ขึ้นดอกเบี้ยสูงสุดในรอบ 10 ปี ลุ้นแบงก์พาณิชย์ขึ้นตาม -เอกชนหั่นจีดีพี
เสียงจากเอกชน ขึ้นดอกเบี้ยสูงสุดในรอบ 10 ปี ลุ้นแบงก์พาณิชย์ขึ้นตามหรือไม่ ด้านหอการค้า หั่นจีดีพี หวังนโยบายรัฐช่วยฟื้นเศรษฐกิจ
นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ต่อปี จาก 2.25 %เป็น 2.50% ต่อปี มีผลเมื่อวานนี้ทันที ซึ่ง กนง.ประเมินว่า
เสียงสะท้อน "พักหนี้" เกษตรกรขอขยายเพดานร่วมมาตรการ
2 ต.ค.66 ดีเดย์ลดราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค เบื้องต้น 20 รายการ
เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวเข้าสู่ระดับศักยภาพ เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย แต่เพื่อเสริมเสถียรภาพเศรษฐกิจในระยะยาว รักษาขีดความสามารถนโยบายการเงินรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า จึงมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจแล้ว
นอกจากนี้ ยังประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะโตเพียง 2.8% จากเดิม 3.6% เป็นผลจากภาคการส่งออกที่ยังชะลอตัวและการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวที่ช้ากว่าคาด
ขณะที่เศรษฐกิจในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัว 4.4 % จากเศรษฐกิจที่อาจฟื้นตัว และ มีแรงส่งจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ขณะเดียวกันยังจับตาเงินเฟ้อในปีหน้า ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากนโยบายภาครัฐ และต้นทุนอาหารที่ปรับสูงขึ้น จากเอลนีโญที่อาจรุนแรงกว่าคาด
สำหรับ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้เป็นการขึ้นติดกัน 8 ครั้ง นับตั้งแต่ 10 ส.ค. 2565 ดอกเบี้ยนโยบายสูงสุดในรอบ 10 ปี นับตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2556
ภาคเอกชนก็มีความกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้่น
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มติ กนง.เมื่อวานนี้ผิดคาดจากนักวิชาการหลายคนที่คาดว่า จะไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก เมื่อ กนง.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลต่อประชาชนด้วย จากการที่ดอกเบี้ยขึ้น ส่งผลให้มีหนี้เพิ่มขึ้น ทำให้กำลังซื้อลดลง
ขณะที่ต้นทุนการผลิตสินค้าก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน แม้ว่ารัฐบาลจะประกาศลดค่าพลังงาน ค่าไฟฟ้า ก็ตาม เพราะการผลิตสินค้าต้องใช้เงินกู้เกือบทั้งสิ้น ดังนั้นหากมีการขึ้นดอกเบี้ยเรื่อยๆ ก็จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง
หอการค้าหั่น GDP หวังนโยบายรัฐช่วยฟื้นเศรษฐกิจ
ด้านศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้โตได้ 3% จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 3.6% เนื่องจาก GDP ไตรมาส 2 โตต่ำกว่าคาดการส่งออกต่ำกว่าคาด ปัญหาภัยแล้ง และความล่าช้าในการจัดทำงบประมาณปี 2567
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจปีนี้ยังมีปัจจัยบวกจากนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลนายเศรษฐา
โดยนายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ประมาณการว่า 3 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล จะทำให้ทั่วประเทศประหยัดเงินไปได้เกือบ 50,000 ล้านบาท
โดย นโยบายลดค่าไฟฟ้าจาก 4.45 บาท/หน่วย เป็น 3.99 บาท/หน่วย ไปจนถึงสิ้นปี ช่วยให้ครัวเรือนประหยัดไปได้ 30,616 ล้านบาท
นโยบายลดราคาน้ำมันดีเซล ช่วยประหยัดได้ 14,283 ล้านบาท และนโยบายพักชำระหนี้เกษตรกรเกือบ 3 ล้านรายเป็นเวลา ทำให้เกษตรกรมีเงินเหลือ 4,935 ล้านบาท
นายธนวรรธน์ ยังบอกว่า จากผลสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น หลังจากที่ได้รัฐบาลใหม่แล้ว แต่ก็ยังมีความกังวลถึงเสถียรภาพทางการเมือง รวมถึงยังมีคำถามว่านโยบายต่างๆ จะช่วยแก้ปัญหาค่าครองชีพได้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะบางนโยบายที่ใช้งบประมาณจำนวนมากสร้างความกังวลว่าจะส่งผลกระทบอย่างไร ซึ่งต้องรอผลงานของรัฐบาลเป็นตัวพิสูจน์