ปูพรม "สถานีชาร์จ EV ทั่วไทย" รับกระแสรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมอัตราค่าบริการ
กระแสรถยนต์ไฟฟ้า กำลังถูกผลักดันและได้รับการสนับสนุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ ค.ร.ม. อนุมัติเรื่องมาตรการลดภาษี ซึ่งอีกด้านหนึ่งที่จะมาส่งเสริมกระแสรถยนต์ไฟฟ้า คือ สถานีชาร์จ EV ซึ่งหลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน ต่างมีแผนที่จะตั้งสถานีชาร์จ EV ในพื้นที่ต่างๆ
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการ สนพ. เปิดเผยว่า กำหนดเป้าหมาย สถานีอัดประจุสาธารณะในปี 2030 พบว่า ควรมีสถานีรวมจำนวน 567 แห่ง และมีเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้ารวม จำนวน 13,251 เครื่อง โดยแบ่งเป็น
GWM พร้อมหนุนนโยบายรัฐ จ่อหั่นราคา ORA Good Cat หลังคนแห่สอบถาม
ส่องรถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายในไทย รุ่นไหนลดเท่าไร หลังใช้อัตราลดภาษีใหม่
- สถานีอัดประจุสาธารณะในเขตพื้นที่หัวเมืองใหญ่ จำนวน 505 แห่ง
- เครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า จำนวน 8,227 เครื่อง
- สถานีอัดประจุสาธารณะเขตพื้นที่ทางหลวง (Highway) จำนวน 62 แห่ง เครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า จำนวน 5,024 เครื่อง
รวมถึงกำหนดเป้าหมายการผลิตและการใช้ ZEV (Zero Emission Vehicle) และกำหนดเป้าหมายการส่งเสริมสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าสาธารณะแบบ Fast charge จำนวน 12,000 หัวจ่าย และสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าจำนวน 1,450 สถานี ภายในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573
หลักการและแนวคิดในการศึกษาตำแหน่งที่ตั้งและจำนวนเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับแผนพัฒนาสถานีอัดประจุสาธารณะ คือ ต้องเข้าถึงง่าย ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความต้องการใช้สูง ต้องมีต้นทุนที่เหมาะสม เช่น ที่ดิน และค่าไฟฟ้า เป็นต้น
นอกจากนี้ ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น ความต้องการกำลังไฟฟ้า ตำแหน่งที่ตั้งและจำนวนเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะสม การกระจายตัวของเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าให้ครอบคลุม และพัฒนาระบบในการหาตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อตั้งสถานีอัดประจุรวมถึงจำนวนหัวจ่ายที่เหมาะสมในแต่ละสถานี
เปิดมุมมองบิ๊กธุรกิจ แนะเร่งปรับตัวรับ "เมกะเทรนด์" กำลังมาหลังโควิด
ส่วนเรื่องของ ต้นทุน เนื่องด้วยธุรกิจบริการสถานีอัดประจุนั้นเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ต้นทุนสูง ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อระยะเวลาการคืนทุน ไม่ว่าจะเป็น ค่าที่ดิน ค่าปรับปรุงพื้นที่ ค่าติดตั้งเครื่องอัดประจุ ในขณะที่ค่าดำเนินการส่วนใหญ่แล้วนั้นจะเป็นค่าไฟฟ้าเป็นหลัก ดังนั้น เพื่อให้ธุรกิจสถานีอัดประจุมีต้นทุนที่เหมาะสมและเป็นธุรกิจที่น่าลงทุน จึงได้มีการเสนอแนวทางการสนับสนุนในช่วง 2 ปีแรก คือ
- การอุดหนุนค่าเครื่องอัดประจุ
- อาจจะมีการขยายระยะเวลาของการปรับใช้อัตราค่าไฟฟ้าแบบ Low Priority
- จัดสรรพื้นที่สำหรับสร้างสถานีอัดประจุ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านระบบไฟฟ้าในพื้นที่
- สร้างความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน
- พร้อมทั้งมีการกำหนดจำนวน/ขนาดพื้นที่จอดรถ เพื่อรองรับการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับอาคารประเภทต่าง ๆ
กฟภ.นำร่องแล้ว 73 สถานี ค่าบริการ 7.7276 บาท/หน่วย
ด้านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. (PEA) เปิดให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า PEA VOLTA โดยมีเป้าหมายปี 2566 จำนวน 263 สถานี คลอบคลุมพื้นที่ 75 จังหวัด โดยในปี 2564 เปิดให้บริการแล้ว 73 สถานี ในปี 2566 เปิดให้บริการอีก 199 สถานี โดยติดตั้งหัวชาร์จตามมาตรฐานนานาชาติ 3 แบบ (CHAdeMO, CCS Combo2, AC Type2) เพื่อรองรับรถหลากหลายค่าย
ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94 หักลดหย่อนได้หรือไม่ ใครบ้าง? ต้องยื่น
ในส่วนของค่าบริการตั้งแต่ เดือน ม.ค.2565 เป็นต้นไป อัตราค่าบริการประจุไฟฟ้ารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วนั้น
- อัตราค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าในการใช้เครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสตรง(DC Charger) ในช่วง Peak ค่าบริการ 7.7276 บาท/หน่วย ในช่วง Off-Peak ค่าบริการ 4.3451 บาท/หน่วย
- อัตราค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าในการใช้เครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charger) ในช่วง Peak ค่าบริการ 7.7276 บาท/หน่วยในช่วง Off-Peak ค่าบริการ 4.3451 บาท/หน่วย
การชำระค่าบริการ PEA พัฒนา PEA VOLTA Application สามารถใช้ระบบแผนที่นำทางไปยังสถานีที่ใกล้ที่สุด ตรวจสอบสถานะหัวชาร์จที่ต้องการ จองคิว แสดงสถานะการอัดประจุไฟฟ้า ทั้งจำนวนหน่วยไฟฟ้า (kWh) และกำลังไฟฟ้า (kW) ผู้ใช้จึงสามารถบริหารจัดการเวลาในการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าของตนเอง รวมถึงชำระค่าบริการผ่าน PEA VOLTA Application