ข่าวดังข้ามปี 2566 : เงินดิจิทัล 10,000 บาท เรือธงรัฐบาลเศรษฐา ปัง หรือ แป้ก ?
ทันทีที่พรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล โดยนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท คือนโยบายเรือธงที่มีทั้งคนอยากได้ เสียงค้าน ควบคู่ความพยายามเดินหน้านโยบายนี้ของรัฐบาล
นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นความคาดหวังของรัฐบาลที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับคนไทย หลังจากซบเซามานานจากสถานการณ์โควิด-19 การกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ เป็นทางเดียวที่เร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้เงินไปใช้จ่ายได้เลยทันที ซึ่งครั้งนี้ให้ในรูปแบบของ "ดิจิทัล วอลเล็ต" มูลค่า 10,000 บาท
ห่วงใช้งบ "ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท" สุดท้ายภาระการคลังอยู่ดี
โฆษกรัฐบาล เปิดผลการศึกษา ดิจิทัลวอลเล็ต มีผลกระตุ้น GDP โต
เกณฑ์เดิมคือ ได้ทุกคนตั้งแต่ 16 ปีขึ้น ใช้ได้ในระยะ 4 กิโลเมตร และต้องใช้ในพื้นที่จังหวัดตามทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน
แต่....

ทันทีที่พูดถึงเรื่องงบประมาณที่จะต้องนำใชมาใช้กับโครงการนี้ทำให้มีเสียงค้านดังขึ้น ทั้งจากนักเศรษฐศาสตร์ นักวิชาการ ฝ่ายค้าน แม้กระทั่งอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่ลงชื่อค้านนโยบายนี้ ด้วยเหตุผลคือนโยบายนี้จะสร้างความเสียหายต่อวินัยการเงินการคลังของประเทศอย่างมาก
เสียงค้านสนั่นเมือง สู่การปรับเงื่อนไข ใครรวย-ใครจน ใครจะได้ใช้เงินหมื่น
เมื่อเสียงค้านเริ่มดังขึ้น นายกฯ เศรษฐา ถึงกับขอเสียงคนสนับสนุนให้ออกมาช่วยเชียร์นโยบายนี้กันหน่อย ก่อนที่ต่อมาจะตัดสินใจตั้ง คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต รวมถึงคณะอนุกรรมการฯ เพื่อดูผลได้ ผลเสีย และความเหมาะสมของนโยบายนี้อีกที โดยเฉพาะเรื่องรายได้ของกลุ่มที่จะได้รับ เกิดประเด็นรายได้คนจน-คนรวย การยกเลิกใช้แอปพลิเคชันเป๋าตัง ฯลฯ
สุดท้ายเมื่อวันที่ 10 พ.ย.2566 นายกฯ เศรษฐา ตั้งโต๊ะแถลงรายละเอียดเองซึ่งครั้งนี้มีการปรับเงื่อนไข คือ
- คนไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป
- รายได้ต่ำกว่า 70,000 บาท/เดือน
- และ/หรือเงินฝากต่ำกว่า 500,000 บาท
- ใช้สิทธิ์ได้ 6 เดือน
- ขยายพื้นที่ครอบคลุมระดับอำเภอตามบัตรประชาชน
- พัฒนาแอปพลิเคชัน"เป๋าตัง"
- คาดว่าจะใช้ได้ช่วง พ.ค.2567
- สิ้นสุดโครงการ 2570
- กลุ่มเป้าหมายประมาณ 50 ล้านคน
คนไทยกับเงื่อนไขดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ไม่เห็นด้วยที่จะต้อง "กู้"
ช่างภาพพีพีทีวี
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงรายละเอียดนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท

แต่ทันทีที่แถลงจบ รัฐบาลมีประเด็นให้สังคม เอ๊ะ! อีกรอบ "กู้เงิน 5 แสนล้าน" เพื่อใช้โครงการนี้
นายกฯ เศรษฐา พูดชัดเจน "ออก พรบ.กู้เงินเป็นวงเงิน 500,000 ล้านบาท" พร้อมแผนจัดสรรเงินงบประมาณมาเพื่อจ่ายคืนเงินส่วนที่เป็นเงินกู้ตลอดระยะเวลา 4 ปี ซึ่งทุกอย่างจะเป็นไปตามกฎหมายวินัย การเงินการคลัง และย้ำหนักหนาว่า จำเป็นต้องทำนโยบายนี้จริงๆ เพราะประเทศไทยกำลังวิกฤตต้องการกระตุ้นอย่างจริงจัง
ปัจจุบัน นโยบายนี้กำลังรอการตีความจากคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อผ่านแล้วก็ต้องไปลุ้นกันว่ารัฐสภาจะยกมือโหวตให้ผ่าน หรือ ไม่ ถ้า "ผ่าน" มีโอกาสได้ใช้ดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาทพ่วงด้วย พรบ.กู้เงิน ในช่วงเดือน พ.ค.2567 แต่ถ้า "ไม่" ... ลุ้นกัน
กฟภ.ขายพันธบัตร 3 พันล้านบาท ดอกเบี้ย 3.84% ต่อปี จ่ายทุก 6 เดือน
ตำรวจไล่เก็บภาพวงจรปิด เตรียมออกหมายเรียก "สมรักษ์ คำสิงห์" พบพนักงานสอบสวน
หมอทหารคลั่ง ! ใช้อาวุธปืนยิงขู่ในหมู่บ้านย่านสมุทรปราการ