ความปลอดภัยของ "คริปโทเคอร์เรนซี" เมื่อคนเข้าใจว่าเอาไว้ "ฟอกเงิน"
มุมมองอีกด้านของ "คริปโทเคอร์เรนซี" เมื่อคนเข้าใจว่าเอาไว้ "ฟอกเงิน" เพราะตรวจสอบไม่ได้
จากรณี ที่มีการพูดถึงประเด็น “คริปโทเคอร์เรนซีเอาไว้ฟอกเงิน” “เงินดิจิทัลติดตามไม่ได้” ขณะที่รายงานอาชญากรรมคริปโทเคอร์เรนซีล่าสุดจาก Chainalysis (2024) เผยว่า ธุรกรรมคริปโทเคอร์เรนซีที่ผิดกฎหมาย 0.24% ของปริมาณธุรกรรมคริปโทเคอร์เรนซีทั้งหมด โดยมุมมองอีกด้านหนึ่ง จาก ดร. กร พูนศิริวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และผู้อำนวยการโครงการ Binance TH Academy บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด ระบุว่า
“ทนายตั้ม” แจงเงิน 10 ล้านเป็นค่าทนาย-ช่วยคดีจนจบ แต่ยังไม่พูดถึงปม บิ๊ก ตร.
วิเคราะห์บอล !! คาราบาว คัพ ไบรท์ตัน พบ ลิเวอร์พูล 30 ต.ค.67
“วันฮาโลวีน” เปิดประวัติทำไมถึงตรงกับวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี
ธุรกรรมคริปโทเคอร์เรนซีไม่เพียงสามารถติดตามได้ แต่ยังมีความโปร่งใสมากกว่าระบบการเงินแบบดั้งเดิมเสียอีก โดยอธิบายเพิ่มเติมคือเรื่องการตรวจสอบในบล็อกเชน หากเปรียบเทียบกับการจ่ายเงินสดซื้อของในตลาด การติดตามเงินนั้นจะทำได้ยาก แต่การใช้คริปโทเคอร์เรนซีเหมือนกับการโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ที่มีการเก็บประวัติทุกรายการ และทุกคนสามารถตรวจสอบได้ เหมือนกับมีสำเนาสมุดบัญชีที่โปร่งใสและแก้ไขไม่ได้ เทคโนโลยีบล็อกเชนจึงเป็นเครื่องมือในการสร้างระบบนิเวศทางการเงินที่ปลอดภัยและโปร่งใสมากขึ้น
ต่อมา เรื่องความปลอดภัยในบริบทประเทศไทยที่เห็นชัดเจน โดยทุกธุรกรรมบนเครือข่ายคริปโทเคอร์เรนซีเหรียญยอดนิยมอย่าง Bitcoin และ Ethereum ถูกบันทึกถาวร สามารถตรวจสอบได้โดยสาธารณะ และไม่สามารถแก้ไขย้อนหลังได้ กลไกนี้สร้างความสามารถในการติดตามบน Chain ที่ไม่มีวันถูกทำลาย ซึ่งเหนือชั้นกว่าระบบการเงินทั่วไป
สำหรับประเทศไทยถือว่าเป็นผู้นำในภูมิภาคเรื่องการกำกับดูแลคริปโทเคอร์เรนซี คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ออกกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน ทำให้ผู้ลงทุนไทยได้รับการคุ้มครองที่ดี เทียบเท่าการลงทุนในตลาดหุ้น จากรายงานการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
ล่าสุดช้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เผยว่าปี 2566 ที่ผ่านมา ตลาดคริปโทเคอร์เรนซี ไทยมีมูลค่าการซื้อขายกว่า 100,000 ล้านบาท โดยทุกธุรกรรมต้องผ่านการตรวจสอบตัวตน (KYC) เหมือนกับการเปิดบัญชีธนาคาร ทำให้ปลอดภัยกว่าการซื้อขายในตลาดต่างประเทศที่ไม่มีใบอนุญาต ทำให้สามารถติดตามธุรกรรมได้ 100%
ขณะที่ แนวทางและข้อกำหนดในการขอใบอนุญาตที่ชัดเจนของ ก.ล.ต. ไทย ส่งผลให้ผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนบนกระดานเทรดในประเทศต้องรักษามาตรฐานความปลอดภัยระดับสูง ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) รายงานว่าปีที่ผ่านมา สามารถติดตามธุรกรรมต้องสงสัยได้ถึง 95% นี่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าระบบคริปโทเคอร์เรนซี ไม่ได้เอื้อต่อการทำผิดกฎหมายอย่างที่หลายคนเข้าใจ
เทคโนโลยีบล็อกเชนกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว รายงานสินทรัพย์ดิจิทัลปี 2567 ของ World Economic Forum คาดว่าภายในปี 2569 ประสิทธิภาพการตรวจจับธุรกรรมผิดปกติจะพัฒนาขึ้นอีก 300% เมื่อเครื่องมือเหล่านี้พัฒนาขึ้น จะได้เห็นการเพิ่มขีดความสามารถในการจดจำรูปแบบ การติดตามแบบเรียลไทม์ และโมเดลการประเมินความเสี่ยงขั้นสูง
และจากการสำรวจล่าสุดของสมาคมฟินเทคประเทศไทย พบว่า 73% ของนักลงทุนคริปโทเคอร์เรนซีชาวไทยระบุว่า ความปลอดภัยและความสามารถในการติดตามตรวจสอบเป็นปัจจัยสำคัญอันดับหนึ่งในการเลือกแพลตฟอร์มการซื้อขาย