เงินเฟ้อไทย มี.ค. เพิ่ม 2.83% ชะลอลงต่ำสุดรอบ 15 เดือน เข้ากรอบเป้าหมาย ธปท.
กระทรวงพาณิชย์ เผยเงินเฟ้อไทย เดือน มี.ค. สูงขึ้น 2.83% โดยชะตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ต่ำสุดในรอบ 15 เดือน เข้าสู่กรอบเป้าหมายของ ธปท. ที่กำหนดไว้ 1-3% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้น1.75% ชะลอตัวลงจากเดือน ก.พ. เช่นกัน
นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรือเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 66 อยู่ที่ 107.76 สูงขึ้นร้อยละ 2.83 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) แต่ชะลอตัวลงจากเดือน ก.พ.ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.79 (MoM) ถือเป็นการชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 15 เดือน และอยู่ในกรอบเป้าหมายของกระทรวงการคลัง และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กำหนดอัตราเงินเฟ้อไว้ 1-3%
โดยสาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวของราคาน้ำมัน และสินค้ากลุ่มอาหารเกือบทุกประเภท ทั้งไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้เครื่องประกอบอาหาร อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน
ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ที่ไม่รวมอาหารสดและพลังงานอยู่ที่ 104.22 เพิ่มขึ้น 1.75% (YoY) และชะลอตัวลงจากเดือนก่อน 0.05% (MoM)
ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2566 อยู่ระหว่าง 1.7-2.7 ค่ากลาง 2.2 ซึ่งปรับลดลงครั้งก่อน โดยอิงสมมติฐานจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) คาดลดลงอยู่ที่ 2.7-3.7% ราคาน้ำมันดอบดูไบทั้งปีอยู่ที่ 75-85 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น 32.5-34.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
โยน ธปท.พิจารณา ปมเก็บค่าธรรมเนียมถอนเงินไร้บัตร ล่าสุดเลื่อนไร้กำหนด
ดอกเบี้ยสูง-น้ำมันพุ่ง เสี่ยงเกิด “Stagflation” วิกฤตที่นักลงทุนต้องระวัง
สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาส 2 ปี 2566 คาดว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง สาเหตุหลักมาจาก
1. ราคาน้ำมัน ถึงแม้จะมีสัญญาณการปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่เชื่อราคาจะเริ่มนิ่ง และอาจจะมีปัจจัยอื่นที่ทำให้ราคาน้ำมันไม่สูงไปกว่านี้ ซึ่งมองว่าสถานการณ์น้ำมันปีนี้ 66 น่าจะดีกว่าปี 65
2. การส่งออก ที่มีการชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ที่เข้าประเทศ และทำให้การบริโภคสินค้าจะชะลอลง
3. มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของรัฐ ที่ยังดำเนินกสนอยู่ จะช่วยชะลอการสูงขึ้นของสินค้าและบริการบางชนิด
4. การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้การจับจ่ายปรับลดลง
5. ฐานอัตราเงินเฟ้อของไทยในช่วงเดียวกันของปี 65 อยู่ในระดับสูง ซึ่งมีผลต่อการสูงขึ้นของเงินเฟ้อปีนี้
ขณะที่ปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น คือ ค่าไฟฟ้า และราคาก๊าซหุ้งต้มที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เทศกาลท่องเที่ยว และการหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งจะสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ