หนี้ครัวเรือนไทย Q3/67 ลดลงอยู่ที่ 16.34 ล้านล้านบาท 89% ต่อจีดีพี
หนี้ครัวเรือนไทย Q3/67 ลดลงอยู่ที่ 16.34 ล้านล้านบาท ส่งผลสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีเหลือ 89% จากสถาบันการเงินเข้มงวด การปล่อยสินเชื่อต่อเนื่อง
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3 ของ ปี 2567 ว่า หนี้สินครัวเรือนของไทยลดลงจาก 16.35 ล้านล้านบาท เหลือ 16.34 ล้านล้านบาท สาเหตุจากสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งการชะลอตัวดังกล่าว ทำให้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพี ปรับลดลงมาอยู่ที่ 89.0% จาก 89.5% ในไตรมาสสองของปีก่อน

ซึ่งการปรับลดลงของ สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพีในครั้งนี้ ไม่ได้สะท้อนถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ลดลง แต่เกิดจากการชะลอตัวของหนี้ครัวเรือนเมื่อเทียบกับอัตราขยายตัวของจีดีพี
ขณะที่คุณภาพสินเชื่อของครัวเรือนยังคงต่ำลงอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าสินเชื่อส่วนบุคคลที่ค้างชำระเกิน 90 วันขึ้นไป หรือ NPLs ในฐานข้อมูลเครดิตบูโร มีจำนวน 1.16 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 8.46% เพิ่มขึ้นจาก 8.01% ของไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวกลับเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภทสินเชื่อ ยกเว้นสินเชื่อเพื่อการเกษตร
สำหรับประเด็น หนี้สินครัวเรือนที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่
1.การให้ลูกหนี้ที่มีปัญหาเข้าร่วมโครงการคนสู้เราช่วย เป็นโครงการดังกล่าวคาดว่าจะใช้รูปนี้รายย่อยและ SMEs ขนาดเล็ก จำนวน 2.1 ล้านบัญชี หรือ 1.9 ล้านราย แต่ปัจจุบันยังคงมีผู้เข้าร่วมโครงการไม่ถึงตามจำนวนที่ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งปัจจุบันข้อมูลล่าสุดมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการนี้เพียง 746,912 บัญชี จากลูกหนี้ 642,030 รายเท่านั้น
2.การสร้างความตระหนักรู้ทางการเงินเพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อจากภัยการเงิน เนื่องจากปัจจุบันพบมิจฉาชีพหลอกลวงผ่านคำโฆษณาชวนเชื่อค่อนข้างเยอะ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อรถมีจำนวนมาก
3.การติดตามความคืบหน้าการแก้ไข พ.ร.บ. ล้มละลาย ซึ่งเป็นกฎหมายที่จะมีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาหนี้ของลูกหนี้รายย่อย ให้สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูหนี้สิน โดยการเจรจาเพื่อไก่เกลียนี่กับเจ้าหน้าที่หลายรายในครั้งเดียว ฉันจะช่วยลดจำนวนลูกหนี้ที่จะเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องล้มละลายและถูกยึดทรัพย์ได้
นอกจากนี้ นายดนุชา ระบุว่า หนี้ครัวเรือนอาจะมีแนวโน้มที่ลดลง ในไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้ ขณะยังคงต้องติดตามนโยบายกีดกันการค้าของโดนัลด์ ทรัมป์ อย่างใกล้ชิด ว่าจะมีนโยบายใดบ้าง ที่อาจส่งผลกระทบต่อประเทศและเศรษฐกิจของไทยโดยตรง ที่อาจจะส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวรือนของไทยได้ด้วยเช่นกัน
