"ค่าเงินบาทนิ่ง" ต่างชาติเข้าซื้อหุ้นไทยช่วยหนุนไม่ให้อ่อนค่ามาก
ค่าเงินบาทเช้านี้ เปิดที่ระดับ 35.82 บาทต่อดอลลาร์ ผู้เล่นในตลาดต่างรอรับรู้ถ้อยแถลงของประธานเฟด-ฟันด์โฟลว์ต่างชาติซื้อหุ้นไทยช่วยหนุนไม่ให้อ่อนค่า
แนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ (26 ส.ค.65)
ก.ล.ต.ไฟเขียว “ไทยพาณิชย์” ตั้งศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
ตลาดหุ้นเอเชียปรับขึ้น ดอลลาร์อ่อนเล็กน้อย นักลงทุนเฝ้าจับตาประชุมเฟด
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย มองว่า เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบกว้าง โดยเฉพาะในช่วงที่ผู้เล่นในตลาดต่างรอรับรู้ถ้อยแถลงของประธานเฟดจากงานประชุม Jackson Hole
ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่ยังเดินหน้าซื้อสุทธิหุ้นไทย ก็มีส่วนช่วยหนุนให้ เงินบาทไม่ได้อ่อนค่าไปมาก (ในช่วง 4 วันที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นไทยสุทธิไปแล้วกว่า 1 หมื่นล้านบาท)
อนึ่งในช่วงที่ตลาดการเงินผันผวนสูงและมีหลายปัจจัยที่ไม่แน่นอน โดยเฉพาะแนวโน้มนโยบายการเงินเฟด เราคงแนะนำให้ผู้ประกอบการควรใช้กลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ Options ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงได้ดีในช่วงที่ตลาดผันผวนหนัก
มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.70-36.00 บาท/ดอลลาร์
ไฮไลท์สำคัญที่ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามอย่างใกล้ชิด
ถ้อยแถลงของประธานเฟดในงานประชุม Jackson Hole ซึ่งอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ ตลาดการเงินผันผวนได้ โดยเงินดอลลาร์อาจอ่อนค่าลงได้บ้าง หากถ้อยแถลงของประธานเฟด ไม่ได้ส่งสัญญาณว่าเฟดจะเดินหน้าเร่งขึ้นดอกเบี้ย อย่างที่ตลาดกังวล และแสดงความกังวลแนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจมากขึ้น
มองว่า ประธานเฟดอาจส่งสัญญาณเน้นย้ำว่า เฟดยังมีความจำเป็นที่จะต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย เพื่อควบคุมปัญหาเงินเฟ้อ แต่ประธานเฟดอาจไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะขึ้น 0.50% หรือ 0.75% และอาจเพียงระบุว่า เฟดจะติดตามข้อมูลเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด หรือ Data Dependent ก่อนที่จะตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งไม่ได้ต่างจากสิ่งที่ตลาดกำลังคาดการณ์อยู่ว่าเฟดมีโอกาสราว 60% ที่จะขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมเดือนกันยายน ทำให้ตลาดอาจไม่ได้เดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงอย่างชัดเจน ส่วนเงินดอลลาร์ก็อาจแกว่งตัว sideways รอรับปัจจัยใหม่ๆ
ตลาดการเงินต่างประเทศ
รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี อย่าง ตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 ของ GDP ไตรมาสที่สองที่หดตัวราว -0.6% จากไตรมาสก่อนหน้า เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งหดตัวน้อยกว่าตัวเลขประมาณการในครั้งก่อน -0.9% และดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ -0.8% กอปรกับบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ที่ย่อตัวลดลงสู่ระดับ 3.03% ทำให้ผู้เล่นส่วนใหญ่กลับมาทยอยเปิดรับความเสี่ยงและกล้าที่จะเข้าไปซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี รวมถึงหุ้นสไตล์ Growth (Nvidia +4.0%, Amazon +2.6%) หนุนให้ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปรับตัวขึ้นราว +1.67% ส่วนดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯ ปิดตลาด +1.41%
ฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX600 เดินหน้าปรับตัวขึ้น +0.30% หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจากฝั่งเยอรมนี อาทิ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Ifo Business Climate) และ GDP ไตรมาสที่สองของเยอรมนี ออกมาดีกว่าคาด อย่างไรก็ดี การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นยุโรปยังคงถูกกดดันจากความกังวลปัญหาวิกฤติพลังงานที่อาจทำให้เศรษฐกิจยุโรปชะลอตัวลงหนักและเสี่ยงเข้าสู่สภาวะถดถอย
ตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวนในกรอบ Sideways โดยดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 108.5 จุด เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างรอติดตามถ้อยแถลงของประธานเฟดในงานประชุม Jackson Hole ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนสถานะถือครองที่ชัดเจน อย่างไรก็ดี แม้ว่า เงินดอลลาร์จะทรงตัว ส่วนบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ก็ปรับตัวลดลงบ้าง แต่ความไม่แน่ของการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ทำให้ผู้เล่นในตลาดขายทำกำไรการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ ทำให้ราคาทองคำไม่สามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่องและแกว่งตัวใกล้ระดับ 1,770 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ราคาทองวันนี้ลดลงอีก 50 บาท ตลาดรอดูทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐ
เตือนคนชอบเที่ยว อย่าลืมจอง "เราเที่ยวด้วยกัน" เฟส 4 เหลือ 1.85 แสนสิทธิเท่านั้น