แถลงนโยบายรัฐบาล : เศรษฐา ประกาศ ภายในไตรมาส 4 เดินหน้า "พักหนี้เกษตรกร" ทั้งต้นและดอก
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวต่อที่ประชุมรัฐสภา ถึงเรื่องการพักหนี้เกษตรกร
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวต่อที่ประชุมรัฐสภา ถึงเรื่องการพักหนี้เกษตรกร โดยจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมตรี (ครม.) ในวันพรุ่งนี้ (12 ก.ย.66) โดยในเบื้องต้น มีแนวทางเร่งด่วนที่จะทำให้ได้ภายในไตรมาส 4 ปีนี้ คือ การพักหนี้เกษตรกร โดยพักทั้งเงินต้น พักดอกเบี้ย ไปพร้อมกับแผนการสร้างรายได้ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตตามที่ตลาดโลกต้องการ
จากคนละครึ่งสู่คนละหมื่น แนะวิธีแจกเงินให้ได้ผลสูงสุด
"เศรษฐา" เผย ครม.นัดแรก พรุ่งนี้เคาะลดค่าไฟ
ครม.เศรษฐา แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา วันที่สอง 12 ก.ย. 2566
รัฐบาลตระหนักดีถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรทุกคน นอกเหนือจากปัญหาปากท้อง เรื่องการรายได้เกษตรเป็นเรื่องสำคัญ และเรื่องหนี้สินก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน
การพักต้น พักดอกเป็นการฟื้นฟูจิตใจของเกษตรให้มีกำลังแรง กาย ใจ ในการทำมาหากิน สร้างรายได้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี โดยไม่เสียวินัยการเงินการคลัง
นอกจากนี้ จะสนับสนุนการสร้างผลผลิตในปริมาณที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการตระหนักถึงภาวะโลกร้อน นำเทคโนโลยีและความรู้เข้ามาใช้ เช่น การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือลดการใช้ปุ๋ย เพิ่มผลผลิต โดยใช้เกษตรแม่นยำ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี การใช้ดาต้า ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรเพื่อนำไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ นายเศรษฐา ยังกล่าวถึงประเด็น การนำเข้าหมูเถื่อน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ลามไปทั่วประเทศ โดยได้ประสานกับอธิบดีกรมศุลกากรและเชิญเจ้าหน้าที่มาพูดคุย เพื่อวางแผนสั่งการในเรื่องนี้
ขณะที่ รายได้ครู และข้าราชการ รัฐบาลก็เตรียมที่จะเข้าไปดูแลเรื่องรายได้ให้เหมาะสมกับงบประมาณ โดยรักษาวินัยการเงินการคลัง
ต่อมานายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่วาต่อโดยขอชี้แจงใน 3 ประเด็น คือ
1. แยกการอภิปรายพาดพิงระหว่างนโยบายรัฐบาลและนโยบายของพรรคเพื่อไทย
2. การแก้ไขโดยการพักหนี้เกษตรกร 3 ปี เป็นจุดเริ่มต้นการทำงาน และเตรียมการล่วงหน้าไปมากแล้ว แต่ที่ผ่านมารัฐบาลหลายชุดใช้นโยบายพักหนี้มาแล้วถึง 13 ครั้ง ซึ่งการพักหนี้ไม่ใช่ทางออกที่เป็นรูปธรรม แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันโดยเฉพาะภาคการเกษตรมีหนี้อยู่ในระดับสูง การพักหนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญก่อนที่จะดำเนินนโยบายต่อๆไป
โดยหลังจากนั้นจะมีการคัดกรองเกษตรกรตามเงื่อนไขและคุณสมบัติที่เหมาะสม มีโครงการจูงใจให้เกษตรกรที่เข้าพักหนี้สามารถลดภาระเงินต้นได้ บริหารจัดการหนี้ให้ชัดเจน ส่งเสริมการเพิ่มรายได้ ปลูกพืชมีมูลค่ามากขึ้น เพิ่มผลผลิตต่อไร่ โดยใช้ตลาดนำ ใช้นวัตกรรมเสริม มีการเจรจาการค้า FTA มากขึ้น
3.การใช้โอกาสของสถานการณ์ เอลนิลโญ ซึ่งทั่วโลกอาจประสบกับภาวะขาดแคลนอุปทานด้านอาหาร แต่ประเทศไทยสามารถสร้างความแข็งแกร่งจากวิกฤตนี้ได้ รัฐบาลจะทำให้ไทยกลับมาเป็นครัวโลกได้ ผลักดันให้ราคาสินค้าเกษตรกรจะเพิ่มขึ้นพร้อมกับการใช้เทคโนโลยีเกษตรแม่นยำเข้ามาช่วยเสริม จะช่วยพลิกฟื้นชีวิตให้เกษตรกร ให้กลับมาเป็นฟันเฟืองทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มภาคภูมิ
นอกจากนั้นแล้ว นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ยังกล่าวว่ารัฐบาลมีแนวทางในการหนี้ในส่วนภาคอื่นๆ เช่น หนี้กลุ่มเอสเอ็มอี หนี้ข้าราชการ เช่น หนี้ครู หนี้ตำรวจ เป็นต้น
ประกาศแจ้งจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด "เข้าบัญชี 18 ก.ย.2566" แน่นอน
ส่อง “ร้านอาหารเกาหลีเหนือ” ในต่างประเทศ ไม่มีลูกค้าแต่เงินสะพัด
ส่องสีใหม่ "iPhone 15" และ "iPhone 15 Pro" ก่อนเปิดตัวกันยายนนี้