'ไฟแนนซ์ท้องถิ่น' เตรียมรับแรงกระแทก ปรับเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อ
ประธานสมาคมเช่าซื้อไทย แจงผลกระทบการกำหนดเพดานควบคุมดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อใหม่
นายวิสิทธิ์ พึ่งพรสวรรค์ ประธานสมาคมเช่าซื้อไทย และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ จำกัด เปิดเผยถึงกรณีราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ “ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565” ว่า สาระสำคัญของประกาศดังกล่าวอยู่ที่การกำหนดเพดานควบคุมดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อโดยคำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดังนี้
- รถยนต์ใหม่ไม่เกิน 10% ต่อปี
- รถยนต์ใช้แล้วไม่เกิน 15% ต่อปี
- รถจักรยานยนต์ไม่เกิน 23% ต่อปี
ไฟแนนซ์ หวั่นลูกค้าชะลอซื้อรถ หลังมีประกาศอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อรถฉบับใหม่
เปิดผลกระทบธุรกิจเช่าซื้อรถ เมื่อรัฐคุมดอกเบี้ย “ลดต้น-ลดดอก” เริ่มปี 66
ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มรถยนต์ใช้แล้วที่มีอายุ 13-15 ปีขึ้นไป ซึ่งกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากการคำนวนอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันแบบ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง (High Risk High Return) แต่ปริมาณของรถยนต์กลุ่มดังกล่าวมีไม่มาก ซึ่งกลุ่มรถยนต์ใช้แล้วปกติจะต่ำกว่า 12 ปีเป็นส่วนใหญ่
ขณะที่ อีกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักได้แก่ กลุ่มรถจักรยานยนต์ ที่เดิมอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 32-36% ซึ่งให้ปรับลดลงเหลือ 23% ต่อปี จะส่งผลกระทบค่อนข้างมาก รวมถึงเดิมการปล่อยสินเชื่อรถจักรยานยนต์จะพิจารณาให้กับทุกอาชีพ แต่เมื่อมีการปรับเพดานใหม่อาจจะส่งผลกระทบในส่วนดังกล่าว ซึ่งจะผู้ประกอบการสินเชื่อ (ไฟแนนซ์) แต่ละรายจะต้องปรับตัวเพื่อป้องกันความเสี่ยง
"ธุรกิจไฟแนนซ์ท้องถิ่น จะได้รับกระทบมากกว่าธุรกิจของแบงก์และนอนแบงก์ ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวในการเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อลูกค้ากลุ่มเสี่ยงสูงมากขึ้น"
อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบเลยคือ กลุ่มรถยนต์ใหม่ เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวนี้มีการแข่งขันของอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างรุนแรง และต่ำกว่าอัตราเพดานใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้