แจกเงินหมื่นไม่ช่วย! เชื่อมั่นผู้บริโภค ก.ย. 67 ดิ่งต่อเนื่อง
หอการค้าไทย เผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย. 67 ปรับลดลงทุกรายการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ต่ำสุดรอบ 14 เดือน จาก ศก.โตช้า-วิกฤตน้ำท่วม
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ก.ย. 67 ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 อยู่ที่ระดับ 55.3 ต่ำสุดในรอบ 14 เดือนนับตั้งแต่ ส.ค. 66
เนื่องจากผู้บริโภคกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นตัวช้า และความกังวลสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัด โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงผลผลิตทางการเกษตร ประกอบกับราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น
นอกจากนี้ผู้บริโภคยังกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัว สงครามในตะวันออกกลางและสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ อาจเพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวล่าช้าของเศรษฐกิจไทย แม้เดือนนี้จะมีการแจกเงินให้กับกลุ่มเปราะบางคนละ 10,000 บาทตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
“ติ๊ก ชิโร่” ขับรถตู้ชน จยย.ดับ 1 สาหัส 1 ยืนรอมอบตัว ก้มกราบเท้าขอโทษ
สคบ. จ่อเรียก 3 ดาราดัง บอส The iCon Group ให้ข้อมูลสัปดาห์หน้า
รวมข้อมูลพร้อมพิกัดบูธ “สัปดาห์งานหนังสือแห่งชาติ 2567” ครั้งที่ 29
ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม : ปรับตัวลดลงจากระดับ 50.2 เป็น 48.8
ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม : ปรับตัวลดลงจากระดับ 53.9 เป็น 52.7
ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต : ปรับตัวลดลงจากระดับ 65.6 เป็น 64.4
ดัชนีปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ทุกรายการ แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคต เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศ ราคาพลังงาน และค่าครองชีพที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะชะลอตัวลง ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานมีโอกาสฟื้นตัวได้ช้า ทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคมีความไม่แน่นอนสูง
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค : ปรับตัวลดลงจากระดับ 56.5 เป็น 55.3
ดัชนีความเชื่อมั่นในปัจจุบัน : ปรับตัวลดลงจากระดับ 40.4 เป็น 39.0
ดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคต : ปรับตัวลดลงจากระดับ 64.3 มาอยู่ที่ระดับ 63.1
ดัชนีปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ทุกรายการ แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นได้รวดเร็วหรือไม่ แม้จะมีมาตรการแจกเงินคนละ 10,000 บาทออกมาแล้วก็ตาม
ประเมินสถานการณ์อุทกภัยปี 67 (ณ 8 ต.ค. 67)
ศูนย์พยากรณ์ฯ คาดการณ์ว่าสถานการณ์น้ำท่วมปี 67 จะส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่าประมาณ 36,929 ล้านบาท โดยมีสมมติฐานว่าสถานการณ์จะคลี่คลายภายใน 15 วัน จากการวิเคราะห์พบว่าการภาคเกษตรได้รับผลกระทบมากที่สุด คิดเป็น 74.3% รองลงมาคือ ภาคบริการ และภาคอุตสาหกรรม มูลค่าความเสียหายนี้คิดเป็น 0.21% ของ GDP ภาพรวมมี 36 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบโดยเชียงรายเสียหายมากที่สุด รองลงมาคือ เชียงใหม่ และพะเยา