ทลายหนี้หลายก้อน เปิด 3 โมเดลรวม "หนี้" ยอดนิยม หลุดวงจรแบกดอกเบี้ย
เคทีซี เปิด 3 โมเดลรวม "หนี้" ยอดนิยม หลุดวงจรแบกดอกเบี้ย พร้อมสำรวจสัญญาณอันตรายทางการเงินทำให้หนี้พุ่ง
สภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบาง หลายครัวเรือนเริ่มรู้สึกว่า “เงินเดือนออก หนี้ก็เข้า” จนสภาพคล่องสะดุด การกู้เงินอาจดูเหมือนทางรอดระยะสั้น แต่สุดท้ายกลับกลายเป็นกับดักดอกเบี้ยที่พองโตไม่รู้จบ ทำให้เกิด “หนี้หลายก้อน” กลายเป็นปัญหาใหญ่ของครัวเรือนไทย ภาระดอกเบี้ยที่กระจายหลายบัญชีคือศัตรูตัวฉกาจของเงินออม แต่เมื่อดึงมากองรวมกันแล้วจัดแผนชำระใหม่ จะเห็นเส้นทางสู่การปลดหนี้ได้ชัดและเร็วขึ้น

การรวมหนี้ คือกลไกทางการเงินที่นำหนี้ทุกประเภทที่มีอยู่ไปรวมไว้กับสถาบันการเงินเดียว เพื่อให้เห็นยอดคงค้างชัดเจนและลดภาระดอกเบี้ย ทำให้โมเดลการรวมหนี้เป็นหนึ่งในทางออกยอดนิยม
ข้อมูลจาก “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ระบุว่า 3 โมเดลรวมหนี้ยอดนิยม คือ
1. รวมหนี้ภายในสถาบันการเงินเดิม เหมาะกับผู้ที่มีสินเชื่อหลายผลิตภัณฑ์ในสถาบันเดียวกัน จะช่วยต่อรองเงื่อนไขได้คล่องตัว
2. โอนหนี้ข้ามธนาคาร ย้ายยอดค้างจากสถาบันการเงิน A ไปรวมกับสินเชื่อที่มีอยู่ในสถาบันการเงิน B เพื่อเจรจาดอกเบี้ยต่ำลงหรือเพิ่มระยะเวลาผ่อน
3. ย้ายหนี้ทั้งหมดไปสถาบันการเงินใหม่ เป็นทางเลือกเมื่อพบข้อเสนออัตราดอกเบี้ยหรือระยะผ่อนที่เหมาะสมกว่า
ซึ่งหากรวมหนี้แล้วได้อะไร?
1. ดอกเบี้ยลดลง มีอำนาจต่อรองใหม่ เมื่อหนี้ถูกรวมมาอยู่ที่เดียวกัน มักจะมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่างกัน จึง
อาจเกิดความสับสนในการผ่อนชำระ และอาจเลือกจ่ายหนี้ผิดก้อน จนทำให้ยอดหนี้รวมไม่ลดลง การเป็นหนี้ก้อนเดียวผ่านการขอสินเชื่อรวมหนี้ จึงอาจช่วยให้มีอัตราดอกเบี้ยในการจ่ายที่น้อยลงกว่าเดิมได้เช่นกัน หากตกลงเงื่อนไขกับทางสถาบันการเงินตรงความต้องการ
2. จ่ายงวดเดียวต่อเดือน ลดความเสี่ยงลืมจ่ายและค่าปรับ จากเดิมที่ต้องจำวันครบกำหนดจ่าย 3–4 รอบบิล กลายเป็นจ่ายงวดเดียวต่อเดือน ทำให้จัดการรายรับรายจ่ายง่ายขึ้น ไม่พลาดวันชำระ ลดความเสี่ยงถูกคิดค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมล่าช้า และช่วยให้เครดิตสกอร์ของคุณดีขึ้นในระยะยาว
3. เห็นยอดหนี้คงเหลือชัดเจน วางแผนปิดหนี้ได้แม่นยำขึ้น เมื่อหนี้ทุกก้อนถูกรวมไว้ในบัญชีเดียว จะเห็นยอดคงค้างแบบรวมชัดเจนทุกเดือน รู้ว่าค้างอยู่เท่าไหร่? จ่ายไปแล้วเท่าไหร่? และเหลืออีกกี่เดือนจะหมด ทำให้สามารถวางแผน “เร่งจ่ายเงินต้น” หรือปิดหนี้ก่อนกำหนดได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ลดดอกเบี้ยสะสม และหมดหนี้เร็วกว่าเดิม
4.เพิ่มสภาพคล่องในแต่ละเดือน มีเงินเหลือใช้ ไม่ต้องหมุนหนี้ งวดต่อเดือนเล็กลง และไม่มีค่าปรับหรือค่าใช้จ่ายซ่อนเร้น ชีวิตทางการเงินของคุณจะเริ่ม “หายใจได้คล่อง” เงินที่เคยหมดไปกับค่าดอกเบี้ยจะเหลือกลับมาใช้จ่ายในสิ่งจำเป็น หรือเริ่มเก็บออมในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น กองทุนฉุกเฉินหรือประกันสุขภาพ ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินในอนาคต
อย่างไรก็ตาม การรวมหนี้ ควรเกิดขึ้นจาก สัญญาณอันตรายทางการเงินทำให้หนี้พุ่ง เช่น
- จ่ายขั้นต่ำยาวนาน การชำระขั้นต่ำเป็นเพียง “ดอกเบี้ย + เงินต้นเล็กน้อย” ทำให้ยอดหนี้แทบไม่ขยับ หากลากยาวเกิน 3–4 รอบบิล แปลว่าคุณกำลังจ่าย “ค่าพัก หนี้” มากกว่าตัดเงินต้น ซึ่งอาจส่งผลให้ดอกเบี้ยทบต้นสูงขึ้นทุกเดือน และเสี่ยงเสียเครดิตหากเริ่มจ่ายไม่ทัน
- ลืมบิลบ่อยเพราะบัตรหลายใบ บัตร 3–4 ใบขึ้นไปเพิ่มภาระ “ค่าธรรมเนียมพลาดชำระ” (Late Fee) และคะแนนเครดิตจะถูกหักทันที ที่สถานะ Overdue เกิน 30 วัน ทำให้ค่างวดเพิ่มจากค่าปรับ และชื่อยังจะถูกบันทึกในระบบข้อมูลเครดิต
- ดอกเบี้ยรวมรายเดือนสูงจนกระทบค่าใช้จ่ายประจำวัน หากต้องตัดโครงการออมเงินหรืองดประกัน
ชีวิตเพราะต้องจ่ายดอกเบี้ย แปลว่าหนี้เริ่มแย่ง “เงินใช้จำเป็น” (Essential Cash Flow) เสี่ยงเกิด “หนี้ใหม่” จากการกู้ทางลัด เช่น แอปเงินกู้นอกระบบ ซึ่งคิดดอกเบี้ยสูงลิ่วและมีค่าธรรมเนียมแอบแฝง หากคุณมีสัญญาณเตือนเกิน 2 ข้อ ให้รวบรวมสลิปเงินเดือน รายการเดินบัญชี 6 เดือน และใบแจ้งหนี้ทุกใบ เพื่อนำไปเจรจา “รวมหนี้เป็นก้อนเดียว” กับสถาบันการเงินทันที การรีเซ็ตโครงสร้างหนี้ก่อนที่ดอกเบี้ยจะไหลทบ คือทางออกที่ช่วยรักษาเครดิตและกระแสเงินสดระยะยาวดีที่สุด