เตรียมรับมือ! ประเทศไทยในวังวนสงครามการค้ารอบใหม่จากสหรัฐฯ
ธนาคารกรุงไทย ระบุ ประเทศไทยในวังวนสงครามการค้ารอบใหม่จากสหรัฐฯ โดยสินค้าส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบคือกลุ่มสินค้าที่มีการเกินดุลสูง
นายกฤษฏิ์ ศรีปราชญ์ Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า การกลับมาของ ปธน. ทรัมป์พร้อมชัยชนะที่เด็ดขาดในการเลือกตั้งสหรัฐฯ และการที่พรรค Republican ครองเสียงข้างมากทั้งสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา ส่งสัญญาณถึงการกลับมาของนโยบายการค้า เข้มงวด โดยในรอบนี้มาพร้อมกับเครื่องมือนโยบาย 2 ประการ ผ่าน 3 กลไกสำคัญ ได้แก่ นโยบายอัตราภาษีศุลกากรพื้นฐานทั่วไป (Universal Baseline Tariff) สำหรับสินค้านำเข้าทุกประเภท และนโยบายภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs)
และการดำเนินการผ่าน
1. Section 301 of the Trade Act of 1974 ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ยืดหยุ่นที่สุดในการจัดการกับแนวปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ในกรณีเร่งด่วนที่สุด กระบวนการนี้ใช้เวลา 6-7 เดือน : ระยะสอบสวน 4-5 เดือน ซึ่งรวมถึงการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ การจัดประชุมรับฟัง และการวิเคราะห์; ระยะดำเนินการ 30 วันสำหรับการทบทวนของ ปธน.; และระยะบังคับใช้ 30 วันสำหรับการปรับตัวของศุลกากรและภาค อุตสาหกรรม
2. Section 232 of the Trade Expansion Act ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การนำเข้าที่อาจคุกคามความมั่นคงของชาติ มีขอบเขตที่เฉพาะเจาะจงกว่า กระบวนการนี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6-7 เดือน : 150 วันสำหรับการสอบสวนโดยกระทรวงพาณิชย์; 30-45 วันสำหรับการตัดสินใจของ ปธน.; และ 15 วัน สำหรับการบังคับใช้
3. การเพิกถอนสถานะความสัมพันธ์การค้าปกติถาวร (Permanent Normal Trade Relations: PNTR) ของจีน ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางการค้าอย่างถึงราก การเพิกถอน PNTR จะทำให้การนำเข้าจากจีนต้องเสียภาษีในอัตรา "Column 2" ที่สูงขึ้นมากในทุกประเภทสินค้า โดยกระบวนการนี้ต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา และสามารถดำเนินการได้ภายใน 3-4 เดือน ภายใต้กระบวนการเร่งด่วน: 60 วันสำหรับการดำเนินการทางนิติบัญญัติ; 30 วันสำหรับการทบทวนของฝ่ายบริหาร; และ 30 วันสำหรับการบังคับใช้
ในกรณีที่รุนแรงที่สุดเครื่องมือเหล่านี้อาจถูกใช้พร้อมกัน โดยในทางปฏิบัติอาจใช้เวลานานกว่าระยะเวลาขั้นต่ำ ที่ผ่านมาภาคธุรกิจมักได้รับแจ้ง 30-60 วันก่อนภาษีใหม่จะมีผลบังคับใช้ การดำเนินการทั้งหมดน่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 6-8 เดือน เนื่องจากข้อกำหนดทางการบริหาร กระบวนการทบทวนทางกฎหมาย ระยะเวลาปรับตัวของภาคธุรกิจ และพันธกรณีในการแจ้งกับต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การขึ้นภาษีนำเข้าบางกรณีสามารถกระทำได้ทันที
เตือนอย่าเพิ่งด่วนสรุป! ปม “น้องผิง” เสียชีวิตจากนวด แนะรอผลชันสูตรก่อน
ปธน.เกาหลีใต้ “ยุน ซอกยอล” เป็นผู้ต้องสงสัยฐาน “กบฏ-ใช้อำนาจในทางมิชอบ”
ผลตรวจยาเสพติดปาร์ตี้หนุ่มกล้ามโตทองหล่อ ครอบครองยา 31 คน เสพยา 66 คน
สำหรับประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ อันดับ 12 ของโลก ด้วยมูลค่า 43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่มีการเกินดุลสูง เช่น HDD, Semiconductor และยางล้อ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงและมีการเกินดุลการค้าต่อสหรัฐฯ อย่างมีนัยสำคัญ สินค้าเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกกำหนดมาตรการทางการค้า
รวมถึงกลุ่มที่มีการเติบโตสูง เช่น Solar Panels และ Air Conditioners ซึ่งอาจเผชิญกับการเพิ่มขึ้นของอัตราภาษีจาก 0-4% เป็น 10-35% ภายใต้มาตรการใหม่ แม้จะมีการเกินดุลไม่มากนัก แต่มีอัตราการเติบโตสูงในช่วงปี 2016-2023 การขยายตัวอย่างรวดเร็วนี้อาจดึงดูดความสนใจจากผู้กำหนดนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และนำไปสู่การตรวจสอบอย่างเข้มงวด โดยสินค้ากลุ่ม Solar Panels เป็นกลุ่มที่อยู่ในข่ายได้รับผลกระทบจากความกังวลด้าน trade circumvention อยู่แล้วตั้งแต่รัฐบาลของ ปธน. ไบเดน เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ถูกสงสัยว่าจีนใช้เป็นช่องทางในการหลบเลี่ยงเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม หากมีการใช้ Reciprocal Tariff สถานะ MFN และ General Rate อาจถูกยกเลิกหรือระงับใช้ชั่วคราว และแทนที่ด้วยอัตราภาษี Column 2 ซึ่งเป็นอัตราภาษีที่สูงกว่ามาก โดยความแตกต่างระหว่างอัตราภาษีทั้งสองมีช่องว่างที่กว้างมากในหลายสินค้าสำคัญ เช่น
กลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
- Hard Disk Drive (10.3% ): อัตราภาษีอาจเพิ่มจาก 0% เป็น 35%
- Communication apparatus (10.1%): จาก 0% เป็น 35%
- Semiconductor (7.6%): จาก 0% เป็น 35%
กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม
- Tyres (6%): จาก 4% เป็น 10%
- Solar Panels (3.6%): จาก 0% เป็น 35%
- เครื่องปรับอากาศ (3.1%): จาก 0% เป็น 35%
นอกจากนี้ หากพิจารณาควบคู่ไปกับส่วนต่างอัตราภาษีนำเข้าระหว่างสินค้าไทยและสหรัฐฯ ในพิกัดสินค้าชนิดเดียวกัน พบว่ามีความแตกต่างสูง ซึ่งอาจนำมาสู่การอ้างอิงและใช้ในการเจรจาหากเกิดการใช้ Reciprocal Tariff กับสินค้าจากประเทศไทย
จากความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น ต้องอาศัยการขับเคลื่อนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนอย่าง proactive เพื่อรับมือกับ trade war 2.0 ที่ขยายขอบเขตจาก "Anywhere, but China" สู่ "Anything, but China" ซึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบจะขยายวงมากขึ้น การเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน
โดยภาครัฐควรเร่งเจรจาเพื่อขอยกเว้นหรือผ่อนปรนมาตรการ พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของห่วงโซ่อุปทานระหว่างสองประเทศ ในขณะที่ภาคเอกชนควรเร่งรับมือผ่านการเริ่มจัดทำ Supply chain transparency กระจายความเสี่ยงด้านตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจในสหรัฐฯ ทั้งนี้ทุกภาคส่วนต้อง “Brace for impact” จากการเข้าสู่ "Era of Deal Making" ที่ความสามารถในการเจรจาต่อรองจะเป็นตัวกำหนดชะตากรรมทางการค้าของประเทศ