ผู้บริหาร "มาม่า" เปิดใจ ไม่จำเป็นจะไม่ขึ้นราคา แม้กำไรน้อยและไม่ใช่สินค้าควบคุม
ถอดสูตร Interview ผ่าอาณาจักร "มาม่า" คุณพันธ์ พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการสำนักกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)
รู้สึกอย่างไรเมื่อ มาม่า เป็นอาหารคนไทยฝากท้องมากกว่า 50 ปี?
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 5 ยี่ห้อ ขอพาณิชย์ปรับขึ้นราคาซองละ 2 บาท
ถอดสูตรความสำเร็จ เส้นทางตู้บุญเติม-เต่าบิน จนถึง สถานีชาร์จกิ้งก่า
คุณพันธ์ ยอมรับว่า ไม่อยากเอาเปรียบผู้บริโภค เพราะลูกค้าส่วนใหญ่มาม่าอาจเป็นทางเลือกหนึ่งของเขา ที่เขายังอิ่มได้ในงบประมาณที่ยังเหลือเงินไปทำอย่างอื่น เพราะฉะนั้นรับรองเรื่องราคา เราคิดเสมอว่าทำอย่างไรไม่ให้ลูกค้าถูกเอาเปรียบ
การปรับขึ้นราคาของมาม่า เกิดขึ้นตามที่ คุณพันธ์ บอกคือ 2540 ซองละ 5 บาท จากซองละ 2 บาท ปี 2550 ซองละ 6 บาท และปี 2565 ซองละ 8 บาท
จาก ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะแป้งสาลี และน้ำมันปาล์ม ที่ปรับราคาเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัว รวมทั้ง วัตถุดิบการเกษตร อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในความเป็น เรื่องราคาต่อให้ไม่เป็นสินค้าควบคุมก็ไม่เคยคิดจะขึ้น ถ้าไม่มีความจำเป็นจริงๆเพราะทางบริษัทพยายามบริหารจัดการ ให้อย่างน้อยไม่ขาดทุน แม้กำไรจะลดลง
ต่อให้ไม่ได้ควบคุม เราก็ไม่รู้สึกว่าอยากขึ้นไปเรื่อยๆ จนภาระตกอยู่กับผู้บริโภค ก็รู้ว่ากลุ่มผู้บริโภคหลัก ถ้าไม่จำเป็นรับรองเรื่องราคาทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ
นอกจากนั้นแล้ว คุณพันธ์ ยังพูดถึงขยายธุรกิจต่อยอดบะหนี่กึ่งสำเร็จรูป รูปแบบซอง เป็น ธุรกิจร้านอาหาร ภายใต้ชื่อ MAMA STATION โดยสาขาแรกพาทเนอร์กับแบรนด์ร้านอาหาร ทำมาม่าที่มากกว่ามาม่าทั่วไป ใส่เครื่องต่างๆ ต่อมาสาขาสอง เริ่มทำโปรโมท ทำการตลาดผ่านโซเชียล จนเกิดเป็นกระแสไวรัลโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ยอดขายเยอะกว่าร้านแรก 5-6 เท่า และเริ่มมีคนสนใจธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งตอนนี้ คุณพันธ์ บอกว่า รออีกไม่นาน เพราะต้องให้มั่นใจก่อนว่า "คนซื้อแฟรนไชส์เราไปแล้วต้องไม่เจ๊ง"
ด้วยความที่เราอยู่คู่กับคนไทย 50 ปี นอกจากผู้บริโภค หรือคู่ค้าของเราแล้ว คนที่ซื้อมาม่าไปขาย ทั้งร้านเล็ก ร้านใหญ่ ไม่เคยมีใครขาดทุน เพราะฉะนั้นผู้ค้าก็รักเราเพราะเราเป็นสินค้าที่ทำให้เขาไปสร้างกำไรได้ วันนี้ถ้าเราต้องมีคู่ค้า MAMA STATION เป็นร้านอาหาร เขาก็ต้องไม่เจ๊ง เหมือนกัน ไม่งั้นที่เราทำมา 50 ปี เสียเลย
เพราะฉะนั้น เราต้องชัวร์ก่อน ส่วนคนที่อยากลงทุน แนะนำให้ไปชิมก่อน ไปสัมผัสก่อน ไปชอบจริงๆ ก่อน ว่ามันอร่อย เกิดจากความชอบและความรักก่อน พอถึงจุดที่ขยายก็ต้องเลือกคนที่มีความพร้อม ความตั้งใจที่พร้อมไปกับเรา
ภารกิจที่ภาคภูมิใจกับการสานต่อธุรกิจครอบครัว
คุณพันธ์ เล่าให้ฟังด้วยว่า ช่วงมัธยมฯ มหาวิทยาลัย ไม่มีความคิดอยากมาช่วยธุรกิจครอบครัว แต่พอต้องมาทำจริงๆ กลับมันไม่เหมือนกับที่เราคิด การมีส่วนร่วมในสิ่งที่เขาทำไว้แล้ว หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ทำให้รู้สึกว่าวิธีคิดเราเปลี่ยน การมาแบ่งเบางานของคนที่เขาทำไว้แล้วมันก็เป็นอีกหน้าที่หนึ่ง แต่มันก็เป็นสิ่งที่ควรจะทำ ก็อีกภารกิจที่เราสามารถภาคภูมิใจกับมันได้ โดยใช้แนวทางที่เห็นคุณพ่อทำมาตั้งแต่เด็ก การเอาใส่ใจในรายละเอียดของธุรกิจ นึกถึงผลประโยชน์ของพนักงานเป็นหลัก สุดท้ายจะผ่านไปกี่ปี "เขาก็อยู่กับเราด้วยความสบายใจ"