ของจริงมาแล้ว "ดอกเบี้ยขาขึ้น" คาดกนง.ขยับอีก 0.50% ในปีนี้
หลังจากกนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ยบ 0.25% ไม่ว่าจะมาจากเหตุผลใด แต่เป็น "เสียงเตือนดัง ๆ"ว่า ดอกเบี้ยขาขึ้น "ของจริง" มาแล้ว ตามทิศทางหลายประเทศทั่วโลก
การประชุมคณะกรรมการนโย
จากถ้อยแถลงของกนง. บรรดาสำนักวิจัย 3 แห่งประเมินว่ากนง.จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25-0.50% ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ซึ่งดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.25% ในสิ้นปีนี้ และมีโอกาสขยับขึ้นอีกในปีหน้า
กนง.ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด ประเมินเศรษฐกิจเท่าก่อนโควิดสิ้นปีนี้
จัดการหนี้บ้านอย่างไร ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นกับ 3 วิธี
"กลุ่มลูกหนี้ใหม่กระทบ"กนง.ประกาศ ขึ้นดอกเบี้ย 0.25%
กนง.ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะกลับเข้
แต่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเติ
กนง. มีกำหนดการประชุมรอบถัดไปในวั
กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มองว่า ถ้อยแถลงของ กนง. นั้นสอดคล้องกับการสื่อสารที่ผ่
Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย (KTB) มองไปในทิศทางเดียวกันว่าเป็นไปได้ที่ กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 25-50% ในช่วงที่เหลือของปี ประเมินจากการส่งสัญญาณของ กนง. ที่คณะกรรมการเสียงข้างมากถึง 6 ต่อ 1 ท่านที่ลงมติให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 สู่ระดับร้อยละ 0.75 ต่อปี และมีกรรมการเสียงข้างน้อย 1 ท่านเห็นควรให้ปรับขึ้นถึงร้อยละ 0.50 ต่อปี โดยไม่มีกรรมการท่านใดเห็นควรให้คงดอกเบี้ย สะท้อนท่าทีเข้มงวดมากขึ้น
นอกจากนี้ กนง. ยังระบุว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในช่วงที่ผ่านมาจึงมีความจำเป็นลดลง รวมทั้งมีมุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง คาดว่า GDP จะกลับเข้าสู่ระดับเดิมก่อนการแพร่ระบาดภายในสิ้นปีนี้ โดยมีแรงส่งชัดเจนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาด สอดคล้องกับมุมมองของ Krungthai COMPASS ที่คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องหลังยกเลิกมาตรการ Thailand Pass คาดว่ามีโอกาสแตะระดับ 7-8 ล้านคนในปี 2022
ด้านอัตราเงินเฟ้อ กนง. คาดว่าจะอยู่ในระดับสูงอีกระยะหนึ่ง ก่อนทยอยปรับลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมายในปี 2023 แต่แสดงความกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปยังมีความเสี่ยงด้านสูงจากการส่งผ่านต้นทุนไปยังเงินเฟ้อพื้นฐานที่อาจมากและเร็วกว่าคาด บ่งชี้ถึงความจำเป็นในการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดแรงกดดันเงินเฟ้อที่เริ่มกระจายเป็นวงกว้าง
Krungthai COMPASS คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปีจะอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 7 เดือนแรกของปีซึ่งอยู่ที่ 5.9% โดยอัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2022 อยู่ที่ 6.1% ซึ่งหากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 25-50% ในช่วงที่เหลือของปี รวมเป็น 50-75% ในครึ่งปีหลัง
EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดว่ากนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง แต่การปรับขึ้นจะยังเป็นอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ ณ สิ้นปี 2022 จะอยู่ที่ระดับ 1.25% โดย กนง. มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งละ 0.25% ในทุกการประชุมที่เหลือของปีนี้ในเดือนกันยายน และพฤศจิกายน 2022 เนื่องจาก
อัตราเงินเฟ้อไทยมีแนวโน้มผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว แต่ในระยะต่อไปเงินเฟ้อจะไม่ปรับลดลงเร็วนัก โดยตัวเลข เงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคม 2022 อยู่ที่ 7.61% ปรับลดลงจากเดือนก่อนที่ 7.66% และต่ากว่าคาดการณ์ ของตลาดที่ 8%
อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อไปคาดว่าเงินเฟ้อจะไม่ปรับลดลงเร็วนัก เพราะถึงแม้ราคาน้ำมันโลกจะเริ่มลดลงแล้ว แต่ราคาน้ำมันในประเทศอาจไม่ลดลงเร็วนักโดยเฉพาะราคาขายปลีกดีเซล เนื่องจากกองทุนน้ำมัน ยังขาดดุลอยู่มาก ทำให้อาจต้องมีการจัดเก็บส่วนแบ่งเพื่อชดเชยการขาดทุน อีกทั้ง ค่าไฟฟ้าในช่วง 4 เดือนหลังของปีจะปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในประเทศ และแรงกดดันจากฝั่งอุปสงค์ (Demand-pull inflation) ที่จะมีมากขึ้นในช่วงปลายปี จึงทำให้แนวโน้มเงินเฟ้อไทยแม้จะชะลอลง แต่ยังอยู่ในระดับสูง
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีกว่าคาดเล็กน้อย โดยล่าสุด EIC ได้ปรับประมาณการจานวนนักท่องเที่ยว ต่างชาติที่จะเข้ามาไทยในปีนี้ขึ้น จาก 7.4 ล้านคน เป็น 10 ล้านคน ขณะที่การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นตามการเปิดเมืองและการเปิดประเทศ รวมถึงภาคการเกษตรยังได้รับอานิสงส์จากทั้งปัจจัยทางด้าน ปริมาณจากน้ำฝนและน้ำในเขื่อนที่ดี และด้านราคาจากความต้องการในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง (ยกเว้นข้าว) อีกทั้ง ยังมีแรงส่งจากอุปสงค์คงค้าง (pent-up demand) ทำให้การบริโภคภาคเอกชนจะดีขึ้น
นอกจากนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (purchasing managers index : PMI) เดือนล่าสุดก็สะท้อนถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดย PMI manufacturing เดือนกรกฎาคมปรับสูงขึ้นมาสู่ระดับ 52.4 ซึ่งเป็นระดับที่สูงเกือบที่สุดนับตั้งแต่มีการสำรวจ
ธปท. จะใช้มาตรการทางการเงินอื่น ๆ ในการเข้ามาดูแลครัวเรือนและธุรกิจกลุ่มเปราะบางที่อาจได้รับ ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น โดยต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นจะทำให้ครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยมีความเสี่ยงผิดนัดชาระหนี้สูงขึ้น ขณะที่กลุ่มรายได้ปานกลางอาจฟื้นตัวไม่ทันเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจหลายภาค ส่วนที่การฟื้นตัวยังคงเปราะบาง เช่น การบิน รถยนต์ และอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์
EIC มองว่า ธปท. จะเลือกใช้มาตรการทางการเงินอื่น ๆ เพื่อเข้ามาดูแลกลุ่มเปราะบางเหล่านี้ เช่น การคงการลดอัตราการผ่อน ชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำที่ 5% การคงการขยายระยะเวลาชาระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล ไปจนถึงปี 2023 และการปรับปรุงโปรแกรมการจ่ายหนี้ของคลินิกแก้หนี้เพื่อเพิ่มทางเลือกการผ่อนชำระมากขึ้น
อย่างไรก็ดี EIC ประเมินว่า แม้การปรับขึ้นดอกเบี้ยจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราการปรับขึ้นจะเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไปครั้งละ 0.25% เนื่องจากแรงกดดันด้านอุปสงค์ของไทยยังไม่แข็งแกร่งเท่าในประเทศอื่นที่เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลให้ประเทศเหล่านั้นสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้เร็วกว่าไทย สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานท่ียังไม่เร่งสูงมากเหมือนประเทศอื่นในภูมิภาค และการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยังต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต (รูปที่ 1)
นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกก็มีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้น (Headwind) จากโอกาสในการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ที่มากขึ้นในเศรษฐกิจหลัก เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และอังกฤษ ซึ่งจะกดดันอุปสงค์โลก และอาจมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย
นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์โลก (Geopolitics) ที่สูงขึ้นทำให้การดำเนินนโยบายการเงินจำเป็นต้องคำนึงถึงความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น และจำเป็นต้องดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป