“ดอกเบี้ยสูง” ยังอยู่อีกนาน กนง. มั่นใจเงินดิจิทัล 10,000 บาทช่วยเศรษฐกิจโต
กนง.มั่นใจขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 2.50% ต่อปี เหมาะสมกับเศรษฐกิจในระยะยาว มองเงินดิจิทัล 10,000 บาท ช่วยหนุนจีดีพีปี 67 โต 4.4% พร้อมจับตาใกล้ชิดหากรัฐบาลออกบอนด์เพิ่มขึ้น
กนง.มติเอกฉันท์ ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% มีผลทันที
ศูนย์วิจัยกสิกรหั่นประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 66 อยู่ที่ 3.0% จาก 3.7%
ภายหลังที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโนบาย 0.25% สู่ระดับ 2.50% ต่อปี และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเพิ่มขึ้นที่ระดับ 4.4% ภายในปี 2567 (จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 3.8%)
นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการ กนง. เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ ได้คำนึงถึงมาตรการตุ้นภาคการคลังของรัฐบาลแล้ว โดยเฉพาะเงินดิจิทัล 10,000 บาท และแม้ไม่มีมาตรการดังกล่าว เศรษฐกิจก็จะมีแนวโน้มฟื้นตัวมากกว่าปี 66 ดังนั้นสิ่งที่คณะกรรมการพิจารณาจะอิงแนวโน้มเศรษฐกิจมากกว่าไม่ใช่แค่มาตรการรัฐ
กนง.มั่นใจขึ้นดอกเบี้ยปัจุบันเหมาะสมเศรษฐกิจระยะยาว
ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ยังมองว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน 2.50% อยู่ในระดับเหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาวแล้ว (Neutral rate)
“ถ้าในระยะสั้น ๆ ภาคเศรษฐกิจไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนเปลงอย่างมีนัยยะ ก็คาดว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันก็น่าจะเหมาะสมอยู่” นายปิติ กล่าว
โดยปัจจัยที่คณะกรรมการฯ นำมาพิจารณา คือ เศรษฐกิจไทยเติบโตเข้าสู่ระดับศักยภาพ เงินเฟ้อลดลงในกรอบเป้าหมาย และประสิทธิภาพของระบบการเงินโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งหากปัจจัยดังกล่าวนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะ อัตราดอกเบี้ยระดับนี้ก็ยังมีความเหมาะสมต่อไป
“สิ่งที่คณะกรรมการชั่งน้ำหนัก คือ ปีหน้าเป็นยังไง ภายใต้แนวโน้มปีหน้าที่มีการฟื้นตัวต่อเนื่อง เงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น การปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มอีก 0.25% เป็นอะไรที่เหมาะสม และเศรษฐกิจรองรับได้” นายปิติ กล่าว
เงินบาทอ่อนค่า ไม่ใช่ปัจจัยหลักขึ้นดอกเบี้ย มองหนุนธุรกิจส่งออก
ส่วนกรณีค่าเงินบาทที่การอ่อนค่า ณ ตอนนี้ ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้คณะกรรมการฯตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้ และไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม โดยตั้งแต่ต้นปี 66 ค่าเงินบาทอ่อนลง 3-4% ถือว่าไม่ได้เยอะมากจนเกินจากปัจจัยพื้นฐาน อีกทั้งท่ามกลางเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว ค่าเงินบาทอ่อนจะช่วยสนับสนุนธุรกิจส่องออกให้สภาพคล่องที่ดีขึ้น
มั่นใจเงินดิจิทัล 10,000 บาทช่วยเศรษฐกิจโต
สำหรับมาตรการเงินดิจิทัล 10,000 บาท วงเงิน 5.6 แสนล้านบาทนั้น มองงว่า ตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจน ทั้งระยะเวลาดำเนินมาตรการว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และขนาดเท่าไหร่ จากนั้นเมื่อกระจายเข้าสู่เศรษฐกิจจะส่งผลขนาดไหน ซึ่งคณะกรรมการฯ จะต้องดูหลาย ๆ สถานการณ์เพื่อประเมิน เนื่องจากมีความไม่นอน แต่ภาพรวมมีนัยยะต่อเศรษฐกิจพอสมควร
“มาตรการนี้คาดว่ามาแน่ ไม่ว่าจะมารูปแบบไหนก็ตาม ค่อนข้างจะมั่นใจ จะทำให้ GDP โตอย่างน้อย 4%” นายปิติ กล่าว
กนง.ติดตามใกล้ชิด รัฐบาลออกบอนด์ทุ่มเงินดิจิทัล 10,000 บาท
ขณะที่ความกังวลเรื่องเงินดิจิทัลจะกระทบเสถียรภาพการคลัง และเสี่ยงถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ นั้น นายปิติ ระบุว่า ฐานะการคลังของไทยยังคงมีความเสถียรภาพค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ และปริมาณหนี้ไม่ได้สูงมาก อีกทั้งหากเศรษฐกิจเติบโตตามศักยภาพ รัฐบาลก็น่าจะมีศักภาพในการก่อหนี้และชำระหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งมองว่าความกังวลดังกล่างอาจเป็นความไม่ชัดเจนว่ารัฐบาลจะออกพันธบัตรกู้เงินจำนวนมากหรือน้อย โดยคณะกรรมฯ ยังคงพิจารณาอยู่และติดตามอย่างใกล้ชิด
แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย แต่ดอกเบี้ย ธพ.ไม่ขึ้น?
นอกจากนี้ การปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารพาณิพย์ไม่ได้มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยตามนั้น นายปิติ มองว่า การส่งผ่านดอกเบี้ย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และเวลาของแต่ละธนาคารพาณิชย์ว่ามีมุมมองอย่างไร แต่ยังคงมีความพยามยามที่จะดูแลดอกเบี้ยไม่ให้เป็นภาระที่สูงเกินไปสำหรับกลุ่มลูกหนี้ที่มีศักยภาพน้อย อย่างไรก็ตามหากเศรษฐกิจเติบโตตามคาดการณ์ ธนาคารพาณิชย์ก็จะปรับขึ้นดอกเบี้ย และมีสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นในระยะต่อไป
โปรแกรมการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ 2022 ของนักกีฬาไทย วันที่ 27 ก.ย. 66
ประกาศฉบับ 9 เตือน ฝนตกหนักถึงหนักมาก ลมกระโชก 27-29 ก.ย.
เปิดปฏิทินวันหยุดตุลาคม 2566 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ