โซนี่สร้างโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ในไทย ป้อนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าโลก
โซนี่ปักหลักผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในไทย ใช้งบลงทุน 70.7 ล้านดอลลาร์ คาดจ้างงาน 2,000 ตำแหน่ง หวังเป็นฐานะส่งออกไปทั่วโลก
โซนี่ กรุ๊ป จะสร้างโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ในไทย หวังควบคุมต้นทุนการผลิตและเพิ่มห่วงโซ่อุปทานจากฐานการผลิตทั่วโลก โดยจะลงทุนประมาณ 10,000 ล้านเยน หรือราว 70.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการสร้างโรงงานใหม่ที่จังหวัดอยุธยา ซึ่งขณะนี้อยู่ระว่างการก่อสร้าง และโรงงานสามารถผลิตได้ในเดือนมี.ค. 2548
หากสร้างโรงงานเสร็จ จะทำให้โซนี่มีกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 70% และบริษัทมีแผนจะจ้างงานเพิ่มขึ้น 2,000 ตำแหน่ง
ฮอนด้า-โซนี่ ร่วมทุนตั้งบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เปิดตัวรุ่นแรกปี'68
พาณิชย์หวังมาตรการสนับหนุน EV หนุนไทยเป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
โรงงานแห่งใหม่ในไทยของโซนี่ จะผลิตเซ็นเซอร์จับความเคลื่อนไหว โดยเป็นสิ้นส่วนของรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อตรวจจับสิ่งกีดขวางและอุปสรรคต่าง ๆ บนท้องถนน
เซ็นเซอร์ของโซนี่มีกระบวนการผลิตซับซ้อน โดยสร้างวงจรที่ค่อนข้างบาง ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเซมิคอนดักเตอร์ โดยการผลิตขั้นตอนแรกจะเกิดขึ้นจากโรงงานในญี่ปุ่น จากนั้นก็ส่งต่อโรงงานในไทย ซึ่งต้องนำไปใส่บนแผ่นชิพบาง ๆ และเคลือบด้วยเรซิน โดยหลังจากขั้นตอนการผลิตเสร็จแล้ว จะส่งไปจำหน่ายทั่วโลก
กระบวนการผลิตขั้นตอนในญี่ปุ่น ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง แต่การผลิตในขั้นต่อมาต้องการคนเพื่อดำเนินการดูแลเครื่องจักร ซึ่งหากสามารถควบคุมต้นทุนได้ก็จะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้แข้งขันได้ ซึ่งการเปิดโรงงานในไทย ถือว่ามีต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่าโดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการแข่่งขันในตลาดโลกของโวนี่
ปัจจุบัน โซนี่มีกระบวนการผลิตเซ็นเซอร์อัตโนมัติในญี่ปุ่นทั้งหมด หากโรงงานไนไทยเสร็จก็จะเหลือเพียงส่วนเดี่ยวในญี่ปุ่น ส่วนที่เหลือที่ผลิตในไทยทั้งหมด
ที่ผ่านมา อุปทานเซมิคอนดักเตอร์สะดุดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งกระทบต่ออุปกรณ์อิเล็กทอนิกส์และยานยนต์ แต่การแบ่งการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ออกไปในหลายฐานการผลิต ทางโซนี่ต้องการสร้างระบบที่สามารถป้อนสินค้าได้ตามความต้องการ แม้เผชิญกับภัยพิบัติหรือการแพร่ระบาดของโรคระบาด
ขณะที่ ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ อย่าง อินเทล ก็กำลังเร่งกระจายฐานการผลิตไปหลายแห่งทั่วโลก
แม้ว่าความต้องการเซมิคอนดักเตอร์ลดลงในเครื่องคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน จากยอดจำหน่ายลดลง แต่ตรงกัะนข้ามกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มีความต้องการที่แข็งแกร่งจากการเร่งเข้าสู่กระบวนการดิจิทัลทั้งหมดในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยมีการใช้ในเรื่องของเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกและการขับเคลื่อนอัตโนมัติเป็นหลัก
คาดว่าเซ็นเซอร์ภาพเคลื่อนไหว CMOS จะมีมูลค่าถึง 26.9 พันล้านดอลลาร์ในปี 2026 โดยเพิ่มขึ้น 30% จากปี 2021 โดยโซนี่ถือว่าเป็นรายใหญ่สุดของโลก มีส่วนแบ่งตลาดถึงครึ่งหนึ่งของตลาดโลก