ประชุมไตรภาคีบอร์ดค่าจ้าง ล่ม! ฝ่ายนายจ้างไม่เข้าประชุม
ประชุมไตรภาคีบอร์ดค่าจ้างเพื่อพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ล่ม ฝ่ายนายจ้างไม่เข้าประชุม
ที่ประชุมบอร์ดค่าจ้างที่กระทรวงแรงงานเมื่อวานนี้ คณะกรรมการไตรภาคีทั้งตัวแทนฝ่ายราชการ ฝ่ายลูกจ้าง เข้าร่วมประชุม เพื่อพิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทตามนโยบายของรัฐบาล แต่ไม่สามารถลงมติได้เนื่องจากตัวแทนฝ่ายนายจ้างไม่เข้าร่วมประชุม โดยนายวีรสุข แก้วบุญปัน กรรมการค่าจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง ระบุว่า การประชุมไตรภาคีครั้งนี้กรรมการฝ่ายนายจ้างทั้ง 5 คนไม่เข้าร่วมประชุม ถือว่าไม่ครบองค์ประชุมทำให้ไม่สามารถประชุมได้ จึงเป็นเพียงการพูดคุยหารือกันนอกรอบเท่านั้น

ตรวจหวยงวดนี้ - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 16 กันยายน 2567 ลอตเตอรี่ 16/9/67
ตรวจผลออกรางวัลสลากออมสินพิเศษ 1 ปี งวดวันที่ 16 กันยายน 2567
อุตุฯ เตือนฉบับที่ 8 กทม.-65 จว. ฝนตกหนักถึงหนักมาก
เกี่ยวกับเรื่องของการปรับอัตราค่าจ้าง ดูแนวทางของสูตรค่าจ้าง และภาวะเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถลงมติอะไรได้
นายวีรสุข ยังบอกว่า ทางฝั่งนายจ้างไม่ได้ให้เหตุผลอะไรในการไม่เข้าร่วมประชุม และตนก็ไม่รู้มาก่อน เพิ่งมารู้วันนี้ตอนเข้าประชุมว่านายจ้างไม่มา เมื่อถามว่านายจ้างไม่เข้าร่วมประชุมแบบนี้เป็นการส่งสัญญาณว่าไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าจ้างหรือไม่ นายวีรสุขบอกว่า ตนก็ไม่รู้เหตุผลว่าที่นายจ้างไม่มาวันนี้เพราะอะไร แต่ฝั่งลูกจ้างก็ยังคงมีความหวัง และยืนยันเหมือนเดิมว่าค่าแรงขั้นค่ำถึงเวลาที่ต้องปรับขึ้นได้แล้ว
จับตาไตรภาคีนัดหน้า 20 ก.ย. 2567
ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่า ตั้งแต่ที่ตนมาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงแรงงานยังไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน แต่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 82 กำหนดว่าหากองค์ประชุมไม่ครบต้องนัดประชุมครั้งที่ 2 ภายใน 15 วัน โดยได้มีการนัดหมายประชุมอีกครั้งในวันที่ 20 ก.ย. นี้
ซึ่งการประชุมครั้งที่ 2 กฎหมายระบุว่าหากกรรมการค่าจ้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เข้าร่วมประชุมอีก สามารถใข้มติ 2 ใน 3 พิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำได้เลย โดยไม่ต้องรอครบองค์ประชุม ส่วนผลการประชุมจะเป็นอย่างไร จังหวัดใดหรือสาขาอาชีพใดจะได้ขึ้นค่าจ้างถึง 400 บาท ขอให้รอดูวันที่ 20
นายไพโรจน์ ยังเปิดเผยว่า อนุไตรภาคีจังหวัดเสนอมาสูงสุดอยู่ที่ 410 บาท คือ จังหวัดสมุทรปราการ โดยกระทรวงแรงงานจะเตรียมมาตรการช่วยเหลือนายจ้างไว้หลายแนวทาง อาทิ มาตรการช่วยเหลือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ลดหย่อนภาษี และลดการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม
ส่วนกระแสที่บอกว่าการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้แรงงานต่างด้าวได้ประโยชน์นั้น นายไพโรจน์ยืนยันว่าแรงงานไทยได้ประโยชน์มากกว่า เช่น หากปรับขึ้นในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 200 คนขึ้นไป จะมีแรงงานไทยได้รับประโยชน์ ประมาณ 3 ล้านคน และแรงงานข้ามชาติ ประมาณ 1 ล้านคน อย่างไรก็ตามมีความเห็นของฝ่ายลูกจ้างที่อยากให้ขึ้นเท่ากันทุกขนาดสถานประกอบการ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับผลการประชุมวันศุกร์นี้