เงินบาทซื้อขายในกรอบ 34.50-34.85 อ่อนค่ารอบ 5 ปี จับตาประธานเฟด
เงินบาทยังแนวโน้มอ่อนค่า หลังทำสถิติใหม่ในรอบ 5 ปี จากดัชนีค่าเงินดอลลาร์ทะยานขึ้นสูงสุดรอบ 20 ปี จับตาท่าทีของเฟดก่อนการประชุมเดือนหน้า
เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 34.50-34.85 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 34.76 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบ 34.40-34.78 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 5 ปีครั้งใหม่
เงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่ยกเว้นเงินเยนในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าเงินพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 20 ปี
ราคาทองปรับขึ้น 150 บาท ทองแท่งยังต่ำกว่า 30,000 บาท
เศรษฐกิจถดถอย "เสี่ยงสูงมาก ๆ" โกลด์แมนแซคส์เตือนเตรียมตัวรับมือ
โควิดวันนี้ 10 จังหวัด กทม. 865 ราย จว.อื่นๆต่ำกว่า 200 ราย
การเคลื่อนไหวค่าเงินบาท 17 พ.ค.
ขณะที่ตลาดการเงินทั่วโลกเหวี่ยงตัวผันผวนหลังสินทรัพย์ดิจิตัลเผชิญแรงเทขายรุนแรง ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนเมษายนของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 8.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้แต่ชะลอตัวจาก 8.5% ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นการทะยานขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 40 ปี โดยข้อมูลชุดนี้ทำให้นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะเดินหน้าคุมเข้มนโยบายการเงินต่อไปแต่พร้อมจะแบ่งรับแบ่งสู้มากขึ้น
IRPC ปลื้ม หุ้นกู้ดิจิทัล 1,000 ล้านบาท จองหมดใน 4 นาที 23 วินาที
ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออาจผ่านจุดสูงสุดไปแล้วแต่จะยังไม่ชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยมูลค่า 2,886 ล้านบาท และ 1,759 ล้านบาท ตามลำดับ
กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) คาดว่า ตลาดจะติดตามความเห็นของประธานเฟดและยอดค้าปลีกเดือนเมษายนของสหรัฐฯ ขณะที่นักลงทุนคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อย 50bp ในการประชุมวันที่ 14-15 มิถุนายน ทางด้านเงินเยนอาจฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องหากบอนด์ยิลด์ของสหรัฐฯ ย่อตัวลงหรือแกว่งตัวในลักษณะย่ำฐานและไม่ได้ทำจุดสูงสุดใหม่ของรอบท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจจีนและสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตกซึ่งกดดันการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง
ส่วนเงินยูโรอาจเผชิญความเสี่ยงด้านต่ำต่อไปแม้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคมเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ แต่การสู้รบยังคงยืดเยื้อและวิกฤติราคาพลังงานยังไม่มีสัญญาณคลี่คลายลง
สำหรับปัจจัยในประเทศ จีดีพีไตรมาส 1/65 ขยายตัว 2.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ปรับลดประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปีนี้เป็น 2.5-3.5% แต่ปรับเพิ่มคาดการณ์มูลค่าส่งออกเป็นขยายตัว 7.3%
ทางด้านธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่าการอ่อนค่าของเงินบาทมีผลต่อเงินเฟ้อและเศรษฐกิจในภาพรวมค่อนข้างจำกัด และการดำเนินนโยบายของธปท.ยังคงให้น้ำหนักไปที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นหลัก อนึ่ง กรุงศรีมองว่าแม้กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายเริ่มมีสัญญาณไหลออกต่อเนื่องมากขึ้นในเดือนนี้ แต่หากบอนด์ยิลด์สหรัฐฯ เข้าสู่ช่วงพักตัว การอ่อนค่าของเงินบาทอาจชะลอลงได้บ้างในระยะนี้
สรุปเหรียญ ซีเกมส์ 2021 ล่าสุด ประจำวันจันทร์ที่ 23 พ.ค. 65
โปรแกรมถ่ายทอดสดซีเกมส์ 2021 นักกีฬาไทย ประจำวันอังคารที่ 17 พ.ค. 65