เปิดความเหมือน หรือ ต่าง? แก้หนี้เสียปัจจุบันกับวิกฤตต้มยำกุ้ง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดความเหมือน หรือ ต่าง? สถานการณ์ปัญหาหนี้เสียปัจจุบันกับวิกฤตต้มยำกุ้ง กับแนวคิดตั้ง AMC ซื้อหนี้ประชาชน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดความเหมือน หรือ ต่าง สถานการณ์หนี้่เสียในปัจจุบันกับวิกฤตต้มยำกุ้ง ผ่านแนวคิดของภาครัฐในการตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) เพื่อซื้อหนี้เสียออกจากระบบ โดยเฉพาะหนี้อุปโภคบริโภคของลูกหนี้รายย่อย สะท้อนการตระหนักของภาครัฐเกี่ยวกับความซับซ้อนของปัญหาหนี้เสียที่ค้างอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลังจากผ่านวิกฤตมาหลายรอบ
โดยขนาดหนี้เสียในระบบธนาคารพาณิชย์ (NPL Ratio) วิกฤตต้มยำกุ้งแตะจุดสูงสุด 47% ในปี 2542 และปัจจุบัน อยู่ที่ 2.70%

เป็นสินเชื่อธุรกิจ 2.47% และสินเชื่อรายย่อย 3.26% ขณะที่ จุดเริ่มต้นการจัดตั้ง AMC ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง แยกหนี้เสียออกมาที่ AMC เพื่อให้สถาบันการเงินดำเนินกิจการต่อลดความเสี่ยงต่อระบบการเงิน แต่ในปัจจุบัน AMC ซื้อหนี้มาบริหาร ลดภาระผ่อนชำระเพื่อให้ปลดหนี้ง่ายขึ้น
ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมาย ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ส่วนใหญ่เป็นหนี้ธุรกิจ มีเจ้าหนี้หลายราย แต่ปัจจุบันเป็นหนี้บุคคลและหนี้ครัวเรือน ที่ไม่มีหลักประกัน และมียอดหนี้ไม่สูงโดยเฉลี่ยไม่ถึง 100,000 บาท มีจำนวนมากถึง 3.5 ล้านคน ราว 4.7 ล้านบัญชี ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสัมภาษณ์
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ซึ่งแม้จุดเริ่มต้นของแนวคิดการจัดตั้ง AMC ในครั้งนี้ มีความเหมือนกับในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ตรงที่การมุ่งแยกหนี้เสียออกจากระบบ แต่ปัญหาในรอบนี้แตกต่างออกไป คือ หนี้เอ็นพีแอลทั้งธุรกิจและรายย่อยจำนวนไม่น้อยผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และมาตรการช่วยเหลือจากทั้งธนาคารพาณิชย์และทางการ ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจและรายได้ของลูกหนี้ยังมีความไม่แน่นอนสูง
นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ได้แก่
- ต้นทุนการบริหารจัดการหนี้เนื่องจากเป้าหมายการแก้หนี้ที่เน้นหนี้รายย่อย
- ปัญหา Moral Hazard ของลูกหนี้ อาจกระตุ้นให้ลูกหนี้เลือกปฏิเสธการจ่ายหนี้เพื่อรอรับเงื่อนไขการชำระหนี้ผ่อนปรนมากกว่าเดิม
- การแก้ไขปัญหาจากฝั่งรายได้เพื่อให้การแก้หนี้มีความยั่งยืน
นอกจากนี้ ยังมีส่วนที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ทั้งรูปแบบการจัดตั้ง แหล่งเงิน ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมาย ราคาซื้อหนี้ และ Model ธุรกิจ
สุดท้ายนี้ การจัดตั้ง AMC จะมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียของระบบการเงินไทยในรอบนี้เพียงใด คงขึ้นกับการออกแบบ Business Model และรายละเอียดต่างๆ ที่จะตามมา ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อหลังจากนี้