กินดีรักษาง่าย 5 ธาตุอาหารที่เป็นมิตรสำหรับ“โรคไทรอยด์”
การรับประทานอาหารที่ดี คือการส่งเสริมการรักษาโรคอย่างถูกวิธี “ไทรอยด์” นับเป็นโรคยอดฮิตอีกโรคที่เกิดได้จากหลายปัจจัย จึงต้องเลือกกินอย่างเหมาะสม
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) ต่อมไร้ท่อที่ใหญ่และสำคัญที่สุดของร่างกายมีหน้าที่ผลิตและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นส่งไปออกฤทธิ์ที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งจะอยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) และต่อมไฮโปธาลามัส(Hypothalamus) โดยร่างกายจะมีระบบการควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์อย่างดี เพื่อรักษาระดับไทรอยด์ฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตลอดเวลา
"ฮาชิโมโต ไทรอยด์" เช็กอาการก่อนป่วยรุนแรงอันตรายถึงชีวิต
ผู้ป่วยเบาหวาน กับการรับประทานอาหารในหน้าร้อน
ดังนั้นหากมีความผิดปกติของไทรอยด์ ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติตามมา แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเกิดจากการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย กับ ไทรอยด์เป็นพิษ ที่จะส่งผลให้ร่างกายเกิดการอ่อนเพลีย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมาก นอกจาการรักษาด้วยยาโดยแพทย์แล้วการรับกินอาหารที่มีประโยชน์และส่งผลดีต่อต่อมไทรอยด์ถือเป็นปัจจัยสำคัญด้วยเช่นกัน โดย 5 ธาตุอาหารสำคัญมีดังนี้
- ไอโอดีน มีส่วนช่วยให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ได้เป็นปกติ อาหารที่มีไอโอดีนมากก็จะเป็นอาหารทะเลจำพวก ปลา หอยกาบ หอยนางรม กุ้ง หรือแม้แต่ เช่น ไข่ กระเทียม เห็ด และเมล็ดงา ก็ด้วยเช่นกัน
- สังกะสี สังกะสีเป็นธาตุที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับฮอร์โมนไทรอยด์ เพราะไม่ว่าจะเป็นชนิดไฮโปไทรอยด์ หรือ ไฮเปอร์ไทรอยด์ ต่างก็มีสาเหตุจากการขาดสังกะสีเหมือนกัน ซึ่งอาหารที่มีสังกะสีสูงก็มีหลากหลาย เช่น อาหารจำพวกเนื้อวัว เนื้อแกะ หอยนางรม ถั่วเหลือง ถั่ววอลนัท เมล็ดทานตะวัน และธัญพืช
- ธาตุเหล็กมีส่วนช่วยทำให้ความสามารถในการทำงานของต่อมไทรอยด์ลดลง จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ สำหรับอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงจะเป็นอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ ตับ เลือด ผักโขม แครอท ฟักทอง ถั่วเหลือง ถั่วขาว รวมถึงเมล็ดฟักทองด้วย
- สารต้านอนุมูลอิสระ อย่างวิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซี จะช่วยให้ต่อมไทรอยด์ต่อสู้กับการถูกทำลายจากสารอนุมูลอิสระได้ และยังช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของต่อมไทรอยด์ได้อีกด้วย ซึ่งอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี องุ่น หน่อไม้ฝรั่ง ชาเขียว ผักกาดหอม ถั่วเปลือกแข็ง และธัญพืชชนิดต่างๆ
วิตามินบี วิตามินเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินบี 2, บี 3 และบี 6 ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายมาก โดยเฉพาะกับระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์ อาทิ ปลา นม เห็ด ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ตับ ถั่ว อัลมอนด์ และธัญพืชต่างๆ
สังเกต 9 อาการผิดปกติ "โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ" ต้องรีบรักษา
"ตาแห้ง" จนระคายเคือง อีกอาการที่ผู้สูงวัยเป็นกันมาก
สำหรับอาหารที่ควรเลี่ยง
- แอลกอฮอล์และคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
- อาหารที่มีไขมันสูง อาหารติดมันของทอดต่างๆ ควรเปลี่นนมาทานไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพร่างกาย โดยไขมันชนิดนี้จะพบได้มากในปลาทะเล เช่น ปลาจะระเม็ดขาว ปลาสำลี ปลากะพงขาว ปลาทู ปลาเก๋า เป็นต้น และปลาน้ำจืด เช่น ปลาดุก ปลาสวาย ปลาช่อน ปลานิล ปลากราย เป็นต้น
- อาหารที่กินแล้วแพ้
- อาหารแปรรูปหรืออาหารสำเร็จรูป
ทั้งนี้การรับประทานอาหารต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกายทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และทานยาตามที่แพทย์วินิจฉัยอย่างสม่ำเสมอเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล
“พีท ทองเจือ” เผยสภาพจิตใจ “น้องเซย่า” ป่วยไทรอยด์ ต้องยุติฝันเป็นศิลปิน