กนง. มีมติคงดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% ต่อปี โจทย์ใหญ่เร่งควบคุมแพร่ระบาด - กระจายวัคซีน
มติ กนง. 4 ต่อ 2 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี ขณะที่อีก 2 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่โควิด-19 กระทบเศรษฐกิจมากกว่าที่ประเมินไว้
สมาคมสายการบินประเทศไทย ยืนยัน ยังไม่ได้รับอนุมัติเงินกู้จากรัฐบาล
ก.ล.ต.ให้หมอบุญ - THG เข้าชี้แจงเกี่ยวกับเซ็นสัญญานำเข้าวัคซีนไฟเซอร์
หุ้นไทยวันนี้ ( 4 ส.ค.64) ปิดการซื้อขาย 1,545.86 จุด เพิ่มขึ้น +5.35 จุด
เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2564 นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติ 4 ต่อ 2 เสียง พิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี ขณะที่อีก 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.25 ต่อปี โดยคณะกรรมการประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 มากกว่าที่ประเมินไว้ และยังมีความเสี่ยงด้านต่ำอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยโจทย์สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน คือ การเร่งควบคุมการระบาด และการกระจายวัคซีน
เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของประชาชน และเอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและรายได้กลับมาขยายตัว ขณะที่มาตรการทางการคลังและการเงิน จะต้อง วยผู้ได้รับผลกระทบให้ตรงจุด และสอดคล้องกับสถานการณ์
ทั้งนี้ คณะกรรมการ มองเห็นว่าความเสี่ยงระยะข้างหน้ายังอยู่ในระดับสูง ซึ่งการช่วยเหลือต้องเร่งผลัดดันผ่านการกระจายสภาพคล่อง และลดภาระหนี้ของกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ
ซึ่งกรรมการส่วนใหญ่เห็นว่า มาตรการทางการเงินจะมีประสิทธิผลมากกว่ากระลดอันราดอกเบี้ยนโยบายที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ ขณะที่กรรมการอีก 2 คน เห็นควรให้ลดดอกเบี้ยเพื่อเป็นมาตรการเสริมในการช่วยพยุงเศรษฐกิจ และรองรับแนวโน้มเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงสูงในระยะข้างหน้า
สำหรับเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) มีแนวโนมขยายตัวลดลงที่ร้อยละ 0.7 จากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ในปี 2564 และในปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 โดยปรับลดลงตามการบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบมากในปีนี้ และแนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับลดลงในปีหน้า ด้านตลาดแรงงานเบาบางมากขึ้น โดยเฉพาะภาคบริการ และผู้ประกอบอาชีพอิสระ
ขณะเดียวกันเศรษฐกิจไทย ยังมีแรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากแนวโน้มการใช้จ่ายของภาครัฐที่สูงขึ้น จากพ.ร.ก.เงินกู้ ล่าสุด และการส่งออกขยายตัวดี แม้ภาคการผลิตบางส่วนได้รับผลกระทบในโรงงาน และการขาดแคลนวัตถุดิบชั่วคราว
ทั้งนี้เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงด้านต่ำอย่างมีนัยยะสำคัญจากการระบาดโควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ ที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชน รายได้ การจ้างงาน เพิ่มเติมจากผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งคณะกรรมการจะติดตามปัจจัยดังกล่าวอย่างใกล้ชิด