ท้องเสียไม่ธรรมดา รู้ทันก่อนเสี่ยง “ลำไส้ใหญ่อักเสบ”
“ลำไส้ใหญ่อักเสบ” เกิดจากการติดเชื้อจนทำให้ปวด-เกร็งท้องส่วนล่าง ท้องร่วง อาการอาจไกล้เคียงกับถ่ายท้อง จนถูกมองข้ามว่าไม่รุนแรง
ลักษณะของลำไส้ใหญ่อักเสบ
มักเกิดแบบเฉียบพลันอาการของโรครุนแรงแต่ทุเลาลงได้อย่างรวดเร็ว โดยอาจไม่ได้รับการรักษา หรือรับการรักษาเพียงเล็กน้อย การเป็นโรคนี้เสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ อย่างไรก็ตาม อาการท้องร่วงจากการติดเชื้อต่างๆ อาจมีความรุนแรง และนำไปสู่การถ่ายเป็นมูกเลือด ที่เป็นอันตรายติดเชื้อส่วนอื่นๆ เป็นแผลผนังลำไส้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยสาเหตุของโรคยังไม่ชัดเจนแต่อาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ
เฝ้าระวัง 6 “โรคช่องท้อง” เร่งพบแพทย์ก่อนคุกคามหนัก
รับมือ 5 โรคที่มากับอากาศร้อน แดดแรงแค่ไหนก็สุข
ที่โดยภูมิคุ้มกันทำหน้าที่ป้องกันและกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายอย่างเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่เมื่อผิดปกติจึงทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงทำให้เกิดการติดเชื้อและการอักเสบที่ลำไส้ตามมาและอาจทำให้เกิดลำไส้อักเสบเรื้อรังได้ นอกจากนี้สาเหตุอาจมาจากการกินสารมีพิษหรือกินอาหารที่ย่อยยากจำนวนมากทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และมักเกิดภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังได้รับพิษ
อาการทั่วไป
- ถ่ายท้องมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
- ถ่ายมีเลือดหรือมูกปน มีกลิ่นเหม็น
- ปวดหัวและปวดเมื่อยตามตัว
- มีไข้ต่ำ (ต่ำกว่า 38 องศาเซลเซียส)
- ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือปวดเกร็ง
- อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค ควรปรึกษาแพทย์
โภชนาการก่อนผ่าตัด "ผู้ป่วยในกลุ่มโรคทางช่องท้องและทวารหนัก"
รู้จักโรค "ติ่งเนื้อในถุงน้ำดี" ควรรอหรือต้องรีบรักษา
การป้องกัน
- รักษาความสะอาดของอาหาร
- อาหารควรปรุงให้สุกอย่างทั่วถึง
- ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
- ใช้ส้วมเสมอในการขับถ่าย เพื่อลดโอกาสเกิดโรคระบาดติดต่อทางอุจจาระ
- กรณีที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ ควรศึกษาสุขอนามัยของประเทศที่จะไปก่อนเสมอ โดยเฉพาะเรื่องน้ำดื่มและอาหารการกิน
การรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่
การรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ทำได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อปรสิต ที่สั่งโดยแพทย์จากผลการตรวจอุจจาระ การติดเชื้อไวรัสมักไม่จำเป็นต้องมีการรักษาเฉพาะ แต่อาการจะหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป ควรต้องใช้สารทดแทนน้ำในร่างกาย เพื่อชดเชยการขาดน้ำและเกลือแร่ การใช้ยาแก้ปวดเพื่อลดไข้ อาจจำเป็นในกรณีการติดเชื้อรุนแรง อาจต้องมีการให้ธาตุเหล็ก ในกรณีเสียเลือดมากและยาวนาน
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก : โรงพยาบาลเปาโล