ค่าเงินบาท “อ่อนค่าลงอีก” เช้านี้ ที่ระดับ 36.68 บาทต่อดอลลาร์
ค่าเงินบาท “อ่อนค่าลง” เช้านี้ (19 ก.ค.65) ที่ระดับ 36.68 บาทต่อดอลลาร์จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 36.60 บาทต่อดอลลาร์ กังวลแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวลงหนักและเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังมีบริษัทยักษ์หลายแห่งเตรียมรับมือ ชะลอการจ้างงานควบคุมการใช้จ่ายในปีหน้า
ผู้เล่นในตลาดยิ่งกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจหลักชะลอตัวลงหนักและเสี่ยงที่จะเข้าสู่สภาวะถดถอยได้ หลังจากที่มีรายงานข่าวว่า บริษัท Apple อาจชะลอการจ้างงานและควบคุมการใช้จ่ายในปีหน้า เพื่อรับมือกับความเสี่ยงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งข่าวดังกล่าวสอดคล้องกับการปรับตัวของบรรดาบริษัทเทคฯ เช่น Meta (Facebook) และ Tesla
เงินบาทอ่อนสุดรอบ 16 ปี คาดสัปดาห์นี้ใกล้แตะ 37 บาทต่อดอลลาร์
เงินบาทใกล้จุดอ่อนค่าสุด ลุ้นแตะ 37 บาทต่อดอลลาร์ หรือไม่
ทำให้ ผู้เล่นในตลาดพลิกกลับมาปิดรับความเสี่ยง กดดันให้ในฝั่งสหรัฐฯ ดัชนี S&P500 ปิดตลาด -0.84%
แนวโน้มค่าเงินบาท เงินบาทยังมีแนวโน้มผันผวนและมีความเสี่ยงที่จะอ่อนค่าทดสอบแนวต้านแถว 36.70-36.80 บาทต่อดอลลาร์ได้ ท่ามกลางปัจจัยกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ที่จะมาจากทั้งความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวลงหนัก ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่แย่กว่าคาด รวมถึงมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่กลับมาเชื่อว่าเฟดอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงได้
ปัจจัยที่ต้องระมัดระวังในระยะสั้น คือ ความเสี่ยงที่ทางการจีนอาจใช้มาตรการ Lockdown ที่เข้มงวดเพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 และมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในไทย ที่อาจกระทบต่อฟันด์โฟลว์ของนักลงทุนต่างชาติได้ในช่วงนี้
ในช่วงที่ตลาดการเงินยังมีความผันผวนสูง ดังจะเห็นได้จากความผันผวนของเงินบาทที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ที่ระดับ +2 S.D. (Standard Deviation) เราแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.60-36.75 บาท/ดอลลาร์
LHFG ไตรมาส 2 กำไรสุทธิ 233.3 ล้านบาท รายได้ค่าธรรมเนียมลด ตั้งสำรองพุ่ง 66.8%
ทองวันนี้ (19 ก.ค.65) เปิดตลาดราคาลง 100 บาท
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังพอได้แรงหนุนจากการรีบาวด์ขึ้นแรงของหุ้นกลุ่มพลังงานที่ปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ จากมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่คาดว่า การมาเยือนซาอุฯ ของผู้นำสหรัฐฯ อาจไม่ได้ส่งผลให้บรรดาประเทศกลุ่ม OPEC ในตะวันออกกลางจะตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้นในระยะสั้นนี้ (Exxon Mobil +1.9%, Chevron +1.4%)
ตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ของยุโรป พลิกกลับมาปรับตัวขึ้น +1.00% หนุนโดยความหวังว่ารัฐบาลจีนจะประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ซึ่งภาพดังกล่าวได้หนุนให้หุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวจีน ต่างปรับตัวสูงขึ้น (Kering +2.8%, Dior +1.7%) นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานเช่นเดียวกันกับฝั่งสหรัฐฯ (BP +2.5%, Total Energies +2.3%) ทว่า แรงกดดันต่อตลาดหุ้นยุโรปยังคงเป็นความกังวลวิกฤติพลังงาน หากสุดท้ายรัสเซียลดหรือยุติการส่งแก๊สผ่านท่อ Nord Stream 1 แม้ว่าจะครบกำหนดการซ่อมบำรุงในวันที่ 21 กรกฎาคมนี้
ตลาดบอนด์ แม้ว่าผู้เล่นบางส่วนในตลาดยังคงมองว่าเฟดมีโอกาสราว 30% ที่จะเร่งขึ้นดอกเบี้ยถึง 1.00% ในการประชุมเดือนกรกฎาคมนี้ แต่ความต้องการถือพันธบัตรระยะยาวเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ได้ส่งผลให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังคงแกว่งตัว sideways ใกล้ระดับ 2.98%
มองว่า ในช่วงก่อนรับรู้ผลการประชุมเฟด ผู้เล่นในตลาดจะติดตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด เช่น ข้อมูลตลาดบ้าน รวมถึงรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการ เพื่อประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟด ทำให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังคงผันผวนไปตามมุมมองของตลาดต่อโอกาสการเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงของเฟด
ตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ยังคงผันผวนหนัก โดยดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ได้พลิกกลับมาปรับตัวแข็งค่าขึ้นใกล้ระดับ 107.5 จุด ท่ามกลางความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) ในจังหวะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยงจากความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัวลงหนักและเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย นอกจากนี้ ความผันผวนของเงินดอลลาร์ และมุมมองของผู้เล่นบางส่วนที่ยังเชื่อว่าเฟดอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงได้ ยังคงเป็นปัจจัยที่กดดันให้ ราคาทองคำผันผวน ก่อนที่จะย่อตัวลงใกล้ระดับ 1,705 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเรามองว่ามีโอกาสที่ผู้เล่นบางส่วนอาจรอทยอยเข้าซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวอาจเป็นแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าต่อเงินบาทได้
ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน เช่น Netflix โดยหากผลประกอบการของบริษัทส่วนใหญ่ออกมาแย่กว่าคาดและมีการรายงานแผนการชะลอจ้างงานหรือชะลอการลงทุน ก็อาจยิ่งทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงกังวลแนวโน้มการชะลอตัวลงหนักของเศรษฐกิจและกดดันให้ผู้เล่นในตลาดยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงได้
นอกจากนี้ ตลาดจะรอจับตารายงานข้อมูลตลาดบ้านสหรัฐฯ (Housing Start) เพื่อประเมินโอกาสที่เฟดจะเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง เพราะหากข้อมูลยังสะท้อนภาพตลาดบ้านที่แข็งแกร่ง รวมถึงแนวโน้มราคาบ้านและค่าเช่าที่จะยังอยู่ในระดับสูงซึ่งเป็นสัดส่วนกว่า 30% บนตะกร้าเงินเฟ้อ CPI ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดเชื่อว่าเฟดอาจต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงได้
ที่มา พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย
กฟผ.โอด แบกค่าเชื้อเพลิงเกือบแสนล้านบาท
พาณิชย์ ยืนยัน “มาม่า” ไม่ขึ้นราคา