เกรทวอลล์เปิดศึกชิงเค้ก EV ทุ่มลงทุนเท่าตัว ส่ง 4 รุ่นเปิดตัวปีหน้า
ศึกรถยนต์ไฟฟ้า "เดือด" เกรทวอลล์ประกาศทุ่มลงทุนเท่าตัว หวังรุกหนักตลาดที่กำลังมาแรง หลังคนแห่จอง BYD และ Toyota ประกาศลั่นส่ง 4 รุ่นในปีหน้า
เกรท วอลล์ มอเตอร์ ประกาศลงทุนในไทยเพิ่มเท่าตัว หวังรักษาตำแหน่งเป็นผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าระดับนำในตลาดไทย ท่ามกลางการแข่งขันดุเดือดมากขึ้น เมื่อหลายค่ายเริ่มเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าออกสู่ตลาด โดยเฉพาะการเปิดตัวของค่าย BYD และ Toyota
นายณรงค์ สีตลายน กรรมการผู้จัดการ กล่าวกับ Nikkei Asia ว่าเกรท วอลล์ มอเตอร์ เข้าสู่ตลาดเมืองไทยเมื่อสองปีที่ผ่านมา โดยลงทุน 1.2 หมื่นล้านบาท ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและมีการจ้างงานมากกว่า 3 พันตำแหน่ง
รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกของโตโยต้า 'Toyota bZ4X' เปิดตัวในไทยราคา 1.83 ล้าน
BYD Atto 3 เปิดราคาจำหน่าย 1.19 ล้านบาท พร้อมรับประกัน 8 ปี
"เราวางแผนลงทุนทั้งหมด 2.26 หมื่นล้านบาทในไทย ไม่เพียงผลิตรถอีวี แต่ยังรวมถึงชิ้นส่วนและโครงสร้างพื้นฐานอีวี เพื่อผลักดันให้ไทยก้าวเป็นฮับการผลิตอีวีในอาเซียน"
เกรท วอลล์ มอเตอร์ เริ่มเข้าสู่ตลาดไทยในปี 2020 เป็นผู้ผลิตรายที่สองจากจีนท รองจาก GM โดยตลาดไทยมียอด 11,796 คันในปีนี้ ซึ่งมากกว่าที่สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์คาดว่ายอดจำหน่ายรถอีวีทุกยี่ห้อประมาณ 10,000 คันในปีนี้
เกรท วอลล์ มอเตอร์ มียอดขายที่น่าตื่นตาตื่นใจ เมื่อขายได้ 8,094 คันถึงสิ้นเดือนก.ย. โดยมียานยนต์ไฟฟ้า 2 รุ่นยอดนิคม คือ HAVAL H6 เป็นไฮบริดเอสยูวี และ Ora Good Cat ทำให้มัยอดขายอีวีมากที่สุดในไทย
จากกระแสความนิยมและมาตรการสนับสนุนด้านภาษีจากรัฐบาล ทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มขึ้น และหลายค่ายได้เปิดตัวรุ่นใหม่ ๆ ออกมาเพื่อชิงส่วนแบ่งตลาด
นายณรงค์ กล่าวว่า เกรท วอลล์ มอเตอร์ มีแผนจะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า 4 รุ่นในปีหน้า และเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีอีวี เพื่อพัฒนาโรงงานผลิตที่ระยอง โดยมีเป้าหมายจะทำให้โรงงานที่ระยองเป็นฮับการผลิตรถอีวีของอาเซียน คาดว่าจะมีกำลังผลิตปีละ 80,000 คัน
"ราว 60% จะขายในประเทศ ส่วนที่เหลืออีก 40% จะส่งออก เรามีเป้าหมายจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์ EV ชั้นนำในไทย ซึ่งไม่ใช่แค่รถอีวีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอีโคซีสเต็มและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะเอื้อให้ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น โดยตั้งเป้าเพิ่มสถานีชาร์จไฟฟ้า 12,000 แห่งภายในปี 2030
ตลาดในไทยขยายตัวจากมาตรการสนับสนุนจากรัฐบาล แต่ "เกรท วอลล์ มอเตอร์" ไม่ได้เป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพียงรายเดียวที่สนใจตลาดในไทย เพราะมีรายอื่น ๆ เริ่มทยอยเข้ามาชิงเค้กด้วย
ล่าสุด ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของจีน คือ BYD ก็มีแผนจะสร้างโรงงานผลิตในไทย เพื่อเป็นฮับในอาเซียน โดยมีแผนจะสร้างโรงงานผลิตขาดใหญ่ ที่สามารถผลิตได้ปีละ 150,000 คัน หลังจากเปิดให้จองล็อตแรก 5,000 คัน แต่ยอดจองทะลักเกือบเต็มโควต้า จนต้องเพิ่มจำนวนให้เปิดจองได้ 10,000 คน
ส่วนโตโยต้าเจ้ารถตลาดในเมืองไทย ก็เปิดจอง TOYOTA bZ4X ซึ่งปิดการจองไปแล้วเพียงแค่วันเดียว มียอดจองไป 3,356 คัน
นอกจากนี้ ยังมีผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีนรายอื่น ๆ ก็มีความสนใจจะเข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยเช่นเดียวกัน
เมื่อมีผู้เล่นในตลาดมากขึ้น การแข่งขันก็จะรุนแรงขึ้น แต่นายณรงค์มองว่าการแข่งขันเป็นเรื่องที่ดี เพราะว่าจะผลักดันให้เราพัฒนาการผลิตและเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับความต้องการผู้บริโภค ซึ่งในที่สุดแล้วสก็จะส่งผลดีต่อตลาดทั้งหมด