โรคเชื้อราที่เล็บ ต้นเหตุทำให้เจ็บ คัน เล็บร่น แนะวิธีรักษา
รู้สึกเจ็บ คัน เล็บร่น เล็บเปลี่ยนสี ต้นเหตุอาจมาจากการติดเชื้อราที่เล็บ แนะวิธีการรักษา
โรคเชื้อราที่เล็บ เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นที่เล็บ จากการติดเชื้อรา อาจทำให้รอบเล็บบวมแดงและกดเจ็บ เล็บร่น ไม่สวยงาม ส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมประจำวันอีกด้วย วันนี้เรามีคำตอบว่าโรคเชื้อราที่เล็บคืออะไร และมีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร
โรคเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis) หมายถึงการติดเชื้อราที่เล็บ ซึ่งรวมทั้งราที่เป็นสายราหรือราในรูปของยีสต์ซึ่งมีลักษณะเป็นเซลล์กลม โดยทั่วไปไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่สามารถตรวจพบได้ทางห้องปฏิบัติการ
ลุยน้ำเท้าเปล่าเสี่ยง"โรคฉี่หนู" ภาวะแทรกซ้อนอันตรายถึงชีวิตแนะวิธีรับมือป้องกันโรค
หน้าฝน ตากผ้าไม่แห้ง เกิดกลิ่นอับชื้น เสี่ยง "เชื้อรา" ก่อโรคผิวหนัง
ชนิดของเชื้อราที่พบบ่อย คือ เชื้อกลากแท้ (dermatophytes) เชื้อกลากเทียม (non-dermatophytes) และเกิดจากยีสต์(yeasts) โดยเฉพาะเชื้อแคนดิดา (Candida)
อาการของเชื้อราที่เล็บ
ในระยะแรก อาจไม่สามารถสังเกตได้ แต่ความผิดปกติจะเริ่มแสดงออกมาเมื่อเชื้อราเริ่มขยายตัว มักมีเล็บที่ติดเชื้อราประมาณ 1 - 3 เล็บ โดยมักจะมีอาการดังนี้
- เล็บเปลี่ยนสี อาจเปลี่ยนเป็นสีดำ สีขาว สีเหลือง หรือสีเขียว
- เล็บหนาขึ้นหรือผิดรูป อาจทำให้ผิวเล็บเสียและขรุขระได้
- มีอาการกดเจ็บที่เล็บ รอบเล็บบวมแดง หรือคันผิวหนังบริเวณเล็บ
- เล็บร่น เนื่องจากแผ่นเล็บแยกตัวออกมาจากฐานเล็บ เกิดโพรงใต้แผ่นเล็บ เกิดขุยหนาใต้เล็บ
"กลิ่นเท้า" ไม่ใช่เรื่องตลก อาหาร - ความเครียด เป็นสาเหตุของกลิ่น
น้ำท่วมต้องระวัง! 7 โรคติดต่อและอันตรายที่มากับน้ำ
การรักษา
1.รักษาความสะอาดของเล็บ ดูแลไม่ให้เล็บอับชื้น
2.ยารับประทานรักษาเชื้อรา ต้องระวังผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น การแพ้ยา ผลต่อตับและไต รวมทั้งปฏิกิริยาระหว่างยา หากผู้ป่วยมีการใช้ยาอื่นอยู่ด้วย เช่น ยาลดไขมันในเลือด
3.ยาทาเฉพาะที่ เป็นการรักษาที่มีความปลอดภัย โดยยาจะออกฤทธิ์เฉพาะเล็บที่ทายาเท่านั้น จะใช้ได้ผลดีเฉพาะโรคเชื้อราที่เล็บที่มีจำนวนเล็บไม่มากนัก และไม่มีลักษณะที่ทำให้เกิดการรักษาได้ยาก เช่น มีรอยโรคลามไปถึงโคนเล็บ
4.การใช้วิธีการอื่นๆ เช่น การถอดเล็บ การใช้แสงเลเซอร์
เนื่องจากอาการแสดงอาจมีสาเหตุมาจากโรคทางผิวหนังชนิดอื่น หรือมีโรคร่วม เช่น เบาหวาน ดังนั้นหากพบว่าเล็บมีความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษา
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. )