"กลิ่นเท้า" ไม่ใช่เรื่องตลก อาหาร - ความเครียด เป็นสาเหตุของกลิ่น
ปัญหากลิ่นเท้า ที่มักพบได้บ่อยในผู้ที่ใส่ร้องเท้าหุ้มส้นเป็นเวลานาน แล้วเกิดความอับชื้น ทั้งหมดมาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก
โรคเท้าเหม็น (Pitted keratolysis) เป็นโรคของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังชั้นนอก ทำให้เท้าลอกและมีกลิ่นเหม็น พบได้บ่อยในผู้ที่ใส่รองเท้าหุ้มส้นเป็นเวลานาน ทำให้มีความอับชื้น มักไม่มีอาการคัน แต่มีเท้าลอก ผิวหนังดูชื้นแฉะ มีกลิ่นเหม็น และโรคเริ่มเกิดที่ฝ่าเท้าก่อน
ปัจจัยที่มีผลต่อกลิ่นเท้า
1. รองเท้าและถุงเท้า
รองเท้าที่ระบายอากาศได้ไม่ดี หรือถุงเท้าที่ทำมาจากวัสดุสังเคราะห์ เช่น polyester หรือ nylon จะทำให้มีเหงื่อออกที่เท้ามากขึ้น
แสบ ขัด ปัสสาวะไม่สุด ระวังโรค "มะเร็งต่อมลูกหมาก"
หน้าฝนต้องระวังสุขภาพ 5 โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
ซึ่งรองเท้าหรือถุงเท้านั้นก็จะดูดซับเหงื่อไว้ทำให้เกิดการอับชื้น เหมาะสมต่อการเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราจึงทำให้เกิดกลิ่นเท้าได้และการใส่รองเท้าตลอดทั้งวัน ก็จะทำให้รองเท้าเกิดการอับชื้นแล้วเกิดกลิ่นเท้าได้ด้วยเช่นกัน
2. อาหาร การบริโภคอาหารที่มีกลิ่นแรง ก็สามารถทำให้เกิดกลิ่นเท้าได้
3. ยา การได้รับสาร หรือยาบางชนิด เช่น Nicotine, Caffeine, Codeine, Naproxen, Acyclovir
4. ภาวะขาด zinc หรือสังกะสีเป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทต่อการทำงานของร่างกายหลายส่วน
5. ความเครียด ส่งผลให้ร่างกายมีการผลิตเหงื่อมากขึ้น
6. ภาวะต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการเจริญของแบคทีเรีย อาทิ การเปียก ความอับชื้นของเท้า เป็นสิ่งที่เอื้อต่อการเจริญของแบคทีเรีย ดังนั้นการรักษาความสะอาดของเท้า ถุงเท้า รองเท้า จะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเท้าเหม็นได้
"สุดยอดอาหาร" อุดมคุณค่ากินได้ทุกวัน ทางออกของคนกลัวมะเร็ง
อาหาร 10 ชนิดหาทานง่าย ช่วยบำรุง "ปอด" แกร่งสู้ไวรัส
การรักษาโรคเท้าเหม็น ต้องรักษาดูแลทั้ง 2 ปัจจัยควบคู่กัน
1. การรักษาแบคทีเรีย
ใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดทา เช่น ยา Clindamycin ยา Erythromycin และ/หรือ ยาทาที่ช่วยให้ผิวหนังลอกตัวเพื่อสร้างผิวหนังขึ้นใหม่และมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อร่วมด้วย เช่น ยา Benzoyl peroxide
2. การป้องกันภาวะอับชื้นนั้น
ใช้แป้งผง 20% Aluminium chloride โรยเท้าวันละ 1 - 2 ครั้ง หลังทำความสะอาดเท้าด้วยสบู่ที่มียาฆ่าเชื้อเป็นส่วนผสม หรือตามแพทย์แนะนำ
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเท้าเหม็น
1. หลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เกิดการอับชื้นที่ เท้า ฝ่าเท้า
2. ทำความสะอาดเท้าทุกวัน วันละ 2 ครั้งดังกล่าวในหัวข้อ การรักษา
3. หากเป็นคนที่มีเหงื่อออกมาก หรือถุงเท้า รองเท้า มีความอับชื้นมาก ควรเปลี่ยนถุงเท้าบ่อย ๆ ทุกครั้งที่เปียกชื้น
4. สลับสวมรองเท้า ไม่สวมซ้ำเกิน 2 วัน ตากรองเท้าให้แห้งเสมอ ไม่ใช้รองเท้าร่วมกับผู้อื่น
5. ทำความสะอาดถุงเท้า ด้วยผงซักฟอกหรือสบู่ ที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อในน้ำร้อน ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส แล้วตากแดดให้แห้งสนิท
6. หลีกเลี่ยงการใส่ถุงเท้าที่ทำจาก nylon เนื่องจากเนื้อผ้าจะดักจับความชื้นเอาไว้ แต่ควรใส่ถุงเท้าที่ทำจาก cotton หรือผ้าฝ้าย 100% แต่หากมีเหงื่อออกมาก ควรเปลี่ยนถุงเท้าระหว่างวัน เพื่อลดความอับชื้น
7. รับประทานอาหารที่มี Zinc เป็นส่วนประกอบ เช่น หอยนางรม ไก่ ไข่ นม จมูกข้าว ธัญพืช
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก กระทรวงสาธารณสุข, องค์การอาหารและยา