นักวิชาการ-นักวิเคราะห์ ทางออกทำ “เงินดิจิทัล วอลเล็ต” เป็นจริง
ทางออกทำ “เงินดิจิทัล วอลเล็ต” เป็นจริง ไม่เป็นเช่นนั้นอาจ อาจกระทบต่อความอยู่รอดของรัฐบาลนายกฯเศรษฐาได้
นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด หลังจากที่นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังออกมาประกาศว่า อาจแจกเงินดิจิทัลไม่ทันในช่วงเดือนพฤษภาคมปีนี้
ยังรอเงินดิจิทัล วอเล็ต 10,000 บาทอยู่ไหม? หลังไม่ได้ตามเดิม พ.ค.นี้
ยอมรับ "โครงการดิจิทัลวอลเล็ต" ไม่ทันเดือน พ.ค. นี้แน่นอน
ล่าสุด มีความเห็นจาก นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ที่ออกมาระบุว่า หากจะเดินหน้านโยบายต่อ ควรปรับลดงบประมาณ และปรับเงื่อนไขการแจกเงินแต่หากยังดันทุรังต่อโดยไม่ปรับอะไรเลย อาจกระทบต่อความอยู่รอดของรัฐบาลนายกฯเศรษฐาได้

อาจารย์พรายพล คุ้มทรัพย์ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า หากรัฐบาลจะเดินหน้าต่อควรลดขนาดโครงการ หั่นงบประมาณลง จากเดิมที่จะกู้เงิน 500,000 ล้านบาท ควรลดลงมาเหลือ 100,000 ถึง 200,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่เศรษฐกิจไม่ได้มีปัญหา เพียงแต่ชะลอตัว
ส่วนที่มาของงบประมาณ หากปรับลดวงเงิน รัฐบาลอาจเปลี่ยนไปใช้เงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีก็ได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในสภาฯ ยังมีเวลาที่จะโยกงบบางส่วนแต่หากทำไม่ทัน การออกเป็น พระราชบัญญัติเงินกู้ ก็ยังพอทำได้ ถ้ารัฐบาลยอมลดงบประมาณลง
แต่จะต้องไปลุ้นว่าจะขัดกับมาตรา 53 ของ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง ซึ้งต้องหาข้อสรุปว่าประเทศวิกฤตหรือไม่วิกฤต
เสนอเงื่อนไขการจ่ายเงินใหม่
ขณะเดียวกันยังเสนอให้ปรับเงื่อนไขการจ่ายเงินใหม่ เช่น จ่ายเงินเฉพาะกลุ่มผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งมีฐานข้อมูลของคนที่ลงทะเบียนไว้อยู่แล้ว หรือนำนโยบายคนละครึ่งกลับมาใช้ เพราะเป็นโครงการที่เห็นผลว่ากระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีพอสมควร และไม่ต้องใช้งบประมาณมากเท่ากับที่รัฐบาลตั้งเอาไว้
เลื่อนแจกเงิน สัญญาณอันตราย
อาจารย์พรายพล ยังกล่าวด้วยว่า การเลื่อนไทม์ไลน์แจกเงินออกไป จากเดิมที่ประกาศไว้ว่าจะแจกเงินในช่วงเดือนพฤษภาคมปีนี้ ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลไม่มีความมั่นใจในการจะดำเนินโครงการเต็มรูปแบบ เหมือนที่เคยประกาศเอาไว้ และยังชี้ว่าเจอปัญหาข้อกฎหมาย และการแสดงความเห็นถึงความเสี่ยงจากหลายหน่วยงาน
หากรัฐบาลยังดันทุรังเดินหน้าโครงการต่อโดยไม่ปรับอะไรเลย อาจมีผลต่อความเชื่อมั่นทางการเมือง โดยเฉพาะความอยู่รอดขอลรัฐบาลนายกฯเศรษฐา ทวีสินด้วย
รายการเที่ยงทันข่าว 18 ม.ค.2567
นายณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย)

นักวิเคราะห์ ล่าช้ากว่ากรอบเดิม แต่ไม่ควรเกิน มิ.ย.2567
สอดคล้องกับความเห็นของ นายณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ซึ่งมองว่า ทางออกหนึ่งของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต คือการใช้งบประมาณปี 68 ซึ่งในแต่ละปีจะมีงบที่เหลือจากปีก่อนสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจนอกจากมาตรการที่ระบุไว้ในงบประมาณ ประมาณ 2-3 แสนล้านบาท
ซึ่งก็เป็นจำนวนที่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีการประเมินว่าหากใช้งบประมาณ 5 แสนล้านบาท จะหนุนจีดีพีได้ประมาณ 0.8% ถ้า 3 แสนล้านบาท ก็คงจะหนุนได้ในระดับประมาณ 0.5 ถึง 0.6%
เมื่อลดขนาดลงมาแล้ว ก็จะลดความกังวลในเรื่องของการถูกลดระดับเครดิต วินัยการเงินการคลัง แต่ก็ต้องแลกมากับการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจจะไม่ได้หวือหวาอย่างที่ตั้งใจไว้
อย่างไรก็ตาม นายณัฐพล มองว่า หากมาตรการดิจิทัลวอลเล็ตจะล่าช้ากว่ากรอบเดิม ที่รัฐบาลตั้งใจไว้ในตอนแรกว่าจะแจกเงินให้ทันเดือนพฤษภาคม ก็ไม่ควรเกินเดือนมิถุนายน หรือหากโครงการนี้จะล่าช้าก็ควรจะมีมาตรการอื่นมาชดเชยเพื่อกระตุ้นการบริโภคไปพลางก่อน อย่างเช่น โครงการคนละครึ่ง การดูแลภาคการเกษตร หรือมาตรการช่วยเหลือค่าของชีพเฉพาะกลุ่ม
นายณัฐพล ยังบอกว่า ตอนนี้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างชาติกำลังรอความชัดเชนของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตอยู่ด้วยเช่นกัน เนื่องจากเศรษฐกิจและบรรยากาศการลงทุนห่างหายจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่มานาน
ออปต้า ทำนายผลแข่ง ทีมชาติไทย พบ โอมาน นัดสอง ศึกเอเชียน คัพ 2023
โปรแกรมฟุตบอลเอเชียน คัพ 2023 รอบแรก นัดสอง 19 ม.ค.67
วันหยุดกุมภาพันธ์ 2567 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ ตรงกับวันไหนบ้าง