หอการค้าทั่วประเทศ แถลงการณ์จุดยืน ค้านขึ้นค่าแรง 400 บาท ทั่วประเทศ
หอการค้าทั่วประเทศและสมาคมการค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น 52 สมาคม ค้านขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ หวั่นคนตกงานพุ่ง และ ของแพง
หลังจากวันแรงงานที่ผ่านมา รัฐบาลประกาศเตรียมจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ทุกอาชีพ ทั่วประเทศ ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ทำให้ล่าสุดหอการค้าทั่วประเทศและสมาคมการค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น ออกมาแสดงจุดยืนคัดค้านนโยบาย ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ โดย มี ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ คนที่ 1 หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนในการอ่านแถลงการณ์
โดยหอการค้าทั่วประเทศและสมาคมการค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น 52 สมาคม เห็นด้วยที่รัฐบาลต้องการจะยกระดับรายได้ ให้กับแรงงาน แต่การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำควรเป็นไปตาม ตาม มาตรา 87 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หากจะยกระดับรายได้ลูกจ้างให้สูงขึ้นสามารถทำได้ด้วยการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ต้องคำนึงถึงผลการศึกษา - ข้อเสนอ คณะกรรมการค่าจ้างหรือ ไตรภาคี และควรปรับเฉพาะพื้นที่จังหวัดและประเภทธุรกิจ และควรหารือกับเอกชนก่อนปรับ
ดร.พจน์ ระบุด้วยว่า การที่รัฐบาลประกาศจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 400 บาทไม่เป็นเหมือนกับที่คุยกันไว้ในคณะกรรมการค่าจ้าง หากรัฐบาลยืนยันที่จะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศโดย ไม่คำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม ภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบ จำเป็นจะต้องรักษาสิทธิ์ตามกฎหมาย
ย้ำครั้งสุดท้ายเราไม่เคยปฏิเสธความหวังดีของรัฐบาลที่จะเพิ่มรายได้ให้กับภาคแรงงาน ไม่เคยคัดค้าน แต่ขอให้เป็นการเพิ่มที่เหมาะสม ถูกต้องตามกฎหมาย และ ผู้มีส่วนร่วมที่จะต้องจ่ายกับรับ เขามีสิทธิ์มีเสียงในการตัดสินใจชีวิตตัวเอง ขีดความสามารถแข่งขันเรื่องใหญ่ ทำไมส่งออกยังตกอยู่ ขึ้นขึ้น ลงลง ก็เพราะขีดความสามารถในการแข่งขันด้อยมากวันนี้ นายพจน์กล่าว
ด้านรศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ จะเป็นการกระชาก ค่าจ้างสูงขึ้นไป จากนโยบายจากการหาเสียง ไม่ใช่ปรับค่าแรงตามกลไกที่ควรจะเป็น ซึ่งจะเป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการและเศรษฐกิจประเทศเหมือนกับการกระชากปรับขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ เมื่อปี 54
บทพิสูจน์ออกมาชัดเจนว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำตามสภาพเศรษฐกิจ การตกลงระหว่างรัฐ แรงงานและนายจ้าง เห็นพ้องต้องกันว่าปรับไปตามภาวะของเศรษฐกิจในพื้นที่ และความต้องการของตลาดแรงงานในแต่ละจังหวัด นี่คือหลักการ ดังนั้นการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาท เท่ากันทั่วประเทศอีกหนึ่งครั้ง คือการกระชากด้วยนโยบายของการหาเสียง ไม่ใช่เป็นหลักธรรมชาติของการปรับไปตามกลไกลทางธุรกิจ หรือการจ้างงานที่ควรจะเป็น รศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าว
ขณะที่ตัวแทนสมาคมการค้า สะท้อนว่า หากปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ จะกระทบหลายส่วน อาจมีคนต้องตกงาน กลายเป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องเข้ามาแก้ไข กระทบการลงทุน ลามไปถึงกระทบค่าครองชีพประชาชนจากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น
โดยหลังจากนี้จะมีการจากรวบรวมความเห็นจากสมาคมการค้าที่ใช้แรงงานเข้ม ส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในวันที่ 13 พฤษภาคม ก่อนการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้
พยากรณ์อากาศล่วงหน้า 7-16 พ.ค.67 ฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น
เช็ก 45 จังหวัด สิทธิบัตรทอง 30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว
ฟุตซอลไทย อันดับ 9 โลก หลังฟีฟ่า จัดอันดับทางการ