คำตอบคนไทยรับมือ "ยุคน้ำมันแพง" หลากหลายวิธีน่าสนใจ
ฟังคำตอบผลสำรวจคนไทยช่วงน้ำมันขาขึ้นรับมืออย่างไร? บางคนเตรียมถอยรถยนต์ไฟฟ้าขณะที่บางคนยอมย้ายที่อยู่มาใกล้ที่ทำงานมากขึ้น
การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในช่วงเดือน มิ.ย.65 จำนวน 8,363 คน ทั่วประเทศ เกี่ยวกับการปรับตัวในภาวะน้ำมันแพง พบว่า ส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำมัน ทั้งใช้รถยนต์ส่วตัวน้อยลง เปลี่ยนยานพาหนะ วิธีการเดินทาง และเปลี่ยนชนิดน้ำมัน
ผู้ประกอบการโรงแรมกลัว "เงินเฟ้อ" ฉุดกำลังซื้อ มากกว่าโรคระบาด
น้ำมันโลกดิ่งแรง ต่ำสุดรอบ 7 เดือน ผวาศก.จีนถดถอย – เงินดอลลาร์พุ่งทุบสถิติ
รวมถึงการลดค่าใช้จ่าย พวกสินค้าฟุ่มเฟื่อย กระเป๋า รองเท้า ท่องเที่ยว และบริโภคอาหารนอกบ้านน้อยลง และถ้าราคาน้ำมันยังแพงต่อไปจะหาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้
การปรับเปลี่ยนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนใหญ่เลือกที่จะลดภาระค่าใช้จ่ายลง โดยการลดใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลง (29.23%) เปลี่ยนชนิดพาหนะหรือเปลี่ยนวิธีการเดินทาง (17.15%) และเปลี่ยนชนิดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้เติมรถยนต์ (10.82%)
- คนที่รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลงมากที่สุด หรือไม่ก็เปลี่ยนพาหนะหรือเปลี่ยนวิธีการเดินทาง และใช้บริการขนส่งสาธารณะ
- คนที่รายได้ช่วง 10,001-100,000 บาทต่อเดือน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลงมากที่ ตามด้วยเปลี่ยนชนิดพาหนะหรือเปลี่ยนวิธีการเดินทาง ไปจนถึงเปลี่ยนชนิดของน้ำมันที่เติม
- คนที่รายได้มากกว่า 100,000 บาทต่อเดือน เปลี่ยนพฤติกรรมใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลงมากที่สุด ขณะที่บางคนเปลี่ยนชนิดน้ำมัน และเปลี่ยนเวลาเดินทางเพื่อเลี่ยงรถติด
ส่วนกลุ่มนักศึกษา เกษตรกร ว่างงาน หรือ ฟรีแลนด์ จะใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลงมาก ขณะที่บางคนเปลี่ยนวิธีเดินทาง เปลี่ยนชนิดยานพาหนะ หรือใช้ขนส่งสาธารณะ คล้ายๆ กับกลุ่มข้าราชการ ผู้ประกอบการ พนักงานเอกชน แต่บางคนก็เปลี่ยนชนิดน้ำมัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน กลุ่มนักศึกษา ว่างงาน ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้บริการขนส่งสาธารณะมากกว่ากลุ่มอื่นๆ สาเหตุน่าจะมาจากการใช้บริการขนส่งสาธารณะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากที่สุด และเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ทำได้ ภาครัฐก็ควรให้ความสำคัญอย่างการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ ดูแลค่าขนส่งสาธารณะให้เหมาะสม เพื่อให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
ขณะเดียวกัน ประชาชนยังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน อย่างลดการใช้สินค้าฟุ่มเฟื่อย เช่น กระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้า ลดการท่องเที่ยว และลดการบริโภคอาหารนอกบ้าน
ข้าราชการกระทบน้อยสุด
นอกจากนั้น ยังพบว่าคนที่มีรายได้ช่วง 40,000-50,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นพนักงานของรัฐมีสัดส่วนการออมต่ำ สะท้อนได้ว่ากลุ่มนี้ได้รับผลกระทบทางการเงินน้อยกว่ากลุ่มอื่น มีรายได้มั่นคงกว่า ส่วนคนที่รายได้มากกว่า 100,000 บาทต่อเดือน มีสัดส่วนลดการท่องเที่ยวมากที่สุด
และหากราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูงยืดเยื้อ ในระยะยาว หลายคนมองหาอาชีพเสริม เปลี่ยนไปซื้อรถยนต์ไฟฟ้า และเปลี่ยนที่อยู่มาใกล้ที่ทำงาน
เงินเดือน 40,000 ขึ้นไปสนใจเปลี่ยนใช้รถยนต์ไฟฟ้า
ซึ่งกลุ่มที่มีรายได้มากกว่า 40,000 บาทต่อเดือน และกลุ่มผู้ประกอบการ มีสัดส่วนเปลี่ยนไปซื้อรถยนต์ไฟฟ้าค่อนข้างมาก สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มคนดังกล่าวมีกำลังซื้อ และการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าน่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้
ที่มา : สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์