้นทุนการผลิต 5,898 บาทต่อไร่ เพิ่มขึ้น 2,058 บาทต่อไร่จากปี 2555 ซึ่งมีต้นทุนอยู่ที่ 3,839 บาทต่อไร่ ขณะที่รายได้ชาวนาไทยลดลง 777 บาทต่อไร่ โดยเมื่อปี 2565 มีชาวนาไทยรายได้ 3,900 บาทต่อไร่ น้อยกว่าปี 2555 ที่มีรายได้ 4,678 บาทต่อไร่
10 ปีผ่านมาชาวนาไทยเงินเหลือในกระเป๋า ติดลบ 1,159 บาทต่อไร่
ซึ่งทำให้ตามสถิติชาวนาไทยจนที่สุดในเอเชีย และอาเซียนเมื่อเทียบกับอินเดีย เวียดนามและเมียนมา และยังพบว่า ไทยมีต้นทุนการผลิตข้าวสูง เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากอินเดีย
อาจารย์ อัทธ์ ยังระบุว่า ปัจจุบัน ชาวนาไทย ร้อยละ 70 เป็นหนี้ ระหว่าง 1-3 แสนบาทต่อครัวเรือน โดยมีหนี้ใน 2 รูปแบบคือ ในรูปเงินสด และไม่ใช่เงินสด หนี้เงินสดส่วนใหญ่เป็นภาระหนี้ที่มีอยู่กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ส่วนหนี้ที่ไม่ใช่เงินสดเป็นหนี้กับร้านขายปัจจัยการผลิต และวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่หรือในจังหวัดที่เกษตรกรนำมาใช้ก่อนจ่ายเงิน
ชาวนาไทยยิ่งทำนา ยิ่งกลายเป็นหนี้เพิ่ม ซึ่งที่ผ่านมามีกลไกของรัฐบาลที่เข้ามาแทรกแซงราคา อัดฉีดเงินเข้าตลาดไม่ได้ช่วยให้แก้ปัญหาหนี้เกษตรกรได้จริง เป็นนโยบายที่ไม่ได้ทำให้เงินในกระเป๋าของชาวนา มีเงินเหลือ ในทางตรงกันข้ามกับทำให้ชาวนามีรายได้ลดลงอย่างต่อ และติดลบ เสนอให้รัฐบาลใหม่ แก้ปัญหาชาวนาของไทยให้ตรงจุด หันมาเน้น ลดต้นทุนการผลิต ให้ชาวนามีรายได้มากพอ และยกระดับผลผลิตต่อไร่ให้ได้มากขึ้น