เงินบาทอ่อน ในกรอบ 33.50-34.00 คาดกนง.ประชุม 30 มี.ค.นี้ คงดอกเบี้ย
คาดค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ อ่อนค่า มีโอกาสแตะ 34 บาท/ดอลลาร์ จากค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า คาดเฟดขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่กนง.คงดอกเบี้ย 30 มี.ค.นี้
ทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.50-34.00 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 33.55 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบ 33.32-33.72 บาท/ดอลลาร์
เงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเยนในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเงินเยนดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) สหรัฐฯ พุ่งขึ้นหลังความเห็นจากเจ้าหน้าที่เฟดหลายรายคาดการณ์ว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50bp ในการประชุมวันที่ 3-4 พฤษภาคม เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ
เปิด 10 อันดับกองทุนหุ้น ผลตอบแทนสูงสุด ฝ่ากระแสโควิด-สงคราม
หุ้นสัปดาห์หน้า แนวโน้มขยับขึ้น ขณะค่าบาทอ่อนจากเฟดขึ้นดอกเบี้ย
การเคลื่อนไหวค่าเงินบาท 28 มี.ค.
ขณะเดียวกันดอลลาร์ออสเตรเลียและดอลลาร์แคนาดาแข็งค่าขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 5,021 ล้านบาท แต่มียอดขายพันธบัตรสุทธิ 24,985 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งเกิดจากตราสารที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติครบอายุ 12,569 ล้านบาท
กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ กรุงศรี คาดว่า นักลงทุนจะให้ความสนใจกับบอนด์ยิลด์สหรัฐฯ สถานการณ์การสู้รบในยูเครนและการเจรจาระหว่างรัสเซียกับยูเครนรอบใหม่ที่ตุรกี ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมีนาคมของสหรัฐฯ ขณะที่เงินเยนยังคงเผชิญแรงกดดันแม้ตลาดการเงินผันผวนสูง เนื่องจากความเสี่ยงด้านขาลงของเศรษฐกิจโลกที่เปิดกว้างขึ้นในรอบนี้เกิดพร้อมกันกับภาวะเงินเฟ้อสูงซึ่งส่งผลให้ธนาคารกลางหลักหลายแห่งนอกญี่ปุ่นหันมาคุมเข้มนโยบาย
นอกจากนี้ หากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง สถานะดุลการค้าของประเทศผู้นำเข้าพลังงานสุทธิ เช่น ญี่ปุ่น และไทย จะย่ำแย่ลงและเงินอ่อนค่า
สำหรับปัจจัยในประเทศ กรุงศรีคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีมติคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% ในการประชุมวันที่ 30 มีนาคม เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์เผชิญความไม่แน่นอนหลายด้านรวมถึงการที่จีนยังยึดมั่นในยุทธศาสตร์ Zero COVID
อนึ่ง ตลาดจะจับตาการประเมินภาวะเศรษฐกิจและสัญญาณการปรับท่าทีการดำเนินนโยบายในระยะข้างหน้าท่ามกลางเงินเฟ้อที่เร่งตัวซึ่งแม้ว่าจะเกิดจากทางด้านต้นทุนแต่กระแสการใช้นโยบายการเงินตึงตัวทั่วโลกอาจบั่นทอนเสถียรภาพค่าเงินบาทและดันต้นทุนนำเข้าสูงขึ้น
ทางด้านกระทรวงพาณิชย์รายงานยอดส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัว 16.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 0.12 พันล้านดอลลาร์
รัสเซีย ยิงขีปนาวุธถล่มเมืองลวิฟ-บึ้มคลังน้ำมัน ห่างโปแลนด์ 60 กม.
เตรียมรับมือ! วิกฤติราคาน้ำมัน "ของจริง" กำลังจะมาในเดือนเม.ย.นี้
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คงเป้าหมายอัตราการเติบโตของการส่งออกในปี 2565 ที่ 3-4% โดยมีปัจจัยหนุนบางส่วนจากสินค้าเกษตร
อย่างไรก็ดี ยังคงต้องติดตามผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนสำหรับตัวเลขเดือนมีนาคมเป็นต้นไป