AOT จัดประชุมสุดยอดผู้นำการบินโลก ขานรับศูนย์กลางการบินภูมิภาค
AOT จัดประชุมสุดยอดผู้นำการบินโลก ดึงผู้บริหาร 18 สนามบิน Sister Airport แลกเปลี่ยนความรู้ พร้อมเสนอแผนพัฒนาอากาศยานไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการบินภูมิภาค
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT จัดประชุมเชิงอภิปราย AOT Sister Airport CEO Forum 2024 ด้วยการนำเสนอความพร้อมของท่าอากาศยานไทยในการก้าวไปสู่การพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการบินและท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยมีพลตำรวจเอก วิสนุ ปราสาททองโอสถ ประธานกรรมการ AOT เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ พร้อมด้วย นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ AOT รวมถึงผู้บริหารระดับสูงของท่าอากาศยานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน (SAA) รวม 18 แห่งกับ AOT และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

พลตำรวจเอก วิสนุ ปราสาททองโอสถ ประธานกรรมการ AOT กล่าวว่า การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี เพื่อเป็นเวทีให้ผู้บริหารระดับสูงของ Sister Airport ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ มุมมองด้านการบริหารจัดการท่าอากาศยานจากท่าอากาศยานระหว่างประเทศชั้นนำ รวมถึงแบ่งปันข้อมูลที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ ในการนำมาบริหารท่าอากาศยานให้เป็นเลิศต่อไป
แฉคลิปเสียงใหม่! หญิงปริศนาคุย “บอสพอล” อ้าง “รัฐมนตรีน้ำ” ให้คุม สคบ.
ศาลปกครองสูงสุดนัดถก เยียวยา “บิ๊กโจ๊ก” กลับตร.
ดูบอลสด อุ่นเครื่อง ฟีฟ่า เดย์ ไทย พบ เลบานอน 14 พ.ย.67
ซึ่งการจัดงานประชุมฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก “ก้าวสู่บทใหม่ของอุตสาหกรรมการบิน” เพื่อแสดงแนวโน้มอนาคตของอุตสาหกรรมการบิน รวมถึงการสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ในการเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการบินด้วยความยั่งยืน
ท่าอากาศยานภายใต้เครือข่าย SAA ล้วนเป็นท่าอากาศยานชั้นนําระดับโลกที่ประสบความสําเร็จ จะร่วมถ่ายทอดประสบการณ์แนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุด ที่สามารถนำมาปรับใช้กับท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ได้ และยังเพิ่มโอกาสในการขยายพันธมิตรทางธุรกิจในอุตสาหกรรมการบินที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย.....พลตำรวจเอก วิสนุ กล่าว

ด้านนายกีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ AOT กล่าวถึงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ด้วยว่า ปัจจุบันท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้เร่งรัดแผนแม่บทการพัฒนาสนามบินเพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารให้ได้ถึง 150 ล้านคนต่อปี ปัจจุบัน AOT ได้เปิดใช้ทางวิ่งเส้นที่ 3 รองรับเที่ยวบินจาก 68 เที่ยวบินต่อชั่วโมง เป็น 94 เที่ยวบินต่อชั่วโมง ควบคู่ไปกับโครงการขยายขีดความสามารถของสนามบินต่อเนื่อง เช่น โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศตะวันออกของอาคารผู้โดยสาร รองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นเป็น 80 ล้านคนต่อปี โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารด้านทิศใต้ รองรับผู้โดยสารเพิ่มได้อีก 70 ล้านคนต่อปี และก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 4 เพิ่มศักยภาพรองรับเที่ยวบินได้ถึง 120 เที่ยวบินต่อชั่วโมง

ท่าอากาศยานดอนเมือง เพิ่มปริมาณรองรับผู้โดยสารเป็น 40 ล้านคนต่อปี และบริหารจัดการให้รองรับได้สูงสุดที่ 50 ล้านคนต่อปี เพื่อเป็นสนามบินหลักรองรับเที่ยวบินภายในประเทศและเที่ยวบินระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ โครงการก่อสร้างอาคาร Junction Building เป็นพื้นที่ศูนย์กลางที่เชื่อมต่อกับระบบรถไฟสายสีแดงโดยตรง พื้นที่จอดรถยนต์ พร้อมพื้นที่สันทนาการ พื้นที่พาณิชย์อื่น ๆ เพื่อยกระดับการให้บริการ โครงการพัฒนาศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO)
นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างศึกษาแผนก่อสร้างท่าอากาศยานใหม่เพื่อยกระดับศักยภาพการเป็นศูนย์กลางการบินของประเทศไทย อาทิ โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานอันดามัน โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานล้านนา และแผนศึกษาโครงการพัฒนา Seaplane & Ferry Terminal พัฒนาพื้นที่จอดอากาศยานขึ้น-ลงในทะเลรองรับผู้โดยสารชั้นสูง พร้อมให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืนเพื่อขับเคลื่อนไปสู่การเป็นต้นแบบ Green Airport ท่าอากาศยานสากลชั้นนำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแห่งแรกในประเทศไทย มีนโยบายเปลี่ยนรถในสนามบินทั้งหมดเป็นระบบยานยนต์ไฟฟ้า ส่งเสริมให้ใช้รถแท็กซี่ไฟฟ้ามาให้บริการแก่ผู้โดยสาร และการให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อไปสู่เป้าหมายศูนย์กลางการบินภูมิภาค และผลักดันท่าอากาศยานของไทยให้ติดอันดับ 1 ใน 20 สนามบินที่ดีที่สุดในโลก