"เงินเฟ้อสูงขึ้น 2.17%" ผลพวงผัก เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ ขึ้นราคา
พาณิชย์ เปิดตัวเลขเงินเฟ้อ ธันวาคม 2564 สูงขึ้น 2.17% ผลพวงจากสินค้าในกลุ่มอาหารสด ผักสด ไข่ เนื้อไก่ เนื้อหมู มีราคาแพงขึ้น ส่งผลต่อข้าวสำเร็จรูปและข้าวราดแกง ราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุนและวัตถุดิบ
นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค. ) กระทรวงพาณิชย์ สรุปสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ เดือนธันวาคม 2564 พบว่า ภาพรวมดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ เงินเฟ้อทั่วไป เดือนธันวาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 2.17 สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศที่สูงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากมาตรการตรึงราคาน้ำมันของภาครัฐ
นายกฯ สั่งแก้หมูแพง ชะลอส่งออก ขอห้างค้าปลีก-ค้าส่งตรึงราคา คาด 4 เดือน กลับสู่ภาวะปกติ
8 แนวทางแก้ปมใหญ่ "หนี้ภาคครัวเรือน"
ขณะที่สินค้าในกลุ่มอาหารสด เช่น ราคาผักสดยังอยู่ในระดับสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื้อสุกรและไข่ไก่ ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการเลี้ยง โดยเฉพาะราคาเนื้อสุกรปรับเพิ่มตามค่าบริหารจัดการโรคระบาดในสุกร นอกจากนี้ ปริมาณผลผลิตลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการรายย่อยลดปริมาณการเลี้ยงสุกร รวมทั้ง น้ำมันพืช กับข้าวสำเร็จรูปและข้าวราดแกง ราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุนและวัตถุดิบรพ.ราชวิถี หยุดให้บริการ Walk-in ฉีดวัคซีนโควิด 6 ม.ค.เป็นต้นไป
รพ.บางใหญ่ เปิด walk-in ฉีดวัคซีนเข็ม 3 “ไฟเซอร์-แอสตร้าฯ”
อย่างไรก็ตาม ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ผลไม้สด เสื้อผ้า ค่าเช่าบ้าน ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษายังคงปรับลดลง ส่วนสินค้าอื่นๆ เช่น เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด และของใช้ส่วนบุคคลยังเคลื่อนไหวในทิศทางที่ปกติ สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและปริมาณผลผลิต
เงินเฟ้อที่สูงขึ้นในเดือน ธ.ค. สอดคล้องกับเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญหลายตัว
ด้านอุปสงค์ ได้แก่ ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งการจัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในประเทศและจากการนำเข้า รวมทั้งการส่งออกสินค้าที่ยังคงขยายตัวได้ดีและต่อเนื่อง
ด้านอุปทาน ได้แก่ อัตราการใช้กำลังการผลิต และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัวได้ดี นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 มาอยู่ที่ระดับ 47.0 จากระดับ 45.2 ในเดือนก่อนหน้า รวมทั้ง ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างและดัชนีราคาผู้ผลิต ที่สูงขึ้นร้อยละ 8.9 และ 7.7 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม สรุปสถานการณ์เงินเฟ้อปี 2564 พบว่า สูงขึ้นร้อยละ 1.23 ใกล้เคียงกับที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 0.8 – 1.2 และเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) สูงขึ้นร้อยละ 0.23 ซึ่งขยายตัวเท่ากับปีก่อน ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อในปีนี้ ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง ราคาผักสดเพิ่มสูงขึ้น จากปริมาณผลผลิตลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม และผลผลิตที่ต่ำกว่าปีก่อน ขณะที่เครื่องประกอบอาหาร อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน ราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ
สำหรับปัจจัยลบ ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และผลไม้สด จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้อุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศชะลอตัวลง รวมถึงผลผลิตมีปริมาณมากเมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐส่งผลให้ค่าสาธารณูปโภค ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาลดลง ส่วนหมวดอื่น ๆ เคลื่อนไหวในทิศทางปกติ เงินเฟ้อดังกล่าวชี้ว่า สถานการณ์ด้านราคาสินค้า และบริการของประเทศตลอดทั้งปี 2564 ยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ เคลื่อนไหวในทิศทางปกติ สอดคล้องกับปัจจัยด้านอุปทานและด้านอุปสงค์
แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2565 พาณิชย์คาดอยู่ที่ร้อยละ 1.5
คาดว่าจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในระดับที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จากแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยว การส่งออกสินค้า การผลิต และอุปสงค์ด้านพลังงาน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในรูปแบบต่าง ๆ ส่งผลดีต่อรายได้และกำลังซื้อของประชาชน
สำหรับอุปทานที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อ ได้แก่ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต การขนส่ง เงินบาทที่อ่อนค่าลง และการขาดแคลนแรงงาน ส่งผลต่อภาคการผลิตและสินค้าในหมวดอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยและแนวโน้มเหล่านี้ยังมีความเสี่ยงและมีโอกาสผันผวน รวมถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยอาจจะได้รับแรงกดดันจากโควิด-19 ซึ่งจะกดดันให้เงินเฟ้อของไทยขยายตัวได้อย่างจำกัด